fbpx

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการ “กลั้นปัสสาวะ”

ฮึบบบ!! ขออีกนิดละกันนะ! แงง T____T เผลอแปปเดียวก็กลั้นปัสสาวะอีกแล้วเรา! ก็แหม…ในแต่ละวันของการดำเนินชีวิตยุค 5G แบบนี้ทั้งการเดินทาง การทำงาน ไหนจะ Meeting รัวๆเช้าเย็น การแว้บเดินเข้าห้องน้ำทีมันช่างเจียดเวลายากยิ่งนัก! ยิ่งไปกว่านั้นการกลั้นปัสสาวะในผู้สูงอายุปัจจุบันและคุณแม่มือใหม่ก็ถือว่าพบมากขึ้นไปอีก!
ไม่ได้การแล้วค่ะ Pynpy’ ขอแชร์ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการกลั้นปัสสาวะ ให้เพื่อน ๆ อ่านสักหน่อย บอกเลยว่าอ่านจบ เพื่อน ๆ จะได้ความรู้อีกทั้งทราบถึงความเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงและการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องสุดง่ายดาย พร้อมแล้วมาเลื่อนอ่านกันได้เล้ย!

Consequences of urinary incontinence

1.ชวนอ่าน! “การกลั้นปัสสาวะ” คืออะไร?

เอาล่ะ! ถ้าถามว่าใครเคย “กลั้นปัสสาวะ” บ้าง? เชื่อมั้ยคะร้อยทั้งร้อยเป็นต้องเคย! สำหรับการ “กลั้นปัสสาวะ” คือ การบังคับไม่ให้ตัวเองปัสสาวะและเดินไปเข้าห้องน้ำอยู่บ่อย ๆ เพราะอาการปวดปัสสาวะของแต่ละบุคคลเนี้ยมีความแตกต่าง ความบ่อยครั้งต่างกันออกไป แถมบางทียังกะระยะเวลาไม่ได้ด้วยค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีสถานการณ์ที่ไม่สะดวกเข้าห้องน้ำจนทำให้พวกเราเนี้ยต้องกลั้นปัสสาวะอยู่บ่อย ๆ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง!

Consequences of urinary incontinence
consequences-of-urinary-incontinence
Consequences of urinary incontinence

ซึ่งอาการ “กลั้นปัสสาวะ” ที่กล่าวไปไม่ใช่แค่พวกเรา ๆ คิดกันไปเองนะคะ ว่าเป็นการปฏิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตประจำวัน แต่! รศ.ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ อาจารย์พยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากรายการ สามัญประจำบ้าน ได้กล่าวอีกค่ะว่า “ในปัจจุบันผู้คนมักจะลืมตัวกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่อันตรายมาก ๆ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินในปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือการฉี่เป็นเลือดอีกด้วย” นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกค่ะว่า การปวดปัสสาวะของแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำภายในร่างกายที่ไม่ใช่แค่เพียงการดื่มน้ำ แต่ยังมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ อีกนั่นเองค่ะ (ที่มา : รายการ สามัญประจำบ้าน ep.13 “ปวดฉี่ อั้นไว้ดีมั๊ย?” จาก Youtube : RAMA Channel)

รู้จัก “การกลั้นปัสสาวะ” กันไปแล้ว เห็นมั้ยคะว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวสุด ๆ ว่าแล้วเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าความเสี่ยงจากพฤติกรรมดังกล่าวมีอะไรบ้าง…

2.“กลั้นปัสสาวะ”จนชิน เสี่ยงติดเชื้อมากกว่าที่คิด!

แงง.. แต่ Pynpy’ เข้าใจเพื่อน ๆ นะคะว่าบางทีสถานการณ์ก็ไม่สะดวกที่จะไปห้องน้ำจริง ๆ แต่รู้ไหมคะว่าหากเรา “กลั้นปัสสาวะ” บ่อย ๆ ร่างกายจะเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายมากเลยล่ะ!
เพราะการ “กลั้นปัสสาวะ” ทุกครั้งจะส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเลยค่ะ อีกทั้งยังส่งผลต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจนทำให้ฉี่เป็นเลือดอีกด้วย
ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้มากในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศนั่งกับที่นาน ๆ รวมไปถึงผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวยากและไม่สะดวกลุกเข้าห้องน้ำอีกด้วยค่ะ

woman yawning looking exhausted

แต่ใด ๆ อาการ “กลั้นปัสสาวะ” ก็สามารถเกิดได้ในทุกวัยแม้กระทั่งเด็กและนักศึกษา ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดปัสสาวะควรรีบไปห้องน้ำนะคะ เพื่อสุขภาพระยะยาว ถือว่า Pynpy’ ขอ.. 🙂
นอกจากความเสี่ยงจากการกลั้นปัสสาวะที่ Pynpy’ ได้กล่าวไปข้างต้น ยังไม่จบเพียงเท่านี้ค่ะ! เพราะยังมีอีกหนึ่งภัยเงียบที่ตามมาแบบไม่รู้ตัวของการกลั้นปัสสาวะ มาดูกันเลยดีกว่า!

3.ภัยเงียบจากการ “กลั้นปัสสาวะ” !

สำหรับภัยเงียบที่มักเกิดขึ้นคือ “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” (Cystitis) นั่นเองค่ะ ซึ่งเจ้าโรคนี้เกิดจากการกลั้นปัสสาวะโดยตรงจนทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI) และเกิดความผิดปกติภายใน ซึ่งถือเป็นอาการที่เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย

Did you know :

“โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” (Cystitis) เพศหญิงมักตรวจเจอพบมากกว่าเพศชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะสั้นอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก จึงทำให้การเชื้อโรคเข้ากระเพาะปัสสาวะผ่านท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่านั่นเอง
woman not feeling well

4.อาการเตือนที่ควรรู้!

โอ๋ ๆ อ่านมาถึงตอนนี้เชื่อว่าเพื่อน ๆ ที่เคยกลั้นปัสสาวะคงจะแอบหวั่นใจเล็ก ๆ มาดูสำหรับอาการเตือนที่ควรรู้และไม่ควรมองข้ามกันดีกว่าค่ะ Pynpy’ ลิสต์มาให้แล้วตามด้านล่างนี้เล้ย 😀

  • ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะออกมาเล็กน้อยและปัสสาวะไม่สุด
  • มีอาการปวดแสบ ปวดขับและแสบร้อนบริเวณท้องน้อยขณะปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะมีลักษณะสีขุ่น เจือปนเลือด พร้อมทั้งส่งกลิ่นผิดปกติ
  • มีอาการไข้ขึ้นสูง พร้อมกับปัสสาวะสีขุ่นและปวดช่วงเอว เพราะนี่คือสัญญาณของกรวยไตอักเสบ!
  • อาการในเด็ก : มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ หรือการฉี่รดที่นอน
  • สำหรับอาการผู้สูงอายุบางราย : บางรายพบว่าไม่มีอาการทางปัสสาวะ แต่จะมีอาการไข้ขึ้น สับสน มึนงงและอาการอ่อนเพลียร่วม
woman looks like she is in pain

ไหน ๆ ก็ทราบถึงอาการและความเสี่ยงกันไปแล้ว เพื่อน ๆ คงอยากรู้ถึงแนวทางการดูแลตัวเองกันใช่ไหมล่ะคะ Pynpy’ ได้ทำการรวบรวมเคล็ดลับและคำแนะนำง่าย ๆ ที่เพื่อน ๆ สามารถนำมาปรับให้ตรงกับ Lifestyle ตัวเองกันเรียบร้อยแล้วค่ะ มาดูกันเลยดีกว่า~

5.คำแนะนำและการดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยง “การกลั้นปัสสาวะ”

แม้ “การกลั้นปัสสาวะ” จะเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่เราอาจต้องพบเจอบ่อย ๆ แถมยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น, วัยทำงาน หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ
แต่ถ้าหากเราดูแลตัวเองและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง บอกเลยค่ะว่า “การกลั้นปัสสาวะ” จะลดน้อยลง และสุขภาพเพื่อน ๆ จะดีขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมแล้วมาดูแนวทางปฏิบัติพร้อม ๆ กันเลยจ้า

woman drinking water
  • พยายามหลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • ฝึกนิสัยทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระ โดยเพศหญิงควรทำความสะอาดอย่างถูกต้องคือจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดการนำพาเชื้อโรคจากรูทวารและช่องคลอดไปสู่กระเพาะปัสสาวะ
  • รักษาความสะอาดของชุดชั้นในอยู่เสมอไม่ให้อับชื้นเพื่อป้องกันเชื้อโรคและการระคายเคือง
  • ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอวัยวะเพศที่มีสารเคมีและอาจก่อให้การระคายเคืองผิว
Close-up photo shot showing Pynpy's panties' material

Yayyyy!! เป็นยังไงบ้างคะกับความรู้และเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับ “การกลั้นปัสสาวะ” ที่ Pynpy’ นำมาฝาก เห็นไหมคะว่าการดูแลตัวเองไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เราเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ อย่างลดการกลั้นปัสสาวะลง ก็สามารถทำให้สุขภาพเราดีระยะยาวได้ยั่งยืน ลดความเสี่ยงการติดเชื้อและโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้อีกด้วย 😀

สบายตัวตลอดวัน! Pynpy’ พร้อมเป็นเพื่อนแท้ในทุกช่วงเวลา!

และแม้ว่าการกลั้นปัสสาวะมักจะมาพร้อมอาการข้างเคียงอย่าง การปัสสาวะกระปริบกระปรอย ตกขาว หรือแม้แต่ช่วงการเป็นประจำเดือนแบบไม่มาตามนัด! จะดีกว่ามั้ยคะ ถ้าพวกเราสวมใส่ไอเทมกู้ชีพ พร้อมพลังการซึมซับด้วยเทคโนโลยีพิเศษ กักเก็บของเหลวได้ดีเยี่ยม ทำให้ไม่ว่าของเหลวในรูปแบบใดก็ไม่ไหลย้อนกลับแน่นอน แถมยังแห้งสบายใส่ได้นานถึง 8-12 ชม.เลยล่ะ!

pouring water on pynpy' panties and u

เรียกได้ว่าตอบโจทย์ทั้งชาวออฟฟิศที่ต้องนั่งกับโต๊ะนาน ๆ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุที่ต้องการความสะดวก ซึมซับดี แถมยังแห้งสบายสวมใส่ได้แบบเบาตัวขนาดนี้ อดใจยังไงไหว! ลองกดเข้ามาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมและรู้จัก Pynpy’ กันมากยิ่งขึ้นได้เลยที่เว็บไซต์ Pynpyหรือใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วมั่นใจ ของมันต้องมี! กดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ ได้เลยค่า 😀

Model wearing Pynpy's panties

ก่อนจะจากกัน Pynpy’ ขอฝากความห่วงใยให้เพื่อน ๆ อย่ากลั้นปัสสาวะกันบ่อยเลยน๊า เพื่อสุขภาพที่ดีจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ หรือเพื่อน ๆ คนไหนสนใจอยากพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลตัวเองและชื่นชอบในนวัตกรรมที่ช่วยให้ชีวิตง่ายดายขึ้นอย่างกางเกงในอนามัย Pynpy’ สามารถกดติดตามและแชร์เรื่องราวดี ๆ ได้ผ่านโซเชียลมีเดียตามช่องทางนี้ได้เลยค่า Facebook: Pynpy Instagram: pynpywear YouTube: pynpy Line: @pynpy และ Twitter: @pynpywear