fbpx

โรคเริมมาเจอกับประจำเดือน! จะทำยังไงดีนะ? Pynpy’ มีคำตอบให้

ทุกคนรู้ไหมว่า… ผู้หญิงมีโอกาสพบเจอโรคเริม “มากกว่า” ผู้ชาย และช่วงมีประจำเดือน ก็มีโอกาสพบเจอโรคเริม “มากกว่า” ช่วงไม่มีประจำเดือนอีกด้วย ตอนที่ Pynpy’ รู้เรื่องนี้จากองค์กร WHO ในบทความ Herpes simplex virus ถึงกับต้องเอามือทาบอกแล้วรีบหาคำตอบเลยว่า โรคเริมกับผู้หญิง เป็นยังไงกันแน่?  ไปดูกันเลยค่า…

โรคเริมที่อวัยวะเพศกับประจำเดือน

เริ่มต้นที่… เริมคืออะไรกันแน่นะ?

โรคเริม หรือ เริม คือโรคติดเชื้อไวรัสบนผิวหนัง (Herpes Simplex Virus) เพื่อน ๆ มีโอกาสได้รับเชื้อมาจากการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่น กิจกรรมบนเตียง ใช้ข้าวของร่วมกัน

เริมรักษาหายได้ แต่ก็เกิดซ้ำได้เช่นกัน เพราะเชื้อได้เข้าไปอยู่ในปมประสาทแล้ว หากมีปัจจัยใดไปจี้จุดมังกรทองล่ะก็ เชื้อจะเคลื่อนตามเส้นประสาทมายังปลายประสาทและทำให้เกิดโรคซ้ำได้อีก

มาทำความเข้าใจต่อเกี่ยวกับเริมทั้ง 2 ชนิดกันค่ะ

1. ไวรัสที่ทำให้เกิดเริมบริเวณปาก ทางการแพทย์เรียกว่า Herpes simplex virus-1 (HSV-1)

ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดโรคบริเวณปาก ริมฝีปาก ช่องปาก และบนใบหน้า เพื่อน ๆ มีโอกาสได้รับเชื้อไวรัส หากได้สัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และอยู่ในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

2. ไวรัสที่ทำให้เกิดเริมบริเวณอวัยวะเพศ ทางการแพทย์เรียกว่า Herpes simplex virus-2 (HSV-2)

ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศทั้งหญิงและชาย เช่น ถุงอัณฑะ ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก เพื่อน ๆ มีโอกาสได้รับเชื้อไวรัส หากได้สัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยตรงผ่านการมีเพศสัมพันธ์

Pynpy' Tips

มุแง้!! เห็นแบบนี้ “ไวรัสเริมที่ปาก” ก็มีโอกาสไปจ๊ะเอ๋ที่จิ๊มิจัง ได้เหมือนกันน้า… ไม่ใช่ขึ้นบริเวณปากหรือหน้าเท่านั้น
โรคเริม 2 ชนิด

แล้วโรคเริมที่อวัยวะเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะ “แย่กว่า” ผู้ชาย เป็นเพราะว่าอะไร ไปดูกันต่อเลยค่า

จิ๊มิจัง. โรคเริมที่อวัยวะเพศ. ช่วงมีประจำเดือน.

จิ๊มิจังจะเสี่ยงกับเจ้าเริมมากขึ้นจากกิจกรรมผีผ้าห่มระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะว่าการแพร่เชื้อจากชายสู่หญิงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าใคร ๆ

นอกจากนี้ เริมอาจเพิ่มขึ้นในช่วงมีประจำเดือน เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่วนใหญ่ผ้าอนามัยแบบสอดจะทำให้อาการคัน ระคายเคือง และอาการแย่ลงกว่าเดิมมมม

อาการของโรคเริมที่อวัยวะเพศหญิง คือ มักเกิดตุ่มพองหรือตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก สะโพก หรือเกิดขึ้นหลาย ๆ ตำแหน่งกระจายไปทั่วบริเวณแคมและช่องคลอด

เจ้าเริมจะทำให้เกิดรอยแตกหรือรอยแดงบริเวณจิ๊มิจัง และรู้สึกเจ็บตอนชิ้งฉ่องเพราะแผลที่จิ๊มิจัง รวมถึง อาจมีไข้หวัด ปวดหัว ปวดตัว ต่อมน้ำเหลืองบวม เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก และอัมพาตครึ่งซีกก็เป็นด้ายยยย

ตุ่มพองที่เกิดขึ้นอาจกลายเป็นแผลที่แสนเจ็บปวด และบางคนก็มีตกขาวผิดปกติได้ด้วย ดังนั้นอย่าการ์ดตกนะคะ ไปดูวิธีป้องกันโรคเริมกันดีกว่าค่ะ

การป้องกันโรคเริม

How to สร้างโล่ป้องกันโรคเริมสำหรับคนที่ยังไม่เคยเป็น

1.      พักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ
2.      ไม่สัมผัสหรือใช้ข้าวของร่วมกับคนอื่น
3.      ทานอาหารมีประโยชน์ครบถ้วน
4.      ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง
5.      ดูแลความสะอาด รักษาสุขอนามัย
6.      ทำให้มือสะอาดอยู่เสมอ
7.      ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์

สำหรับคนที่เคยเป็นแล้ว Pynpy’ ก็เป็นห่วงทุกคนเหมือนกันน้าค้า เพราะเริมอาจกลับมาได้เรื่อย ๆ ไปดูตัวกระตุ้นที่ทำให้เริมกลับมาซ้ำอีกกันเลยค่ะ

ตัวกระตุ้นโรคเริม

อยากให้ทุกคนโน้ตไว้เลยว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นโรคเริมมีอะไรบ้าง

1.      ความกังวล ความเครียด ความอ่อนเพลีย
2.      ร่างกายอ่อนแอ เป็นไข้ รวมถึง ไข้ทับระดู
3.      ขาดสารอาหาร ขาดน้ำ
4.      ภูมิคุ้มกันต่ำหรืออ่อนแอลง

ทุกคนเห็นไหมว่า… ปัจจัยทั้ง 4 ข้อนี้ มักเกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือนได้ทั้งหมดเลย และยังมีผลวิจัยมากมายที่ยืนยันว่าช่วงมีประจำเดือนเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นที่พบบ่อยที่สุดของโรคเริม โดยเฉพาะ “ความเครียด” ที่เป็นตัวกระตุ้นที่พบบ่อยที่สุด

Pynpy' Tips

อยากให้ทุกคนที่กำลังกังวลเรื่องโรคเริม… ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ กล้าที่จะเปิดใจคุยกับคนใกล้ชิด และตรวจ STI หรือตรวจภายใน หากกำลังสงสัยอาการของตัวเองอยู่

และเมื่อถึงวันที่แขกที่ไม่อยากรับเชิญประจำรายเดือนต้องมา โรคเริมที่อวัยวะเพศก็เข้าสู่โหมดเสี่ยงไปจี้จุดมังกรทองอีกแล้ว จะทำยังไงได้บ้าง ตาม Pynpy’ มาเลยค่ะ

โรคเริมในช่วงที่มีประจำเดือน

มาจับมือสู้โรคเริมในช่วงที่มีประจำเดือนไปด้วยกัน!

อันดับแรก เพื่อน ๆ ต้องรู้ทันความเครียดของตัวเองก่อน เพราะช่วงเวลานั้นของเดือน อาจมีอาการไม่สบาย ไข้ทับระดู เจ็บปวด ท้องอืด หรือ PMS ซึ่งจะทำให้ความเครียดนั้นตามมา และเปิดประตูให้โรคเริมเข้ามาในที่สุด สิ่งที่ง่ายที่สุดคือ การพักผ่อน ไม่ว่าจะเอนตัวลงบนโซฟา เปิดหนังตลกดูสักเรื่อง มีเครื่องดื่มที่ชอบอยู่ข้างกาย เท่านี้ก็เยี่ยมแล้วค่ะ

ต่อมา เพื่อน ๆ ควรดูแลห่วงใยจิ๊มิจังเสมอ สังเกตกลิ่นช่วงที่มีประจำเดือน หลีกเลี่ยงการถูสบู่ หลีกเลี่ยงชุดชั้นในและเสื้อผ้าที่คับหรือระคายเคือง เพื่อให้อากาศถ่ายเทตลอด และสำคัญที่สุดคือ ต้องให้จิ๊มิจังสะอาดและแห้งเสมอ อย่าปล่อยให้อับชื้น ถึงเวลานี้ ให้นวัตกรรมของ Pynpy’ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงด้วยอีกคนนะคะ

วิธีดูแลตัวเองจากโรคเริมช่วงมีประจำเดือน

เชิดใส่เจ้าโรคเริม เริ่มต้นที่กางเกงในอนามัย Pynpy’

กางเกงในอนามัย Pynpy’ มีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ใช้วัสดุพิเศษผสมผสานกับเทคโนโลยี Anti-bacteria โดยรับประกันด้วยมาตรฐานสากล OEKO-TEX ทำให้เจ้าโรคเริมมองหาที่อับชื้นไม่เจอ เพราะการดูดซับดีเลิศ แห้งสะอาดยาวนาน 8-12 ชั่วโมงต่อหนึ่งครั้งที่ใส่ และเพื่อน ๆ ก็หมดกังวลเรื่องคับหรือระคายเคืองได้ เพราะมีให้เลือกตั้ง 11 ไซซ์

ใช้แทนผ้าอนามัย

เพื่อน ๆ จ๋า โลกยุคใหม่ เทคโนโลยีใหม่ วิธีรับมือกับประจำเดือนแบบใหม่ แบบสับ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย! ทำความสะอาดง่ายมากค่ะ แค่ล้างผ่านน้ำหลังสวมใส่ บิดหมาด ๆ นำไปซักด้วยน้ำยาซักผ้าปกติ (ซักเครื่องหรือซักมือก็ได้) ตากกลางแดดให้แห้งสนิท ก็นำกลับมาใช้ใหม่ได้เลยค่ะ

คนที่อยากเชิดใส่เจ้าโรคเริม สามารถกดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ และกดดูรีวิวผู้ใช้จริงก่อนได้ค่ะ Pynpy’ ยังมีช่องทาง Social Media ด้วยน้า ทั้ง FacebookTwitterInstagramYouTube และ Line แล้วพบกันใหม่กับบทความใหม่ของเราน้าค้า สวัสดีค่า <3

Model wearing Pynpy's panties