fbpx

Period Education: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประจำเดือน สำคัญสำหรับทุกคน

เพื่อนๆ เคยสงสัยไหม ว่าทำไมถึงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับประจำเดือนเยอะจัง ? ไม่ว่าจะเป็น ทำไมคนเป็นประจำเดือนต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้ อาการนั้นอาการนี้เกี่ยวกับประจำเดือนไหม หรือบางทีก็ได้ยินความคิดหรือความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับประจำเดือน ทั้งๆ ที่มันควรจะเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประจำเดือนด้วยซ้ำ… ไหงกลายเป็นมีแต่คำถามที่ทุกคนอยากรู้ แต่ไม่กล้าถาม ? 

parent teaching about menstruation with diagram
parent teaching about menstruation with diagram

Pynpy’ ว่านะคะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราทุกคนไม่ได้มีโอกาสเข้าถึงหรือได้รับการสอนการแนะนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประจำเดือนกันอย่างตรงไปตรงมาและครอบคลุมนั่นเองค่ะ และที่ Pynpy’ จะบอกนี่คือ ไม่ใช่แค่เด็กผู้หญิงหรือผู้ที่จะมีประจำเดือนเท่านั้นนะคะ ที่ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนอย่างเต็มที่ แต่เป็นเด็กทุกเพศเลยที่ควรมีพื้นฐานของสุขศึกษาด้านนี้ เด็กๆ จากทั่วโลกเลยแหละเอาจริงๆ 

Pynpy’ ว่ามันสำคัญมากๆ เลยนะคะ ที่จะสอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับพื้นฐานของกลไกร่างกายเราทุกคน โดยไม่ตัดสินเพศหรือแบ่งแยกกลุ่มผู้ที่ควรได้เรียนรู้ เพราะประจำเดือนไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ที่เป็นเท่านั้น แต่มันเรื่องของสุขภาพและสุขอนามัยด้วยน่ะสิคะ และยิ่งถ้าความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประจำเดือนไม่มากพอ งี้เด็กที่ไหนจะไปกล้าปรึกษาหรือพูดคุยกันให้มันเป็นเรื่องปกติ อย่างที่มันควรจะเป็นจริงๆ กลายเป็นมีแต่ความเข้าใจผิดและข้อห้ามข้อบังคับต่างๆ ที่ไม่เข้าท่าเอาได้น่ะสิคะ

blood droplet
menstruation blood droplet

เพราะฉะนั้น วันนี้ Pynpy’ ขอเป็นหนึ่งในตัวแทน ที่จะมาแบ่งปันความรู้พื้นฐานบางส่วนเกี่ยวกับประจำเดือนให้เพื่อนๆ ได้ทราบ และมุมมองที่ Pynpy’ คิดว่าทำไมการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนถึงสำคัญให้เพื่อนๆ ได้ลองคิดตามกันดูนะคะ ไปเร็ว ! (ขอบอกเลยนะคะ ว่าวันนี้ Pynpy’ สาระแน่นๆ เลย เพราะฉะนั้น ตั้งใจอ่านเลยค่ะ!)

ทำไม “การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือน” ถึงสำคัญ ? 

ก่อนอื่นเลยนะคะ เพื่อนๆ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือน คือการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการประจำเดือนเป็นกระบวนการธรรมชาติ และปราศจากวิจารณญาณทางสังคมเกี่ยวกับร่างกายและบทบาทของผู้ที่เป็นประจำเดือนนั่นเองค่ะ 

และนอกจากนี้ การเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนยังเป็นการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผ่านความรู้เรื่องรอบเดือนและผลกระทบที่มีต่อแต่ละคนด้วยเช่นกัน เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและกลไกการทำงานของมันเพียงอย่างเดียว แต่มันเกี่ยวกับการจัดการปัญหาและรับมือกับการเป็นประจำเดือนและปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขอนามัยหรือการป้องกันด้วยเช่นน่ะสิคะ

books with information about menstruation
books with information about menstruation

ที่นี้เพื่อนๆ พอจะเข้าใจและเห็นภาพที่กว้างขึ้นกันบ้างรึยังคะ ? งั้น Pynpy’ ถามต่อเลยแล้วกัน เพื่อนๆ คิดว่า “ใครบ้าง” ที่ควรเรียนรู้และเข้าใจกลไกการทำงานของรอบเดือน และร่างกายผู้ที่เป็นประจำเดือน ? มาค่ะ Pynpy’ มีคำตอบให้…

เรื่องเมนส์ๆ ใครบ้างที่ควรรู้ ? 

ทุกคน! ใช่ค่ะทุกคน! ไม่ได้เรียกเพื่อนๆ นะคะ แต่จะบอกว่า “ทุกคน” ควรที่จะมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประจำเดือนในขั้นพื้นฐานค่ะ เพราะถึงแม้ประจำเดือนจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่มีเพศสภาพหญิงเท่านั้น แต่บอกเลยว่าผู้ชายหรือเพศอื่นๆ ก็ควรรู้และเข้าใจมันเหมือนกัน 

teenage kids in school
teenage kids in school

Pynpy’ รู้นะ ว่าต้องมีเด็กๆ หลายคน ทั้งผู้ชายผู้หญิงและทุกผู้ทุกเพศ มีคำถามเกี่ยวกับประจำเดือนกันไม่น้อยเลย ซึ่งเอาจริงๆ ถ้าเราทำให้การศึกษาสุขอนามัยให้ความสำคัญกับการสอนเรื่องประจำเดือนด้วยเนี่ย มันจะลดความอับอาย ความละอาย และความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับประจำเดือนได้เยอะเลยนะคะ 

ยิ่งได้เริ่มสอนตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ 7-8 ขวบเลยเอ้า! ก็ยิ่งดี เพราะบางคนก็มีประจำเดือนก่อนคนอื่น หรือบางทีก็เพื่อเตรียมพร้อมและเตรียมตัวเด็กๆ ให้พร้อมรับมือและรู้ตัวว่าควรทำยังไงเมื่อประจำเดือนมา หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวลใจ หรือเพิ่มความเข้าใจก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริงๆ ดีกว่าเป็นแล้วทำอะไรไม่เป็นนะคะ 

students putting hands up in classroom
students putting hands up in classroom

แล้วเด็กขนาดนั้นอะ จะสอนยังไง จะทำยังไงให้เด็กๆ เขาสนใจหรือเปิดรับกัน… นี่คงเป็นคำถามที่โผล่ขึ้นมาในหัวเพื่อนๆ ทันทีเลยสินะคะ ที่เห็น Pynpy’ บอกแบบนั้น… โถ่ถังกะละมังหม้อ! มีวิธีตั้งเยอะแยะมากมายที่จะช่วยสอนและแนะนำเกี่ยวกับประจำเดือน ไม่ต่างจากวิชาหรือความรู้ด้านอื่นๆ เลยค่ะ มาค่ะ! Pynpy’ จะยกตัวอย่างให้ฟัง

อัพเลเวลการเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนยังไง ให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง ?

1. เปิดพื้นที่ Safe Zone ให้ตั้งคำถามและมีคำตอบที่จริงและเข้าใจง่าย 

แน่นอนว่าการเรียนรู้ทุกรูปแบบ จะต้องเริ่มจากพื้นที่ที่พร้อมให้เรียนรู้และสบายใจที่ทำให้อยากเรียนรู้ ซึ่งหมายถึง Safe Zone ในการเปิดบทสนทนา เปิดช่องทางและจังหวะการตั้งคำถาม พร้อมมีคำตอบที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา ไม่วกวนหรือก่อให้เกิดการเข้าใจผิดใดๆ

teachers teaching with anatomy mannequin
teachers teaching with anatomy mannequin

และวิธีที่ Pynpy’ คิดว่าน่าจะง่ายที่สุดในการถามและตอบได้อย่างปลอดภัยที่สุดก็คงเป็นการตอบคำศัพท์ ตัวอย่างและคำอธิบายที่ถูกต้อง เห็นภาพ และไม่ปกปิดหรือบิดเบือนกันเขินอาย เช่นการบอกเลยว่าประจำเดือนมาจากน้องจุ๋มจิ๋มนะ มีเลือดสีไหนบ้าง มีกลิ่นคล้ายอะไร มีตกขาวและอาการอื่นๆ ใดๆ บ้าง หรืออะไรมากมายก็ตามแต่ Pynpy’ ว่าการตอบด้วยความจริง เป็นสิ่งที่เหมาะสมและเข้าใจง่ายที่สุดแล้วแหละค่ะ

2. ยกตัวอย่างจากมุมมองของทุกเพศ ให้เป็นเรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้แบบสบายๆ

Pynpy’ เชื่อว่าไม่ได้มีแค่เหล่าสาวๆ หรอกที่อยากรู้เกี่ยวกับประจำเดือน เพศอื่นๆ ก็อยากรู้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชายบางคนอยากรู้ว่าอาการของคนมีประจำเดือนเป็นยังไงบ้าง ทำไมถึงอารมณ์แปรปรวน ทำไมถึงปวดท้อง จะรู้ได้ไงว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์อนามัยแบบไหนยังไงให้เหมาะกับตัวเอง ทั้งหมดที่ถูกตั้งคำถามกันไม่ใช่เพื่อนำมาบูลลี่หรือนำมาพูดเป็นเรื่องตลกขบขันกันนะคะ แต่ที่หลายคนอยากรู้ก็เพราะจะได้รู้วิธีช่วยเหลือ หรือซัพพอร์ตในกรณีฉุกเฉินค่ะ เชื่อสิว่าถ้าพวกบอยๆ เขารู้กันว่าประจำเดือนคืออะไร มีอาการยังไงบ้าง เขาจะต้องพร้อมและยินดีที่จะช่วยในแบบที่เขาช่วยได้อย่างแน่นอนค่ะ

different range of age and sex of kids
different of range of age and sex of kids

และเอาจริงๆ นะคะ Pynpy’ ว่าก็ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายเด็กๆ หรือคนที่เรียนรู้เพียงอย่างเดียว เพราะคนสอนหรือคนที่คอยชี้แนะเนี่ย ก็ควรทำให้การสอนเกี่ยวกับประจำเดือนเป็นเรื่องที่ธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็นด้วย อาจจะเป็นครูหรือผู้ใหญ่ที่ยกตัวอย่างโดยการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริง มีการสาธิตให้เห็นภาพอย่างชัดเจน หรือจะตอบคำถามในมุมมองของเพศที่แตกต่างก็ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นครูผู้ชายสอน จะยิ่งทำให้เรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนเป็นเรื่องที่ปกติและธรรมชาติได้ไม่ยากเลยค่ะ

3. ไม่เห็นต้องเป็นแค่ที่โรงเรียน ก็เรียนรู้เรื่องประจำเดือนได้ 

ใช่ค่ะ คนเราไม่ได้เรียนรู้ได้จากในรั้วโรงเรียนอย่างเดียว และไม่ได้มีแค่ครูที่สอนเราได้เช่นกัน ! ซึ่งหมายความว่า สภาพแวดล้อมรอบตัวของเพื่อนๆ ก็สามารถสอนและแนะนำเกี่ยวกับประจำเดือนให้เพื่อนๆ ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ พี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายายใดๆ สื่อและอินเตอร์เน็ต กิจกรรมและสังคมต่างๆ ก็สามารถหล่อหลอมความรู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับประจำเดือนให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้มากมายเลยค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในทุกๆ ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนๆ จะต้องชั่งใจและค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองในระดับหนึ่งเหมือนกันนะคะ ไม่ได้เชื่อมุมมองเดียวตลอดเวลา ยิ่งความรู้จากสื่อหรือสังคมต่างๆ ที่มาจากหลากหลายแหล่ง อาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงเสมอไป ทางที่ดี ถามผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีพื้นฐานความรู้นี้แบบแน่นปึ้ก และทำความเข้าใจจากมุมมองนั้นๆ ให้ดี จะดีที่สุด…

top-view of kid learning about female reproductive system
top-view of kid learning about female reproductive system

แต่ Pynpy’ ไม่ได้บอกว่าความรู้จากสื่อหรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่สำคัญนะคะ เป็นความรู้และมุมมองที่แตกต่าง ที่ทำให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่ามีประสบการณ์และข้อมูลเหล่านี้อยู่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ไม่ได้ อันนี้ก็แล้วแต่สถานการณ์ จริงไหมคะ ? เอาง่ายๆ เลย ยกตัวอย่างเช่น บางคนบอกว่ายน้ำตอนเป็นเมนส์ได้ บางคนบอกไม่ได้ อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องชั่งน้ำหนักทั้งสองมุมมองแล้วว่าทำไมถึงมีคนคิดว่าว่ายได้ บางคนถึงคิดว่าว่ายไม่ได้ และข้อไหนเท็จจริงยังไง ก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมกันทั้งสองมุมมอง เพื่อหาข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดนั่นเองค่ะ

4. สนับสนุนการใช้ภาษาและการสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสมเมื่อพูดถึงประจำเดือน

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนนั้นคือการใช้คำศัพท์และภาษาที่ถูกต้อง ไม่ใช้คำที่สามารถนำไปบิดเบือนหรือทำให้เข้าใจผิดได้ และที่สำคัญไม่ควรใช้ภาษาที่ทำให้การพูดถึงเรื่องประจำเดือนเป็นเรื่องที่ตลกหรือแปลก ซึ่งหมายความว่าควรใช้ศัพท์เฉพาะหรือคำพูดที่เข้าใจง่าย เช่น เมนส์มาจากจิ๋ม เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่ลอกหลุดออกมาพร้อมเลือด การมีเซ็กซ์ช่วงที่ตกไข่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ การแพ้ผ้าอนามัยอาจทำให้มีผื่นคันที่อวัยวะเพศ และอื่นๆ อีกมากมาย

book with image of illustrative vagina
book with image of illustrative vagina

Pynpy’ บอกเลยนะคะว่าวิธีการสื่อสารแบบนี้ เด็กๆ จะเข้าใจง่ายและเข้าใจเร็ว และที่สำคัญ เข้าใจถูกด้วยค่ะ ซึ่งก็คือหนึ่งในจุดประสงค์หลักของการเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนไงคะ จริงไหม ?

5. แนะนำ อธิบายและจัดหาผลิตภัณฑ์อนามัย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่การเป็นประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ 

อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้เพียงในกลุ่มหรือสังคมเล็กๆ เช่นในโรงเรียน หรือในบ้าน แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง พร้อมกับสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์อนามัยเป็นเรื่องปกติได้อย่างไม่เขินอายใดๆ ยิ่งการได้อธิบายและสอนวิธีการใช้ที่ถูกต้องจะยิ่งทำให้ทุกคนได้เข้าใจถึงจุดประสงค์ของการใช้มัน รวมไปถึงข้อควรระวัง เช่นเรื่องสุขอนามัย การทำความสะอาด และวิธีการทิ้งที่ถูกต้องอีกด้วยค่ะ

different types of sanitary products
different types of sanitary products

เป็นไงบ้างคะเพื่อนๆ คิดว่าแนวทางการเรียนรู้ที่ Pynpy’ แนะนำและพูดถึงในวันนี้ เป็นอะไรที่ยากเกินเอื้อมไปไหม​ ? Pynpy’ ว่าไม่เลยนะคะ แถมยังทำให้การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนง่ายและน่าเรียนมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วยนะ แบบนี้บอกเลยว่าสังคมเปิดกว้าง เป็นที่ยอมรับและเข้าใจอย่างถูกต้องมากขึ้นอย่างแน่นอน… แต่เอ้ะ ? พูดถึงผลิตภัณฑ์อนามัยที่ใช้แล้วดีและเหมาะสมเนี่ย Pynpy’ ก็มีหนึ่งโปรดักส์ที่อยากจะแชร์ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันด้วยนะคะ รับรองว่าถูกสุขอนามัย ใช้งานง่าย และตอบโจทย์สำหรับทุกเพศทุกวัยอย่างแน่นอนค่ะ

กางเกงในอนามัย Pynpy’ เหมาะแก่การใส่เรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนอย่างแท้ทรู

ถ้าอยากที่จะเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับประจำเดือนอย่างจริงจัง ทั้งประสบพบเจอกับเหตุการณ์และเข้าใจถึง Process ของการไหลของประจำเดือนจริงๆ แต่ก็ยังอยากที่จะรู้สึกสบายกายสบายใจ ไม่ฝืนไม่อึดอัดในการเรียนรู้และซึมซับความรู้ได้ดีพอๆ กับประจำเดือน Pynpy’ ขอแนะนำ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ผลิตภัณฑ์รองรับประจำเดือนที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย !

hands holding pynpy' panties in the air
hands holding pynpy’ panties in the air

Pynpy’ ขอบอกเลยนะคะ ว่ากางเกงในอนามัย Pynpy’ เนี่ย คือที่สุดของการให้เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับน้องเมนส์อย่างแท้จริงเลยนะคะ เพราะเพื่อนๆ สามารถสวมใส่กางเกงในอนามัย Pynpy’ ได้เสมือนกางเกงในทั่วไป ทำให้ทั้งเด็กๆ และเพื่อนๆ ได้เห็น ได้สัมผัสและได้เรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนของตัวเองได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกลัวเลอะเทอะเปรอะเปื้อนใดๆ เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นนวัตกรรมสิ่งทอที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษในการ “ซึมซับและล็อกของเหลวไม่ให้ไหลย้อนกลับ” ที่ทั้งปลอดภัยผ่านการรับรองมาตรฐาน OEKO-TEX ระดับสากล รู้สึกแห้งสบายไม่ระคายเคือง ไร้กังวลเรื่องการซึมเปื้อน แถมยังสวมใส่สบายสุดๆ ได้ 8-12 ชั่วโมงไปเลย

pouring water onto pynpy' panties and using cotton pad to show absorption feature
pouring water onto pynpy’ panties and using cotton pad to show absorption feature

และด้วยความที่กางเกงในอนามัยถูกผลิตและออกแบบมาให้สวมใส่ได้หลายขนาด (มีตัวเลือกถึง 11 ไซส์ ตั้งแต่ 3XS-5XL) จึงพร้อมสำหรับการรองรับประจำเดือนและของเหลวได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือน ตกขาว นำ้คาวปลา หรือปัสสาวะเล็ด ปัญหาของเหลวใดๆ ที่ใครๆ ก็เจอได้ บอกเลยว่ากางเกงในอนามัย Pynpy’ เอาอยู่แน่นอน !

close-up showing pynpy' panties material
close-up showing pynpy’ panties material

กางเกงในอนามัย Pynpy‘ ถือเป็นโปรดักส์ชั้นเลิศที่พร้อมให้เพื่อนๆ เผชิญได้ทุกสถานการณ์เลยนะคะ ไม่ว่าจะเมนส์มาน้อยมามาก มาปกติหรือไม่ปกติ หรือจะมาโดยไม่ทันตั้งตัว เพื่อนๆ สามารถพกพาและหยิบกางเกงในอนามัย Pynpy’ มาสวมใส่ได้อย่างมั่นใจไร้กังวลทุกเวลา เพื่อนๆ ไม่ต้องกลัวอายหรือโดนบูลลี่เลยว่า ว๊ายเป็นเมนส์ ว๊ายผ้าอนามัยตุง เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นเสมือนกางเกงในทั่วไปที่สวมใส่ได้กระชับตัวพอดี โดยไม่มีอะไรมาเผยอหน้ากระจุกหลังอย่างแน่นอน

model wearing pynpy' panties holding pynpy' box
model wearing pynpy panties holding pynpy’ box

นอกจากนี้ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ยังเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่ไม่ต้องใช้แล้วทิ้งซ้ำๆ ซากๆ เลย เพราะเป็นกางเกงในอนามัยที่ซักและใช้ซ้ำได้ยาวนานถึง 2 ปี เพียงทำความสะอาดอย่างถูกต้องด้วยขั้นตอน 3 สเต็ป ล้าง-ซัก-ตาก เท่านี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนไปพร้อมๆ กับรักษาสิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องกังวลเลยค่ะ โอ้โห เพอร์เฟ็กต์สุดๆ ไปเลยค่าาา ~

เคล็ดลับฉบับง่ายๆ ดูแล Pynpy’ นวัตกรรม กางเกงในอนามัยยังไง ให้อยู่ได้นานเว่อร์
เคล็ดลับฉบับง่ายๆ ดูแล Pynpy’ นวัตกรรม กางเกงในอนามัยยังไง ให้อยู่ได้นานเว่อร์

หมดปัญหาเรื่องรู้ไม่ลึก รู้ไม่จริงเกี่ยวกับประจำเดือนกันแล้ว เรามาช่วยกันสร้างมาตรฐานและแรงผลักดันให้เด็กๆ และคนอื่นๆ เรียนรู้เกี่ยวกับประจำเดือนอย่างถูกต้องกันมากยิ่งขึ้นดีกว่าค่ะ จะช่วยกันแชร์ความรู้และสาระดีๆ ในบทความของ Pynpy’ หรือผ่านลิงก์ Social Media ต่างๆ ของ Pynpy’ อย่าง Website, Twitter, Facebook, Instagram, Youtube และ Line OA ก็ได้ทั้งสิ้น ยิ่งแชร์ยิ่งแบ่งปัน เพื่อนๆ ก็จะยิ่งสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประจำเดือนกันมากยิ่งขึ้นในอีกระดับนะคะ

pynpy' panties with thank you card
pynpy’ panties with thank you card

และแน่นอน ติดตามและบอกต่อกันแล้ว ก็อย่าลืมจิ้มกางเกงในอนามัย Pynpy’ ลงตะกร้าแล้วกดเช็กเอ้าท์จ่ายตัง เพื่อสวมใส่กางเกงในอนามัย Pynpy’ อย่างสบายกายสบายอารมณ์ไปบอกต่อความรู้เด็ดๆ เกี่ยวกับประจำเดือนให้คนอื่นๆ เขารู้กันดีกว่า ~ ได้เวลายืดอกโชว์พลังและมันสมองของมนุษย์เมนส์แล้ว ไปกันเลยค่า !