fbpx

แปลกแต่จริง! โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกินที่ชาวเมนส์เป็นได้มากกว่าเพศอื่น

เพิ่งเข้าห้องน้ำไป แต่ก็วิ่งเข้าอีกแล้ว, ตื่นมาฉี่ตอนกลางคืนจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน, อั้นไม่ได้เหมือนเก่า ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น!!!

ถ้ากำลังประสบปัญหานี้อยู่ อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเพื่อนๆ กำลังมีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือ Overactive Bladder (OAB) ค่ะ

ว่าแต่โรคที่ว่าคืออะไร เรากำลังเข้าข่ายหรือเปล่า ตาม Pynpy’ ไปหาคำตอบกันค่ะ

ปัสสาวะเล็ด

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินคืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะไวเกิน (OAB) หรือที่บางคนเรียกว่า ‘ช้ำรั่ว’ เป็นภาวะที่กระเพาะปัสสาวะมีความผิดปกติจนทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบไวกว่าปกติ แม้ปริมาณชิ้งฉ่องของเราจะต่ำ

Did you know?
กระเพาะปัสสาวะไวเกินพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปค่ะแต่ผู้หญิงอาจมี OAB ได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี และจะส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ

สาเหตุหลากหลายของ OAB

จริงๆ สาเหตุนั้นยังไม่แน่ชัดขนาดนั้นค่ะ คุณหมอสันนิษฐานไว้หลากหลายแบบเลยว่า

  • บางรายอาจเพราะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะยังพัฒนาไม่เต็มที่ คล้ายกับเด็กทารก บางคนอาจเพราะมีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน
  • บางครั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือนก็มีผลค่ะ
  • แม้กระทั่งการทานยาบางชนิด หรือการบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์มากเกินไปก็อาจเกี่ยวข้องได้เช่นกัน

อาการของคนเป็นโรค OAB

หลายคนอาจสงสัยว่าเรากำลังเข้าข่ายภาวะที่ว่าอยู่หรือเปล่า Pynpy’ ขอพาไปดูอาการดังนี้ค่ะ

  • อยู่ดีๆ ก็ปวดชิ้งฉ่องแบบฉับพลันจนรอไม่ได้
  • ฉี่มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน (24 ชั่วโมง)
  • กลั้นฉี่ไม่ได้
  • ตื่นขึ้นมาฉี่ 2 ครั้งเป็นอย่างต่ำหลังจากเข้านอนแล้ว เพราะคนปกติสามารถนอนต่อกันยาว 6-8 ชั่วโมงได้ค่ะ
อ้างอิง OAB CHECK-IN
Did you know?
การดื่มน้ำให้น้อยลงไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้นในคนที่เป็นโรคนี้ค่ะเพียงแต่อาจจะช่วยให้ช่วงกลางคืนไม่ต้องตื่นขึ้นมาบ่อยมากนักเพื่อให้เราได้อย่างมีคุณภาพ

เราต้องเป็น OAB แน่ๆ แต่ต้องทำยังไงล่ะ!

ที่จริงแล้วเชื่อว่าจำนวนผู้ป่วยโรคนี้น่าจะมีจำนวนมากค่ะ เพียงแต่หลายคนรู้สึกอายจนไม่กล้าไปหาหมอ แต่ Pynpy’ แนะนำให้เพื่อนเข้าพบแพทย์นะคะ เพราะอาการนั้นเกี่ยวเนื่องกับโรคอื่นๆ ได้ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นิ่ว หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เราจึงไม่ควรนิ่งนอนใจนะคะ

ที่สำคัญ การรักษาก็หลากหลายมากค่ะ ไม่ได้หมายความว่าเราต้องผ่าตัดทุกครั้งไป เช่น

  • ลดการดื่มน้ำที่มากเกิน โดยเฉพาะก่อนนอนและก่อนเดินทาง
  • ลดเครื่องดื่มที่กระตุ้นการปวดชิ้งฉ่อง เช่น แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
  • ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อให้กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะแข็งแรงขึ้น เราจะได้อั้นฉี่ได้ดีขึ้นเมื่อเกิดสถาการณ์ฉุกเฉิน
  • นอกจากนั้น ยังมีการรักษาด้วยยา การกระตุ้นไฟฟ้า ด้วยค่า

กางเกงในอนามัย Pynpy’ ทางออกที่ดีระหว่างการรักษา OAB

เชื่อว่าหลายคนที่เผชิญปัญหานี้อยู่น่าจะกำลังแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อย่างการใส่ผ้าอนามัย หรือผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดการระคายเคืองได้ง่าย เพราะโรคที่ว่ามักจะเรื้อรังและใช้เวลาในการรักษาค่ะ

การเลือกใช้กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่คิดมาแล้วว่ารองรับของเหลวได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งเมนส์ ตกขาว ปัสสาวะเล็ด จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อสร้างความมั่นใจ และสุขภาพกายที่ดีกลับคืนมาค่ะ

Pynpy'
  • บอกลาผ้าอนามัย หรือผ้าออมผู้ใหญ่ที่ตุงแสนตุง เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ นั้นใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย สามารถซึมซับเทียบเท่าผ้าอนามัย 2-3 แผ่น นานสูงสุด 8-12 ชั่วโมง
  • ตัวเนื้อผ้าได้มาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 มั่นใจว่าไร้สารพิษ ดีต่อกายและใจของเราเป็นที่สุด
Pynpy'
  • มีไซส์ให้เลือก 11 ไซส์ รองรับทุกสรีระร่างกาย รองรับทุกช่วงอายุ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วย OAB ที่อายุเท่าไหร่ ก็มั่นใจกับ Pynpy’ ได้ แถมยังกระชับพอดีตัว
  • สัมผัสเหมือนกางเกงในที่ใส่แบบแนบสนิท ดังนั้น จึงมั่นใจมากขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะรู้ว่าเราใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่อยู่หรือเปล่า
Pynpy'
  • ปัสสาวะบ่อยจนล้า เราไม่ควรจะเหนื่อยซ้ำซ้อน! แต่ไม่ต้องกังวล เพราะ Pynpy’ ทำความสะอาดง่าย เพียงล้าง ซักในเครื่องซักผ้าได้ตามปกติ และตากแดดให้แห้ง

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วย OAB เอง เป็นเพื่อน ญาติ หรือคนรัก ก็ร่วมเรียกคืนความมั่นใจกลับมาด้วยกางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่คิดมาเพื่อชาวเมนส์ ด้วยการกดสั่งซื้อเองที่เว็บไซต์ Pynpy’ หรือ ห้างสรรพสินค้าทั่วทุกภาคของประเทศไทยค่ะ ส่วนถ้าใครยังมีข้อสงสัย ก็ทักมาชิตแชตกันก่อนที่ FacebookInstagramTwitterYoutubeTikTok หรือ Line ค่ะ

วันนี้ Pynpy’ ขอลาไปก่อน แล้วอย่าลืมติตดามความรู้ดีๆ กันอีกนะ