fbpx

PINK OCTOBER : เดือนแห่งการรณรงค์ “ต้านภัยมะเร็งเต้านม”

“ It’s Pink October! ได้เวลาฮึบขึ้นมา ช่วยกันรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านมกันแล้วค่ะ ! “

เพื่อนๆ กำลังสงสัยใช่ไหมคะ ว่า Pink October คืออะไร… ? จริงๆ แล้วเดือน Pink October หรือชื่ออย่างเป็นทางการที่ยาวเฟื้อยก็คือ Breast Cancer Awareness Month (BCAM – เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม) เพิ่งมีมาไม่กี่ทศวรรษเองนะคะ แต่เป็นที่รู้จักและสืบทอดกันอย่างจริงจังทั่วโลกเลยแหละค่ะ เพราะเป็นเดือนที่เราต้องการรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในเรื่องของภัยจาก “โรคมะเร็งเต้านม” ทั้งเรียนรู้สาเหตุ วิธีการสังเกตอาการ ผลกระทบ การป้องกัน และการรักษามะเร็งเต้านมอย่างจริงจังค่ะ 

breast cancer awareness symbol with model

อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นหูกันมากนักในประเทศไทยเรา จึงทำให้หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า แม้ว่าจะเรียกว่าเป็น “เดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านม” แต่วันที่จริงๆ ของการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมเนี่ย คือวันที่ 15 ตุลาคมค่ะ แต่ Pynpy’ บอกเลยค่ะ ว่าเป็นวันที่สำคัญสำหรับทุกๆ เพศทุกๆ วัยเลยนะ และถึงจะเพิ่งจะเคยได้ยินหรือรู้จักมันตอนนี้ ก็ไม่สายไปอย่างแน่นอนค่ะ

งั้นถ้าเพื่อนๆ พร้อมกันแล้ว เราไปเรียนรู้เกี่ยวกับ เดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านม กันเพิ่มเติม และวิธีการทำให้หลายๆ คนรอบตัวตระหนักถึงมะเร็งเต้านมกันมากขึ้นดีกว่านะคะ ไปเล้ย !

เดี๋ยวก่อนสิ ! อธิบายหน่อยว่าทำไมถึงเรียก “Pink October” ?

อย่างที่ Pynpy’ เกริ่นไปเบาๆ ข้างต้นว่า BCAM เนี่ยเพิ่งมีมาประมาณ 40 กว่าปี เพราะ American Cancer Society และ AstraZeneca (ผู้ผลิตยาต้านมะเร็งเต้านมหลายชนิด) เพิ่งเริ่มแคมเปญนี้ขึ้นมาในปี 1985 โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมการต่อสู้กับมะเร็งเต้านมในทุกเพศค่ะ

pink bow running for breast cancer awareness

และที่มีคำว่า Pink หรือชมพูในเดือนนี้ เดิมทีเกือบจะไม่ใช่แล้วนะคะ ! ตอนแรกน่ะ จะใช้ริบบิ้นสีเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตระหนักรู้ แต่โครงการ American Breast Cancer จัดการแข่งขัน Race for the Cure (การแข่งขันเพื่อรณรงค์การตระหนักในเรื่องของภัยจากมะเร็งเต้านม) และใช้เสื้อกั๊กสีชมพูสุดจี๊ด และได้ใช้ริบบิ้นสีชมพูแจกให้กับผู้แข่งขัน และตั้งแต่นั้นมา ริ้บบิ้นสีชมพูก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของเดือนสุดพิเศษนี้ไปเลยค่ะ  

Pynpy' Tips

อีกหนึ่งเหตุผลที่เป็นริบบิ้นสีชมพู ก็เพราะสีชมพูเป็นที่ยอมรับและถูกนำมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ของผู้หญิงมาอย่างยาวนาน และเจ้าโรคมะเร็งเต้านมตัวร้ายเนี่ย ก็คร่าชีวิตของผู้หญิงทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก จึงมีการใช้ริบบิ้นสีชมพูและเรียก Pink October มาอย่างต่อเนื่องนั่นเองค่ะ 
medical check up for breast cancer awareness

รู้ลึกรู้จริงเรื่องประวัติและความเป็นมาของเดือน Pink October กันอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ถึงเวลามาทำความรู้จักกับเจ้ามะเร็งเต้านมตัวร้ายนี้กันแบบจังๆ สักหน่อยแล้วแหละค่ะ 

“มะเร็งเต้านม” คืออะไร ? อาการแบบไหนที่ควรระวัง…

ก่อนอื่นเลยนะคะ “มะเร็งเต้านม” คือมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม ที่เริ่มแบ่งตัวแบบผิดปกติแล้วเกิดลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงค่ะ 

Pynpy' Tips

กว่า 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนม และอีกประมาณ 10% เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต่อมน้ำนม
graphic women hurting breasts

ซึ่งแน่นอนค่ะ เมื่อพูดถึงมะเร็งก้อนเนื้อร้าย เชื่อว่าเพื่อนๆ ต้องเริ่มมีการจับๆ คลำๆ เต้านมตัวเองกันนิดๆ หน่อยๆ แล้วแหละใช่ไหมล่า ~ ไม่ต้องเขินอายหรอกค่ะ เพราะที่ทำน่ะ ถูกแล้ว ! หากเพื่อนๆ ต้องการที่จะสังเกตอาการตัวเองว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมไหม อย่างแรกที่ Pynpy’ แนะนำให้ทำคือการตรวจหาก้อนเนื้อหรือไตแข็งๆ บริเวณเต้านมก่อนเลยค่ะ แล้วสังเกตเอาตามนี้เลยน้า

  • คลำพบก้อนเนื้อแข็งหรือไตแข็งที่บริเวณเต้านม บริเวณรักแร้หรือใต้นม โดยไม่มีอาการเจ็บ (แต่ไม่ควรชะล่าใจว่าไม่เจ็บ = ไม่ใช่มะเร็ง)
  • มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติที่เต้านมข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ขนาดที่ใหญ่ขึ้น รูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป หัวนมบุ๋มเข้าไปในเต้านม
  • มีผิวสัมผัสที่เปลี่ยนไป เช่น หนาขึ้น ขรุขระมากขึ้น คล้ายเปลือกผิวส้ม หรือมีรอยบุ่มหรือรอยย่นที่บริเวณเต้านม
  • มีอาการปวดหรือบวมแดงที่บริเวณเต้านม 
  • มีเลือดหรือน้ำเหลืองใสๆ ไหลออกจากเต้านมอย่างผิดปกติ (โดยไม่มีเกณฑ์ให้นมบุตร)
  • มีแผลเป็นหรือผื่นคันที่รักษาไม่หาย
different symptoms of breast cancer

โอ้โห ! วิธีสังเกตอาการเยอะเหมือนกันนะคะเนี่ย และ Pynpy’ เชื่อว่าเยอะขนาดนี้ ต้องมีเพื่อนๆ บางคนที่เกิดกังวลใจมากขึ้นไปอีกแน่เลย แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ ก่อนที่เราจะไปกลายเป็นมนุษย์ที่ได้ข้อสรุปว่าเป็นมะเร็งทุกครั้งที่อ่านเจออะไรจากเน็ต เรามาดูปัจจัยความเสี่ยงของผู้ที่อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมกันก่อนดีกว่านะคะ 

ปัจจัยความเสี่ยง สำหรับผู้ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม 

1. กรรมพันธุ์

พันธุกรรมทางครอบครัวที่มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะญาติสนิทหรือญาติสายตรง เช่น แม่ พี่สาวหรือน้องสาว

2. เพศและอายุ

แน่นอนว่าเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสการเกิดความผิดปกติของเซลล์ก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสพบมะเร็งเต้านมประมาณ 2/3 และผู้ชายจะพบได้ที่ประมาณ 1/100 (ใช่ค่ะ ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน!)

all genders involvement

3. ฮอร์โมนเพศ

เจ้าฮอร์โมนก็มีผลกระทบทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกันนะคะ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีประจำเดือนแล้วมีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย หรือวัยหมดประจำเดือนที่ช้ากว่าปกติ เพราะมีโอกาสสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานกว่าปกติ จึงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ ที่สำคัญ ยังมีกลุ่มคนที่ทานยาคุมกำเนิดด้วยเช่นกันค่ะ มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนแบบเต็มสูบฉีดเยอะๆ นี่แหละค่ะ ที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้

4. ประวัติการเจริญพันธุ์

ผู้ที่มีประวัติการมีประจำเดือนเร็ว มีอาการวัยทองช้า หรือการตั้งครรภ์ยากหรือครรภ์ลูกคนแรกช้า มีโอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าปกติ

5. ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมมากๆ เลยนะคะ ยิ่งสำหรับใครที่มีภาวะโรคอ้วนหรือเบาหวาน เช่นน้ำตาลและไขมันในร่างกายสูง สายปาร์ตี้ดื่มแอลกอฮอลล์แบบจัดเต็ม หรือจะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง ก็มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมได้ไม่แพ้กันเลยแหละค่ะ

graphic hands holding junk food

ก็ถือว่ามีปัจจัยความเสี่ยงที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางไม่น้อยเลยนะคะ ถึงแม้จะเน้นไปทางผู้หญิงที่มีเรื่องฮอร์โมนเพศต่างๆ รวมไปถึงประวัติการเจริญพันธุ์ แต่ก็ไม่ได้แปลว่า คนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงนี้จะไม่มีโอกาสเป็นนะคะ ต้องคอยตรวจเช็คตัวเองอยู่บ่อยๆ น้าา ว่าแต่… เพื่อนๆ อ่านกันมาถึงขนาดนี้แล้ว ก็คงอยากที่จะรู้วิธีการป้องกันหรือวิธีการตรวจที่ทำให้มั่นใจขึ้นใช่ไหมคะ ว่าเรามีโอกาสเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน มาค่ะ ไปต่อหัวข้อถัดไปกันเลยดีกว่า

ป้องกันยังไง ? ให้รู้เท่าทันเจ้า “โรคมะเร็งเต้านม” 

1. สังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง

ข้อนี้น่าจะเป็นข้อที่ง่ายและทำได้เลยทันที ยิ่งสำหรับชาวประจำเดือนที่เพิ่งจะหมดจากประจำเดือนวันแรก จะสังเกตอาการง่ายที่สุดค่ะ โดยการคลำแล้วสังเกตจากสัญญาณเตือนมะเร็งต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ หากรู้สึกมีอาการใกล้เคียง หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้ค่ะ 

how to check for breast cancer symptoms

2. การอัลตราซาวนด์เต้านม

แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 20 ปีเป็นต้นไป ไปตรวจสุขภาพและทำการอัลตราซาวนด์เต้านมควบคู่ไปด้วย วิธีนี้จะช่วยวินิจฉัยการเปลี่ยนแปลงของเต้านมได้ดีเลยนะคะ สามารถตรวจอาการได้สำหรับผู้ที่อาจจะเป็นก้อนซีดหรือก้อนมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ 2-3 mm เลยแหละค่ะ

3. ตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม

เครื่องตรวจมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ เป็นเครื่องที่จะช่วยตรวจและวินิจฉัยทั้งเนื้อเยื่อหน้าอก ที่ทำให้จับเจ้ามะเร็งเต้านมทันในช่วงระยะแรกๆ ได้ไวที่สุดนั่นเองค่ะ

mammography image
Pynpy' Tips

แคมเปญ Pink October ก็ส่งเสริมการใช้เครื่องตรวจแมมโมแกรมในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยค่ะ เพราะเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการป้องกันมะเร็งเต้านมตั้งแต่ต้น

4. การทดสอบทางพันธุกรรม

แน่นอนว่าการใช้วิทยาศาสตร์ช่วยในการตรวจความเสี่ยงของปัญหาเนื้อเยื่อและการกลายพันธุ์ของยีน น่าจะบ่งบอกได้ชัดเจนมากที่สุดอีกทาง ทำให้หาได้ทั้งสาเหตุและระยะการเติบโตของมะเร็งเต้านมได้เป็นอย่างดีค่ะ 

graphic hands with dna

โอ้ยๆๆ หัวข้อนี้ก็เครียดใช่ย่อยเลยใช่ไหมคะ ใจเย็นๆ ก่อนน้าาา (//หายใจลึกๆ) เรามาทำความรู้จักกับวิธีที่ทำจะช่วยคลายความกังวลไปอีกหนึ่งเปราะ สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมอย่างชาวประจำเดือนอย่างเรากันดีกว่าค่ะ อย่างน้อย ได้วอรี่น้อยลงไปหนึ่งเรื่อง ก็น่าจะแบ่งเบาความเครียดกันลงมาได้บ้างน้า ~

คลายความกังวลใจกับกางเกงในอนามัย Pynpy’ แล้วช่วยกันรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านมกันดีกว่า !

เพื่อนๆ ขา ~ เรามาโฟกัสสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ในระยะสั้นและในช่วงที่เรามั่นใจกันก่อนดีกว่าค่ะ อย่างการเป็นประจำเดือนนี่ไง ! ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเป็นมนุษย์เมนส์ที่มีประจำเดือนมาปกติ มาไม่ปกติ มาแบบกะปริดกะปรอย มาน้อย-มามากยังไง หมดความกังวลใจได้เลยค่ะ เพราะเรามี กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย ! 

ไม่ว่าเพื่อนๆ จะมีประสบการณ์ประจำเดือนแบบไหน จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างไร เรามาเตรียมตัวเตรียมใจให้รู้สึกหมดห่วงหรือกังวลเรื่องประจำเดือนซึมเปื้อน เลอะเทอะกันดีกว่าค่ะ 

model wearing pynpy' panties holding pynpy' box

ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอเทคโนโลยีและวัสดุสุดพิเศษ ทำให้กางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์สมาชิกชาวเมนส์ได้เวิร์คที่สุด เพราะทั้งช่วย “ดูดซึม ซึมซับและล็อกของเหลวไม่ให้ไหลย้อนกลับ” ทำให้เพื่อนๆ ไม่ต้องรู้สึกอึดอัด เหนอะหนะ หรือคันระคายเคืองในวันนั้นของเดือนเลยค่ะ 

pouring water onto pynpy' panties and using cotton pad to test absorption feature

ที่สำคัญ จะไซส์ไหนรุ่นไหน เพื่อนๆ ก็เลือกใส่ได้ตามที่ใจปรารถนาเลยน้า เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ มีให้เลือกสรรถึง 11 ไซส์ มีตั้งแต่ 3XS-5XL เลยค่ะ แถมยังทำความสะอาดง่ายๆ ด้วย 3 ขั้นตอนสุดคลาสสิกอย่างการ ล้าง-ซัก-ตาก เสมือนกางเกงในทั่วไปได้เลย ดีเวอร์ ~

hanging pynpy' panties to dry

แค่นี้ก็อยากจะรีบลงทุนความสบายให้กับตัวเองแล้วใช่ไหมล่า ~ เพื่อนๆ สามารถ กดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ ได้ที่ หน้าเว็บไซต์ Pynpy’ ได้เลยนะคะ เรายังมีบทความดีๆ และรีวิวโดนๆ จากมนุษย์เมนส์อีกมากมายที่เลือกใช้กางเกงในอนามัย Pynpy’ เหมือนกันอีกด้วย หรือถ้าเพื่อนๆ อยากติดตามอัปเดตเกี่ยวกับความรู้และอัปเดตใหม่ๆ จากเรา ก็สามารถไปติดตาม Social Media ต่างๆ ของ Pynpy’ ได้เหมือนกันน้าา (Facebook, Instagram, Twitter, Youtube และ Line OA)

สบายใจหายห่วงเรื่องน้องเมนส์กันแล้ว เรามาฮึบให้กำลังใจและช่วยกันรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงภัยจากมะเร็งเต้านมกันดีกว่านะคะ ไม่ใช่แค่ในเดือนตุลาคมของทุกปีอย่างเดียวด้วยนะ แต่ในทุกๆ เดือน ทุกๆ โอกาสที่เพื่อนๆ สามารถจะทำได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างชาวเรา เป็นหูเป็นตา เป็นกระบอกเสียงให้กันดีกว่าน้าาา ~ 

woman hand holding pink ribbon, a breast cancer symbol

🎀  อ่ะ ! Pynpy’ ขอมอบริบบิ้นสีชมพูให้มนุษย์เมนส์และผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมทุกคนเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมนี้ก่อนน้า ~ ไว้เจอกันใหม่ค่ะ 💗