นอนน้อย… เราก็เพลีย ใช้แรงเยอะ… เราก็เหนื่อย ถือของหนัก… เราก็เมื่อย และยังมีกิจกรรมอีกเยอะเลยที่สามารถส่งผลต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ แล้วเหล่าคุณแม่ล่ะ!!! ตั้งท้อง 9 เดือน พอคลอดแล้วจะให้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนก่อนตั้งท้องโดยทันทีได้ไงกันค้า!!! ดังนั้น Pynpy’ อยากให้ทุกคนเข้าใจและให้กำลังใจว่า…
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ใช่จุดอ่อน แต่เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า “แม่”
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ใช่ความผิด แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงสู่ “บทบาทแม่”
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ใช่เรื่องต้องห้าม แต่เป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับ “คนเป็นแม่”
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคืออะไร? ทำไมไม่ใช่เรื่องแปลก?
Pynpy’ ขออธิบายแบบง่าย ๆ ว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คือ ภาวะหลังคลอดนั่นแหละค่ะ เป็นความเปลี่ยนแปลงอีกหนึ่งขั้นตอนเท่านั้น เหมือนกับที่เหล่าคุณแม่มีความเปลี่ยนแปลงขณะตั้งท้อง ต่างกันตรงที่หลังคลอด เจ้าฮอร์โมนในร่างกายแปรเปลี่ยนเป็นขบวนอย่างกับวิ่งสวนสนาม ทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์อยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะเจ้าฮอร์โมนโปรแลกติน หรือ ฮอร์โมนของความเป็นแม่ ที่สมองสร้างขึ้นในระยะหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนต้องเจอ หรือต้องมีอาการที่เหมือนกัน บางคนอาจเป็น บางคนอาจไม่เป็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น 4-6 สัปดาห์ แต่บางคนก็ 2 สัปดาห์ หรือบางคนก็เป็นหลายเดือนเลยทีเดียวค่ะ บางคนหายจากภาวะนี้เองได้ บางคนใช้วิธีจิตบำบัดช่วย จนไปถึงต้องรักษากับคุณหมออย่างใกล้ชิด ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะนี่คือการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย ฮอร์โมน และบทบาทใหม่ที่ยิ่งใหญ่หนัก รวบตึงทุกสิ่งอย่างไว้ในช่วงหลังคลอดหมดเลย
เหล่าคุณแม่ต้อง ฮึบ!! เตรียมรับมือและคอยสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอน้าค้า ห้ามอับอายและโทษตัวเองเด็ดขาดว่าทำไมถึงต้องมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Pynpy’ อยากให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่เหล่าคุณแม่มักจะเจอทั้งในช่วงก่อนคลอดและหลังคลอด เราไปดู recap กันเลยดีกว่าค่ะ!
Recap: ก่อน & หลังคลอด เหล่าคุณแม่มักจะมีอาการอะไรบ้างจนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด?
ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2: เหล่าคุณแม่จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า แต่ส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ลดลง เมื่อลูกน้อยเริ่มมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เหล่าคุณแม่จะปวดท้องน้อยเพราะเอ็นที่ท้องตึงขึ้น ท้องผูก ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด
ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3: เหล่าคุณแม่จะเริ่มเตรียมตัวคลอด พบหมอบ่อยขึ้น เพื่อวางแผนให้ลูกรักที่พร้อมคลอดแล้ว เหล่าคุณแม่จะรู้สึกอึดอัดเพราะลูกรักตัวโต อาจมีอาการจุกเสียดหน้าอก และท้องผูก เพราะท้องของเหล่าคุณแม่จะใหญ่มาก จึงทำให้หายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย เป็นตะคริว มีเลือดออกและน้ำคร่ำ
หลังคลอด: เหล่าคุณแม่อาจพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงของทั้งร่างกายและจิตใจ แน่นอนว่าสาเหตุหลักก็คือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่กำลังเต้นแทงโก้ในร่างกายไปอีก 6 สัปดาห์ และยังมีอาการผมร่วงหลังคลอด ผื่นแพ้หลังคลอด ปัสสาวะเล็ด น้ำคาวปลา ผิวพรรณและรูปร่างที่เปลี่ยนไป
รู้อย่างนี้แล้ว จะตีตราภาวะซึมเศร้าหลังคลอดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้ยังไงคะคุณผู้ชม
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย ยืมเงินแล้วไม่คืนสิ น่าอาย!
มาสังเกตตัวเองหรือคนที่คุณรักกันดีกว่าว่า มีอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบ้างไหม?
- เศร้า เสียใจ หมดหวัง เหมือนเพลงอกหักถาโถมเข้ามาใส่
- อารมณ์เสีย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด!
- วิตกกังวล หวาดกลัว
- นอนหลับผิดปกติ เช่น นอนแล้วนอนอีก หรือ นอนไม่หลับ
- ร้องไห้หนักมาก ร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล
- ไม่มีสมาธิ จดจำรายละเอียดไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้
- ไม่สนใจสิ่งที่ชอบแล้ว รู้สึกเหมือนคำว่า เบื่อ!! ใหญ่เท่าฝาบ้าน
- กินน้อยลง หรือ กินมากขึ้นอย่างผิดปกติ
- มีปัญหาสุขภาพอย่างไม่มีเหตุผล เดี๋ยวปวดตรงนี้ เดี๋ยวเจ็บตรงนั้น
- เก็บตัว ไม่ยอมเจอคนในครอบครัว อยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียว
- สร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูกไม่ได้
- เครียดหรือกังวลว่าจะเลี้ยงลูกไม่ได้อยู่บ่อย ๆ
- หลอน หรือ มีความคิดทำร้ายร่างกายตัวเองหรือลูกน้อย (อันนี้ซีเรียส)
Pynpy’ Tips อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ / อาการรุนแรงขึ้น / อาการส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้
การหมั่นสังเกตอาการเป็นประจำ ไม่ว่าเหล่าคุณแม่จะสังเกตอาการเองก็ดี หรือให้คนใกล้ตัวสังเกตด้วยก็ได้ จะทำให้เหล่าคุณแม่เตรียมรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ทัน เพราะหากอาการรุนแรงขึ้น อาจเกิดเป็นโรคซึมเศร้า หรือ โรคจิตหลังคลอดแบบไม่รู้ตัวได้ หากเริ่มเห็นความผิดปกติยังไงก็ลองปรึกษากัน คุยกัน ไปพบแพทย์กันน้าค้า นอกจากนี้ Pynpy’ ขอแนะนำ วิธีการป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้เหล่าคุณแม่ STRONG สุด ๆ กันไปเลย!
การป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่เหล่าคุณแม่ควรรู้!
- กินอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- Say No เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปก่อน
- ถามหมอก่อนจะใช้ยาหรือสมุนไพรทุกชนิด
- พักผ่อนระหว่างวัน งีบหลับบ้าง
- หากเคยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้ามาก่อนแล้ว ต้องแจ้งหมอทันที
อีกหนึ่ง item ที่จะช่วยเหล่าคุณแม่ลดความกังวลใจช่วงภาวะหลังคลอดก็คือ เสื้อผ้าที่ช่วยแบกรับกระบวนการการทำงานของร่างกายในช่วงหลังคลอดแทน รวมไปถึงกางเกงในด้วย งั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าว่า Pynpy’ มีอะไรจะมาแนะนำ…
ทำไมกางเกงในอนามัย Pynpy’ ถึงช่วยลดความกังวลให้กับเหล่าคุณแม่ได้?
เพราะนอกจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่เกิดขึ้นทางอารมณ์แล้ว ยังมีภาวะหลังคลอดทางร่างกายอีกที่ทำให้เหล่าคุณแม่กังวลใจ ไม่มั่นใจ และมีเวลาน้อยลง เพราะต้องคอยเปลี่ยนผ้าอนามัยช่วงที่มีปัสสาวะเล็ดและน้ำคาวปลา รวมถึง ประจำเดือนที่เดี๋ยวจะกลับมาอีกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แถมยังต้องเสี่ยงกับผื่นแพ้และเชื้อรา แปะ โปะ เปลี่ยน วนไปมันทำให้เสียอารมณ์ ไหนจะต้องให้นมลูก อีกบลา ๆ ๆ แบบนี้ ไม่เลิศแน่นอน บูด…!
กางเกงในอนามัย Pynpy’ จะทำให้เหล่าคุณแม่ไร้กังวลเรื่องระคายเคือง สวมใส่สบายตัวกับหุ่นหลังคลอด เพราะมีให้เลือกตั้ง 11 ไซซ์ ใส่ได้นาน 8-12 ชั่วโมงต่อหนึ่งครั้ง เพราะการดูดซับดีเลิศด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษผสมผสานกับเทคโนโลยี Anti-bacteria โดยรับประกันด้วยมาตรฐานสากล OEKO-TEX
เหล่าคุณแม่สามารถทำความสะอาดง่ายนิดเดียว โดยล้างผ่านน้ำหลังสวมใส่ และบิดหมาด ๆ แล้วนำไปซักเครื่อง หรือซักมือด้วยน้ำยาซักผ้าปกติได้เลย จากนั้น ตากกลางแดดให้แห้งสนิท ก็นำกลับมาใช้ใหม่ได้เลยค่ะ
กางเกงในอนามัย Pynpy’ จะช่วยเปลี่ยนเวลาที่ต้องกังวล ให้เป็นเวลาสำหรับลูกรักได้มากขึ้น แน่นอนว่าผ่านภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไปได้แล้ว ทุกคนก็จะเป็นคุณแม่ที่ STRONG และ มี STORY ช่วงภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาเล่าต่อให้เหล่าเพื่อน พี่ น้องได้ฟังในมิติต่าง ๆ ได้อีกเยอะ ไม่ต้องเก็บงำไว้หรอกค่ะ #พีเรียด!! ที่ไม่ได้แปลว่าเมนส์ แต่แปลว่า ตามนั้น!! เชิดค่ะ!!
เหล่าคุณแม่สามารถสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ ง่ายนิดเดียว และดูรีวิวผู้ใช้จริงก่อนได้ค่ะ หรืออยากได้เพื่อนให้คำปรึกษา มาคุยกับ Pynpy’ ได้ทุกช่องทาง Social Media ทั้ง Facebook, Twitter, Instagram, YouTube และ Line แล้วพบกันใหม่นะคะ #พีเรียด!!