fbpx

สิทธิลาปวดประจำเดือน เรื่องที่ควรเป็นเรื่องสักที

เอ๋…~ สิทธิลาปวดประจำเดือน มันเป็นเรื่องเดียวกันกับ สิทธิลาป่วย หรือเปล่าน้า?

ใครเคยตะหงิดใจกับเรื่องนี้บ้างคะว่า ‘ถ้าเกิดต้องใช้สิทธิลาป่วยเพราะปวดท้องเมนส์ในเดือนนี้ แล้วดันป่วยซ้ำ จะใช้โควต้าอะไรได้อีกหนอ’
หรือใครเคยสงสัยบ้างคะว่า ‘แค่เป็นเมนส์เอง ถึงกับต้องมีสิทธิลาปวดประจำเดือนแยกต่างหากออกมาอีกหรอ’

เจอ 2 ทีม กับ 2 ประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิลาปวดประจำเดือน แบบนี้ Pynpy’ คงต้องตีแผ่และถอดบทเรียนกันสักชุด โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจกับอาการปวดประจำเดือนกันก่อนเลยดีกว่าค่า

สิทธิลาปวดประจำเดือน

ความจริงของโลกแห่งการปวดประจำเดือน

การปวดประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของมดลูกในช่วงที่กำลังเป็นเมนส์ค่ะ ซึ่งแต่ละคนก็มีกรรมพันธุ์ สรีระ กล้ามเนื้อ ระดับฮอร์โมน และสุขภาพที่แตกต่างกัน ปัจจัยพวกนี้ก็เลยส่งผลให้มนุษย์เมนส์แต่ละคนมีความเจ็บปวดประจำเดือนไม่เท่ากันนั่นเองค่ะ เผลอ ๆ มนุษย์เมนส์สายรับความเจ็บปวดก็มีอิจฉามนุษย์เมนส์สายไร้ความรู้สึกกันบ้างแหละ เพราะใคร ๆ ก็อยากมีสุขภาพประจำเดือนที่ดีกันทั้งน้านนน

หนำซ้ำ… บางคนไม่ได้แค่ปวดท้องเท่านั้นนะคะ ยังสามารถมีอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว อ่อนเพลีย ไข้ทับระดู ฯลฯ ได้อีกด้วยค่ะ โอ้แม่เจ้า!!! สำหรับคนที่ไม่เคยสัมผัสกับอาการเหล่านี้ ก็อาจเห็นว่าเป็นเรื่องแปลกเกี่ยวกับเมนส์ แต่สำหรับบางคน… เรื่องพวกนี้กลับเป็น เรื่องทรหดอันแสนปกติ ในทุก ๆ เดือนซะงั้น

เมื่ออาการปวดที่รุนแรงจนกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ไร้ซึ่งสิทธิลาปวดประจำเดือน จนต้องเบียดเบียนสิทธิลาป่วยหรือลากิจโดยไม่มีทางเลือก ใช่ค่ะ “ไม่มีทางเลือก” คำนี้ฟังกี่ครั้งก็เจ็บใจ ว่าไหมคะ? แต่ก็ต้องยอมรับตรง ๆ ค่ะว่า ประเด็นนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาประจำเดือนของคนไทยที่มีมานานแล้ว

ในเมื่อคนเรา… มีสิทธิเลือกว่าจะท้องหรือไม่ท้อง ยังได้รับสิทธิลาคลอด แต่มนุษย์เมนส์ที่ ไม่มีสิทธิเลือกว่าจะมีเมนส์หรือไม่มีเมนส์ กลับไม่ได้รับสิทธิลาปวดประจำเดือน ดังนั้น ถ้าวันนี้แนวคิดสนับสนุนให้มีการกำหนดสิทธิลาปวดประจำเดือนจะถูกผลักดันขึ้นเรื่อย ๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ผลลัพธ์ที่ตามมาจะเป็นอย่างไร อันนี้ต่างหากค่ะที่น่าสนใจสุด ๆ

สิทธิลาปวดประจำเดือน กับ สิทธิลาป่วย

ถอดบทเรียนจากทั่วโลกกับ “สิทธิลาปวดประจำเดือน”

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่มีการบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิลาปวดประจำเดือนไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น การแจ้งลาเนื่องจากอาการปวดประจำเดือนจึงต้องใช้สิทธิลาป่วยทดแทนค่ะ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ลูกจ้างทุกคนสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปีน้าค้า

ฟังดูเหมือนทุกคนมีโควต้าลาเท่ากัน ก็เท่าเทียมกันดีใช่ไหมคะ แต่อีกมุมนึง… กฎหมายที่ประเทศไทยใช้กันอยู่นี้ ก็ยังไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างทางกายภาพระหว่างเพศ มันจึงเป็นเรื่องเท่าเทียมที่ไม่เสมอภาคอะเปล่าน้า เพราะถ้าถือว่าการลาปวดประจำเดือนเป็นการลาป่วยล่ะก็ จะทำให้ลูกจ้างหญิงมีวันลาป่วยน้อยกว่าลูกจ้างชายทันที ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศในที่ทำงานค่ะ

แต่ว่า… ทา ดา!!! ปัจจุบันในหลายประเทศมีการบัญญัติกฎหมายให้สิทธิลาปวดประจำเดือนด้วยน้าค้า ซึ่งมีเงื่อนไขและรายละเอียดแตกต่างกันออกไป เดี๋ยว Pynpy’ พาเพื่อน ๆ ไปส่องกันสักหน่อยดีกว่าาา~

สิทธิลาปวดประจำเดือนในหลายประเทศ

สิทธิลาปวดประจำเดือน ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

  • สเปน : ประเทศแรกในทวีปยุโรปที่กำหนดกฎหมายให้สิทธิลาปวดประจำเดือน (The Menstrual Leave Law) กับลูกจ้างหญิงเป็นระยะเวลา 3 วันต่อเดือน และยังสามารถขยายได้ถึง 5 วันต่อเดือนหากมีความจำเป็นจริง ๆ และลูกจ้างยังคงได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนตามปกติ
  • อินโดนีเซีย : มีกฎหมายอนุญาตให้ลาหยุดได้ในกรณีปวดท้องประจำเดือน ซึ่งสามารถลางานได้ใน 2 วันแรกที่เมนส์มา
  • เกาหลีใต้ : มีกฎหมายอนุญาตหยุดได้เดือนละ 1 วัน ซึ่งบางบริษัทก็จูงใจโดยนโยบายที่ว่า ถ้าพนักงานหญิงไม่ใช้สิทธิลานี้ล่ะก็ จะได้ค่าจ้างโบนัสในเดือนนั้น ๆ นั่นเอง
  • ไต้หวัน : มีการกำหนดกฎหมายอนุญาตให้ลูกจ้างหญิงสามารถหยุดงานได้เดือนละ 1 วัน โดยได้รับค่าจ้างครึ่งนึง และถ้าลาเกิน 3 วันต่อปี วันที่เกินมาจะถูกนับเป็นการใช้สิทธิลาป่วยแทน
  • ญี่ปุ่น : ในกฎหมายระบุว่า “นายจ้างไม่สามารถบังคับให้ผู้หญิงมาทำงานในวันที่เธอต้องเผชิญกับความลำบากจากประจำเดือน” จึงมีนโยบายให้สามารถลางานเพราะปวดท้องประจำเดือนได้ แต่จากผลสำรวจพบว่าบริษัทส่วนใหญ่จะไม่จ่ายค่าจ้างหากลางานเนื่องจากปวดท้องเมนส์ ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกที่จะลาด้วยการให้เหตุผลอื่น ๆ แทน
  • เวียดนาม : มีกฎหมายแรงงานที่ระบุเอาไว้ว่า ลูกจ้างที่มีประจำเดือนสามารถหยุดพักได้นาน 30 นาทีของทุกวันในวันนั้นของเดือน และมีสิทธิลาหยุดได้ 3 วัน แต่ถ้าไม่ใช่สิทธิวันลา ก็จะได้ค่าจ้างมากขึ้น
  • แซมเบีย : วันที่มีประจำเดือนของผู้หญิงถูกเรียกว่า วันแม่ หรือ Mother’s Day เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่านอกจากหน้าที่การงานแล้ว ยังมีหน้าที่แห่งการเป็นแม่ด้วย และให้สิทธิกับลูกจ้างผู้หญิงสามารถหยุดงานจากการมีประจำเดือนได้เป็นเวลา 1 วันต่อเดือน
สิทธิลาปวดประจำเดือนในไทย

เมนส์มา ถ้าลาได้ ประเทศไทยจะเป็นยังไง

ถ้าเอาข้อมูลจากด้านบน มาแกล้ง ๆ สมมติสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยดู เพื่อน ๆ จะมองเห็นข้อดีข้อเสียของสิทธิลาปวดประจำเดือนยังไงกันบ้างคะ ใครเห็นตรงหรือต่างกับ Pynpy’ บ้าง ลองดูต่อด้านล่าง แล้วทักมาบอกกันช่องทาง Social Media ของ Pynpy’ ที่ได้เลยน้าค้า

Pynpy' Tips

Social Media ของ Pynpy’ มีทั้ง Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, TikTok และ Line เลยน้าาาา~

ข้อดีของสิทธิลาปวดประจำเดือน

  • งานวิจัยมากมายที่แสดงผลว่า ปัญหาสุขภาพส่งผลให้ประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานลดลง ถ้าบริษัทมองเห็นว่าความยากลำบากของเมนส์ คือปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงต้องพบเจอในทุกเดือน และมีนโยบาย ‘Period Leave’ หรือการลาปวดประจำเดือนก็คงจะเป็นเรื่องที่ดี
  • การแยกสิทธิลาป่วยกับสิทธิลาปวดประจำเดือนออกจากกันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเท่าเทียมที่แท้จริง
  • สิทธิลาปวดประจำเดือนเป็นการ Normalize ให้เรื่องเมนส์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงโดยธรรมชาติ สามารถเปิดเผยเรื่องนี้ได้อย่างตรงไปตรงมา
  • หากนโยบายนี้สำเร็จ ยังเป็นแรงขับเคลื่อนนโยบานเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศอื่น ๆ ได้อีก เช่น กฎหมายสัญชาติ ที่ให้สิทธิเฉพาะหญิงต่างด้าวที่แต่งงานกับชายไทยเท่านั้น เป็นต้น
  • สิทธิลาปวดประจำเดือนจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ข้อดี ข้อเสีย สิทธิลาปวดประจำเดือน

ข้อเสียของสิทธิลาปวดประจำเดือน

  • เมื่อแบ่งแยกระหว่างลาป่วยกับลาปวดประจำเดือนออกจากกัน ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกเขินอายที่จะใช้สิทธิ
  • ผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งงานที่สูง อาจรู้สึกโดนเพ่งเล็งที่จะใช้สิทธิลาปวดประจำเดือน เพราะการแข่งขันชิงดีชิงเด่นภายในองค์กร
  • องค์กรอาจลดหรือเลี่ยงการรับลูกจ้างผู้หญิงเข้าทำงาน
  • ถ้าองค์กรมีนโยบายให้ลาได้ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ มนุษย์เมนส์ชาวไทยก็ต้องไปพบแพทย์ทุกครั้งเพื่อขอใบรับรองว่าปวดท้องเมนส์

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการถอดบทเรียนจากประเทศต่าง ๆ ที่เปิดให้ใช้สิทธิลาปวดประจำเดือนเท่านั้นน้าค้า ซึ่ง Pynpy’ ก็ยังเชื่อมั่นอยู่ว่า… สิทธิลาปวดประจำเดือน ที่แม้จะมีหรือไม่มีเงื่อนไขจูงใจให้ไม่ใช้สิทธิลา ก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าของสิทธิในเรื่องนี้น้อยลงเลย โดยเฉพาะกับมนุษย์เมนส์ที่ต้องพบความยากลำบากช่วงวันแดงเดือด และหวังพึ่งพาสิทธิลาปวดประจำเดือนอยู่

การก่อตั้งสิทธิลาปวดประจำเดือนขึ้นมา ไม่ใช่การลดทอนคุณค่าในตัวใคร ไม่มีใครเสียเปรียบกว่าใคร หรือตีตราว่าใครอ่อนแอกว่าใคร แต่สิทธินี้… จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับความหลากหลายของมนุษย์เมนส์ เพื่อไม่ปล่อยให้มนุษย์เมนส์คนไหน ต้องฝืนระทมมาทำงานหรือนั่งเรียน เพียงแค่อยากอยู่ในระเบียบ

สิทธิลาปวดประจำเดือน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รูปภาพ : องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแพร่เรื่อง การกำหนดให้มีวันลาหยุดสำหรับผู้มีประจำเดือน ว่า

“มธ. คำนึงสิทธิของทุกคน อนุมัติให้มีการลาหยุดสำหรับนักศึกษาที่เป็นประจำเดือนโดยไม่กระทบกับการจัดการเรียนการสอน”
ฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิจารณาถึงความสำคัญของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากภาวะการเป็นประจำเดือน จึงขอความร่วมมือ คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย แจ้งอาจารย์ผู้สอนพิจารณาอนุญาตให้นักศึกษาที่เป็นประจำเดือนสามารถลาหยุดได้ โดยไม่กระทบกับการเรียนการสอน

แหมมม~ ข่าวดีขนาดนี้ ไม่ต้องเงียบไว้แล้วค่า ปรบมือรัว ๆ จัดไปค่ะ 1 ชุด 12 123 12 12 1!!! แต่นอกจากข่าวดีที่ Pynpy’ เอามาฝากแล้ว ยังมีไอเทมดี ๆ มาฝากด้วยนะค้า บอกเลยว่า ปังไม่แพ้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แน่นอนจ้า

คุณสมบัติของ pynpy

แม้สิทธิลาปวดประจำเดือนยังไม่ชัดเจน แต่สิทธิความสบายอยู่นี่แล้วจ้า

ถ้าไปทำงานหรือไปเรียนในวันแดงเดือดโดยที่รู้ว่ามีสิทธิลาปวดประจำเดือน ก็คงจะสบายใจ แต่ถ้าอยากสบายตัว ไม่ต้องมีสิทธิ์อะไรค่ะ แค่มี… กางเกงในอนามัย Pynpy’ เท่านั้นเลย กางเกงในที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย ใส่สบาย ไม่ระคายเคือง รองรับของเหลวได้ทุกประเภทยาว ๆ 8-12 ชั่วโมงเลยทีเดียว

pynpy

ด้วยพลังของนวัตกรรมสิ่งทอและเทคโนโลยี Anti-bacteria ด้วยมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 จากสถาบันทดสอบสิ่งทอจากยุโรป และผ่านการทดสอบทางวิทยาศาตร์เป็นมาตรฐานระดับโลก ปลอดภัย แถมทำความสะอาดง่าย ก็แค่ล้าง-ซัก-ตาก เท่านี้เองจ้า ถ้าไม่เชื่อ กดดูรีวิวตรงนี้โลด!!

pynpy

เลือกเลย! มีตั้ง 11 ไซซ์กับอีก 3 รุ่นเชียวน้า สั่งซื้อทางออนไลน์ก็ได้ ซื้อตามห้างชั้นนำทั่วประเทศไทยก็ได้ และถึงแม้ว่าสรุปสุดท้ายในอนาคต สิทธิลาปวดประจำเดือนจะมีผลลัพธ์เป็นยังไง Pynpy’ ก็ยังเชื่ออยู่ดีค่ะว่า มนุษย์เมนส์ยังคงเป็นมนุษย์ที่แข็งแกร่งเช่นเคยค่า เธอเก่งมากนะซิส! แล้วพบกันอีกครั้งที่นี่ที่เดิม สวัสดีค่า <3

Pynpy'