ทุกครั้งที่ไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อน ๆ จะถูกซักประวัติก่อนเสมอ ไม่ว่าจะถามถึงประจำเดือนครั้งล่าสุด อาการ ปวดท้องเมนส์ ประสบการณ์ตั้งครรภ์และแท้ง คลอดบุตรวิธีไหน เคยผ่าตัดไหม แพ้ยาหรือไม่ โรคประจำตัวล่ะ แล้วยาที่กินประจำมีอะไรบ้าง และคำถามอีกมากมายที่สูตินรีแพทย์จะต้องถามผู้มารับการตรวจเสมอ


แต่จะปล่อยให้ถูกถามอย่างเดียวได้ไงคะ ถามมา ถามกลับ ไม่โกงงง!!! หยอก ๆ ล้อเล่นค่ะ Pynpy’ แค่อยากทำให้เพื่อน ๆ รู้สึกสบาย ๆ เวลาต้องไปพบสูตินรีแพทย์ หากมีคำถาม ก็ถามได้เลย อย่าเก็บงำมาสงสัยอีกต่อไป แถมนาน ๆ ทีจะได้พบสูตินรีแพทย์ เพื่อน ๆ เตรียมคำถามไว้เลยก็ดีนะคะ
แล้วคำถามแบบไหนที่จะครอบคลุมและมีประโยชน์กันนะ? ยิ่งเพื่อน ๆ คนที่จะไปพบสูตินรีแพทย์เป็นครั้งแรกคงยิ่งสงสัย ว่าควรถามอะไรสูตินรีแพทย์ดีล่ะ? นี่เลย!! คู่มือคู่ใจคู่ซี้คู่หูของ Pynpy’ ที่มีชื่อว่า “คู่มือเตรียมคำถาม เอาไว้ถามสูตินรีแพทย์” จะมาเป็นตัวช่วยของทุกคนเอง คู่มือเล่มนี้จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 หมวดค่ะ ได้แก่…
หมวดที่ 1 : ถามสูตินรีแพทย์เรื่องอาการที่กังวลเกี่ยวกับสุขภาพช่องคลอดหรือประจำเดือน
ก่อนที่จะได้พบสูตินรีแพทย์ เพื่อน ๆ อาจได้ประสบพบเจอกับเรื่องที่ชวนกังวลหรือสงสัยมาบ้างแล้ว เช่น เพื่อน ๆ รู้สึกถึงอาการหรือร่างกายที่ผิดปกติ สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของอาการหรือร่างกาย ถ้าเพื่อน ๆ ใช้แอปติดตามสุขภาพ หรือจดบันทึกไดอารี่ไว้ จะยิ่งช่วยให้นึกคำถามที่เอาไว้ถามสูตินรีแพทย์ได้ดียิ่งขึ้นนะคะ ยกตัวอย่างเช่น
- มีเลือดออกกะปริดกะปรอย
- สีของเลือดประจำเดือนดูแปลกตา
- น้องจิ๋มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
- รอบเดือนมาคลาดเคลื่อน
- ปริมาณของเลือดประจำเดือนไม่ปกติ เช่น น้อยผิดปกติ มากผิดปกติ
- ตกขาวผิดปกติ
- ลิ่มเลือดผิดปติ
- มีอาการปัสสาวะเล็ด กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง หรือปัสสาวะถี่ ๆ
- มีอาการคันยุบยิบ หรือมีผื่นขึ้นที่บริเวณน้องจิ๋ม
- อาการ PMS
- หน้าตาของน้องจิ๋มดูแปลกไป
- รู้สึกเจ็บตอนที่มีเพศสัมพันธ์


หมวดที่ 2 : ถามสูตินรีแพทย์เรื่องกิจวัตรประจำวันที่ทำให้สุขภาพช่องคลอดหรือประจำเดือนดีขึ้น
ในทุก ๆ วันที่เพื่อน ๆ ดูแลและทำความสะอาดให้น้องจิ๋ม เพื่อน ๆ อาจมีข้อสงสัยว่ากิจวัตรที่ทำอยู่ประจำส่งผลกระทบอะไรให้ช่องคลอดหรือประจำเดือนไหม และจะมีคำแนะนำดี ๆ ใหม่ ๆ จากสูตินรีแพทย์บ้างหรือเปล่านะ ควรปรับหรือเปลี่ยนกิจวัตรอะไรเพื่อให้สุขภาพช่องคลอดหรือประจำเดือนดีขึ้นบ้างไหมน้า ยกตัวอย่างเช่น
- ยาที่ใช้อยู่มีผลต่อสุขภาพช่องคลอดหรือประจำเดือนไหม
- ยาแก้ปวดที่เหมาะกับตัวเองสำหรับใช้เมื่อปวดท้องเมนส์
- วิธีทำความสะอาดที่เหมาะกับตัวเอง เช่น ที่บ้านเป็นห้องน้ำที่ไม่มีสายฉีดก้น เป็นห้องน้ำที่ใช้ขันตักราด
- คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ประจำ เช่น น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้น อาการแพ้ผ้าอนามัย อาการแพ้ถุงยางอนามัย
- คำศัพท์หรือชื่อเรียกต่าง ๆ ที่เคยได้ยิน แต่กลัวเข้าใจความหมายผิด
Pynpy’ Tips สำหรับเพื่อน ๆ ที่เป็น Transgender ทุกคน ก็ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำเช่นกันนะคะ โดยเฉพาะคนที่ยังมีปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และคนที่ได้รับการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอดหรือแปลงเพศ


หมวดที่ 3 : ถามสูตินรีแพทย์เรื่องวางแผนไว้สำหรับอนาคต
สำหรับอนาคตที่เพื่อน ๆ วางแผนไว้ เช่น การมีลูกคนแรก การมีลูกคนต่อไป การคุมกำเนิด การทำหมัน ก็สามารถถามสูตินรีแพทย์ในครั้งนั้นที่เจอกันได้เลยค่ะ เพื่อจะได้ทราบแนวทางการเริ่มต้น การเตรียมความพร้อม และวิธีแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น
- การตรวจอื่น ๆ ที่สูตินรีแพทย์แนะนำว่าเหมาะกับตัวเอง เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในวิธีต่าง ๆ การตรวจฮอร์โมน การตรวจหาภาวะ PCOS
- วิธีการคุมกำเนิดที่สูตินรีแพทย์แนะนำว่าเหมาะกับไลฟ์สไตล์หรือสุขภาพตัวเอง เช่น การฉีดยาคุม
- วัคซีนต่าง ๆ ที่สูตินรีแพทย์แนะนำว่าเหมาะกับสุขภาพหรือประวัติทางการแพทย์ของตัวเอง เช่น วัคซีน HPV (วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก)
- วิธีการทำหมันแบบต่าง ๆ
- ควรกำหนดการตรวจครั้งต่อไปเมื่อไหร่
- ความพร้อมของสุขภาพร่างกายที่จะตั้งครรภ์
- ยาที่ใช้อยู่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตไหม
- การเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด หรือ ต้องการหยุดการคุมกำเนิด


คุณแพร จากช่อง RAKHANG ได้ทำรีวิวการตรวจภายในครั้งแรก รวมถึงตรวจมะเร็งปากหมดลูกในครั้งเดียวกันเลย และเมื่อได้เจอสูตินรีแพทย์ ก็ได้ปรึกษากับแพทย์เรื่องวิธีการคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ และคุณแพรได้เลือกวิธี ฉีดยาคุม ตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง
สิ่งที่คิด : ตื่นเต้น กลัวเจ็บ
ความจริง : ไม่เจ็บ แป๊บเดียวเสร็จ
“มันเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนเสี่ยงกับมะเร็งปากมดลูก อันตรายที่สุดเลย”
ถึง Pynpy’ จะไม่ใช่สูตินรีแพทย์ แต่เทคแคร์น้องจิ๋มได้ดีเหมือนกัน
Pynpy’ เองก็อยากจะบอกทุกคนเหมือนกันว่า เราดูแลน้องจิ๋มได้ไม่แพ้สูตินรีแพทย์เลยน้า เพราะ Pynpy’ คือ กางเกงในอนามัย นวัตกรรมใหม่ ที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย ไม่อับชื้น ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง เพราะเรามีเทคโนโลยี Anti-Bacteria มาตรฐาน OEKO-TEX ระดับสากล คอยดูแลสุขอนามัยช่องคลอด ลดการสะสมของเชื้อโรค
คุณสมบัติดีเยี่ยมเหมาะกับทุกจิ๋ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกไลฟ์สไตล์ ดูดซับประจำเดือนและของเหลวได้ขั้นสุด ไม่มีปล่อยให้เลอะ แม้จะเยอะ ก็ไม่ไหลย้อนกลับ ใส่ได้นาน 8 – 12 ชั่วโมง ยาว ๆ กันไป แถมมีให้เลือกตั้ง 11 ไซซ์ ตั้งแต่ 3XS – 5XL ไม่ว่าจะประจำเดือนหรือของเหลวอะไร ก็ทำความสะอาดงานใน 3 ขั้นตอน ล้าง-ซัก-ตาก


Pynpy' Tips ตอนที่เพื่อน ๆ ล้างกางเกงในอนามัย Pynpy' หลังใช้ เพื่อน ๆ จะสามารถเห็นสีของเลือดประจำเดือนได้ด้วยนะคะ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการตรวจสุขภาพช่องคลอดและรอบเดือน แล้วอย่าลืมจดไว้หากพบสิ่งผิดปกติเพื่อเอาไปปรึกษาสูตินรีแพทย์กันน้าค้า
Pynpy’ สนับสนุนให้เพื่อน ๆ ทุกคนใส่ใจในเรื่องการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนใกล้ชิดนะคะ เพราะการป้องกันและแก้ไขแต่เนิ่น ๆ ย่อมดีกว่าการรักษาเมื่อมีอาการมาก ๆ แล้ว และที่สำคัญ!! Pynpy’ สนับสนุนให้ทุกคนใส่ใจขยะ มลภาวะ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ
เพราะ Pynpy’ แคร์และอยากให้จิ๋มและโลกใบนี้สุขภาพดีตลอดไป ใช้ Pynpy’ ไม่เพิ่มขยะให้โลก แถมยังลดโรคให้น้องจิ๋มอีกต่างหาก อยากรู้ต้องลอง!! กดสั่งซื้อ กดดูรีวิวผู้ใช้จริง และกดติดต่อ Pynpy’ กันได้ทุกช่องทางเลยค่ะ เรามีทั้ง Facebook, Twitter, Instagram, YouTube และ Line แล้วอีกไม่นานจะได้พบกันใหม่ สวัสดีค่า <3