fbpx

“มะเร็งปากมดลูก” ภัยร้ายใกล้ตัวที่ควรระวัง

Pynpy’ คนดีคนเดิมกลับมาอีกแล้วค่าา! มีใครคิดถึง Pynpy’ กันบ้างมั้ยเอ่ยย? แน่นอนว่า Pynpy’ กลับมาเนี่ยก็ต้องไม่ได้กลับมาตัวเปล่าอย่างแน่นอนค่ะ เพราะในวันนี้ Pynpy’ มีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก” มาฝากทุกคนด้วยนะคะ เพราะเชื่อหรือไม่คะ ว่ามะเร็งปากมดลูกเนี่ยเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรากว่าที่เราคิดมากเลยล่ะค่ะ!

female reproductive system view

Every year, more than 300,000 women die from Cervical cancer

World Health Organization (WHO)

“ทุกๆ ปี มีหญิงสาวกว่า 300,000 คนที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก” นี่คือข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ค่ะ และข้อมูลนี้ก็โชว์ให้เราเห็นว่าในทุกๆ ปีมีคนที่ต้องจากไปด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกมากขนาดไหน ตัวเลข 300,000 นี่ก็ไม่ใช่น้อยๆ เลยนะคะ แถมยังเป็นตัวเลขผู้เสียชีวิต “ต่อปี” อีกต่างหาก บรื๋อ~ นี่แหละค่ะ สาเหตุว่าทำไมวันนี้ Pynpy’ ถึงอยากนำเรื่องราวของโรคนี้มาบอกเล่าให้กับเหล่ามนุษย์เมนส์ได้ฟังกัน

ทำความรู้จักกับ “มะเร็งปากมดลูก”

โรคมะเร็งปากมดลูกนั้นส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 30-55 ปีค่ะ โดยจากสถิติพบว่า เพศหญิงประมาณร้อยละ 80 นั้นติดเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมาในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ก่อนที่ไวรัสตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปีในการเปลี่ยนเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูกแบบเต็มรูปแบบค่ะ

front-view-woman-holding-reproductive-system

แต่มะเร็งมดลูกเนี่ยเกิดจากอะไรกันล่ะ? มาค่าา Pynpy’ จะอธิบายให้ฟัง!

สาเหตุของการมาเยือนของ “มะเร็งปากมดลูก”

“มะเร็งปากมดลูก” นั้นก็คือโรคที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกที่อยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอดค่ะ โดยโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เนี่ยมักจะเกิดจากไวรัสชนิดที่มีชื่อว่าฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือก็คือเชื้อ HPV ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั่นเองค่ะ เพราะเมื่อร่างกายของเราได้รับเชื้อนี้เป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะพยายามปกป้องร่างกายจากการบุกรุกของเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย แต่บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันของเราก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้เชื้อ HPV ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเกิดความผิดปกติและนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุดค่ะ

Woman's womb

ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเนี่ยก็ไม่ได้แค่เป็นแล้วก็จบนะคะ เพราะมะเร็งปากมดลูกนั้นแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกันค่ะ ซึ่งการรักษาในแต่ละระยะนั้นก็แตกต่างกันออกไป ยิ่งเมื่อเข้าสู่ระยะหลังๆ แล้วเนี่ยก็ยิ่งรักษายากเข้าไปอีกค่ะ เพราะฉะนั้น เรามารู้จักกันก่อนดีกว่าค่ะว่าทั้ง 4 ระยะเนี่ยมีอะไรกันบ้าง

ระยะต่างๆ ของโรคมะเร็งปากมดลูก

คุณหมอได้แบ่งความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูกออกเป็นระยะตามขนาดของมะเร็งและระยะการแพร่กระจายของโรคค่ะ ซึ่งเราจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอก่อนนะคะ จะจินตนาการไปเองไม่ได้เด็ดขาดดด! และนี่! คือทั้ง 4 ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูกค่ะ

  • ระยะที่ 1 – มะเร็งยังอยู่ที่ปากมดลูก ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังจุดอื่นๆ นอกเหนือจากปากมดลูก
  • ระยะที่ 2 – มะเร็งเริ่มลามจากปากมดลูกไปยังด้านข้าง
  • ระยะที่ 3 – มะเร็งลามไปจนถึงบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ระยะที่ 4 – ระยะสุดท้ายที่มะเร็งได้ลามไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้วเรียบร้อย เช่นกระเพาะปัสสาวะและทวารหนัก

แต่ๆๆ อย่าเพิ่งตกอกตกใจกันไปค่ะ! Pynpy’ อยากให้ทุกคนเริ่มสังเกตตัวเองกันก่อนนะคะ เพราะเจ้าโรคนี้เนี่ยเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากๆ แต่หากหลายๆ คนสงสัยว่า อ้าว แล้วฉันจะสังเกตยังไงล่ะ? Pynpy’ ก็เตรียมวิธีการสังเกตตัวเองง่ายๆ มาให้แล้วค่ะ

อาการแบบนี้ เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วหรือยังนะ!?

อย่างแรกเลยที่ Pynpy’ อยากจะขอขีดเส้นใต้ว่านี่คือข้อแรกที่ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นนั่นก็คือ การมีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ นั่นเองค่ะ! หากใครที่เข้าข่ายนี้ Pynpy’ อยากขอให้ทุกคนรีบสำรวจตัวเองตามอาการถัดไปโดยด่วนเลยนะคะ เพราะเชื้อ HPV ที่เป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังไงล่ะคะ! มาค่ะ มาสังเกตอาการของตัวเองกันเลยดีกว่า

Hurting womb

หากใครที่มีอาการตามที่ Pynpy’ ได้ร่ายมาข้างบนก็อย่าเพิ่งตกใจนะคะ หรือถ้าใครที่ไม่มีอาการเลยก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจเช่นกันค่ะ เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันล่วงหน้าได้ค่ะ เพราะฉะนั้น เรามาดูวิธี “ตรวจและเตรียมพร้อม” รับมือกับเจ้าโรคนี้กันดีกว่าค่ะ

“ตรวจและเตรียมพร้อม” รับมือกับมะเร็งปากมดลูก

อย่างแรกเลยที่ Pynpy’ คิดว่าเราทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ เลยนั่นก็คือ การหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ลดการสูบบุหรี่ ตรวจภายในประจำปี ซึ่งนอกจากเรื่องที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้อีกหนึ่งอย่างก็คือ การรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ค่ะ เพราะวัคซีนตัวนี้นั้นสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกไม่ให้เกิดขึ้นได้ รวมไปถึงการป้องกันการเกิดมะเร็งปากช่องคลอด ช่องคลอด ทวารหนักและมะเร็งช่องปากได้อีกด้วยนะคะ

cartoon-ovary-with-peach-background

แต่ใดๆ สิ่งที่เราควรทำเป็นอย่างแรกไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั่นก็คือการดูแลความสะอาดของน้องสาวเราค่ะ เพราะ Pynpy’ เชื่อว่า หากน้องสาวของเรามีสุขอนามัยที่ดี นั่นก็เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเราอีกชั้นหนึ่งนั่นเองค่ะ และเมื่อพูดถึงเรื่องสุขอนามัยของน้องสาว แน่นอนว่ากางเกงในที่เหล่ามนุษย์เมนส์จะเลือกใช้นั่นก็สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นเลยค่ะ!

กางเกงในอนามัย Pynpy’ ส่วนหนึ่งของการเตรียมพร้อมที่เริ่ดที่สุด!

ไม่ว่าจะมะเร็งปากมดลูกจะอยากมาเยือนเราแค่ไหน แต่หากเราดูแลสุขอนามัยบริเวณน้องสาวเราเป็นอย่างดีก็เหมือนเป็นการเพิ่มเกราะป้องกันให้กับน้องสาวของเราอีกชั้นหนึ่งค่ะ! Pynpy’ เลยจะขอแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับกางเกงในอนามัย Pynpy’ นวัตกรรมสิ่งทอที่พร้อมป้องกันการซึมเปื้อนของตกขาวหรือประจำเดือนได้อย่างเต็มที่!

Pynpy' period underwear

กางเกงในอนามัย Pynpy’ เนี่ยนอกจากจะดูดซับได้อย่างรวดเร็ว ซึมซับและกักเก็บของเหลวได้ดีแล้ว เจ้ากางเกงในตัวนี้ยังสามารถซักและนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วยนะคะ แถมไซส์ที่เขามีก็ยังครอบคลุมสรีระของร่างกายเหล่ามนุษย์เมนส์ได้ทุกรูปแบบอีกต่างหาก เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ นั้นมีถึง 11 ไซส์ด้วยกัน แถมยังมีให้เหล่ามนุษย์เมนส์เลือกสั่งซื้อกันถึง 2 แบบ คุณสมบัติครอบจักรวาลไปเลยสิคะ!

Pynpy'

แทนที่จะเลือกใช้ผ้าอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งที่เมื่อใช้เสร็จ เหล่ามนุษย์เมนส์อาจจะเผลอโยนทิ้งกันโดยยังไม่ทันได้สังเกตตกขาวของตัวเองหรือสีของเลือด แถมยังเป็นการเพิ่มขยะให้โลกอีกต่างหาก Pynpy’ ขอแนะนำกางเกงในอนามัย Pynpy’ ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของทุกคนนะคะ เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ เนี่ยสามารถใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย ลดขยะ แถมเหล่ามนุษย์เมนส์ยังมีโอกาสได้สังเกตอาการผิดปกติบริเวณน้องสาวของตัวเองอีกต่างหาก เราจะได้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างทันท่วงทียังไงล่ะคะ

Model wearing Pynpy's panties while holding Pynpy's box

ก่อนจากกันในวันนี้ เหล่ามนุษย์เมนส์ทั้งหลายอย่าลืมไปติดตาม Pynpy’ ในช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube, Twitter, Instagram หรือ Line และอย่าลืมหมั่นสังเกตอาการของตัวเองกันด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจาก Pynpy’ เพื่อนซี้ของทุกคนเองค่า 😀