fbpx

ย้อนเวลาส่อง ผลิตภัณฑ์ประจำเดือนในอดีต ที่คุณอาจไม่รู้จัก!

ทุกคนรู้ไหมคะว่า การรับมือกับวันแดงเดือดสมัยก่อนไม่ง่ายดายเหมือนปัจจุบัน กว่าพวกเราจะมีผลิตภัณฑ์ประจำเดือนที่แสนสะดวก และ หลากหลายขนาดนี้ มนุษย์เมนส์ในอดีตต้องลองผิดลองถูกกับทรัพยากร และ เทคโนโลยีที่มีจำกัดมาเป็นเวลานานเป็นพันๆ ปีเลยก็ว่าได้

ฮั่นแน่… เพื่อนๆ อยากรู้ไหมคะว่ามนุษย์เมนส์จัดการกับช่วงนั้นของเดือนยังไงในอดีต? ถ้าอยากรู้ ก็อย่ารอช้าค่ะ! ไทม์แมชชีนของ Pynpy’ พร้อมที่จะพาเพื่อนๆ ไปส่อง ผลิตภัณฑ์ประจำเดือน ในแต่ละยุคสมัยแล้ว ไปกันเลย!

3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ศตวรรษที่ 5 | วัสดุธรรมชาติ ก้าวแรกของมนุษย์เมนส์

สมัยก่อนผู้คนรับมือกับน้องเมนส์ โดยใช้วัสดุธรรมชาติต่างๆ เช่น เศษผ้า ขนสัตว์ ฟองน้ำธรรมชาติ และตะไคร่น้ำ เป็นเวลาหลายพันปีทั่วมุมโลก จากบันทึกของ ฮิปโปเครติส หรือ บิดาแห่งการแพทย์ พบว่ามนุษย์เมนส์ชาวกรีกโบราณใช้ขนสัตว์ที่ซึมซับของเหลวได้ดีพันรอบไม้ชิ้นเล็กๆ แทนผ้าอนามัยแบบสอด

ชาวอียิปต์โบราณเองก็มีวิธีที่คล้ายกันค่ะ แต่พวกเขาใช้เส้นใยปาปิรุสแทนขนสัตว์ ถึงแม้ว่าจะดูดซับของเหลวได้ไม่ค่อยดีก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าการละเลงเลือดน้องเมนส์ไปทั่วหน้าอก จะช่วยรักษาหน้าอกที่หย่อนยานได้อีกด้วย เอ๊ะ! จะว่าไป คนยุคนี้ก็ไม่ได้มีอคติกับประจำเดือนเท่าไหร่แฮะ กลับมองว่าน้องมีประโยชน์ซะอีก

1800s – 1900 | ยุคนี้ความสะอาดต้องยืนหนึ่ง แต่ขาดความสบาย

โดยปกติแล้ว มนุษย์เมนส์ในยุคนี้จะทำผ้าประจำเดือนแบบโฮมเมดใช้เอง สาวก D.I.Y อาจจะถูกใจกัน แต่เมื่อเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับแบคทีเรียที่อาจมาจากการทำความสะอาดที่ไม่ดี ผู้คนถึงให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยสำหรับอุปกรณ์รับมือวันแดงเดือดมากขึ้น และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นในที่สุด! หนึ่งในนั้นก็คือ Rubber Bloomers หรือ กางเกงชั้นในที่ทำจากยาง นั่นเอง แต่น้องมีน้ำหนักและกลิ่นแรง ทำให้ผู้ใส่รู้สึกเทอะทะ ไม่ค่อยสบายมากนัก

ต่อมา จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก็ผลิต Lister’s Towel: Sanitary Towel’s for Ladies (ผ้าอนามัยสำหรับสุภาพสตรี) ขึ้น ชิ้นนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เลย ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกมากๆ แต่ดันขายไม่ค่อยออกเนี่ยสิคะ เนื่องจากเมื่อก่อนประจำเดือนเป็นเรื่องต้องห้าม พูดถึงไม่ได้เลยนะพี่จี้! คำโฆษณาที่ต่อท้ายชื่อแบรนด์จึงทำให้คนไม่กล้าซื้อสักเท่าไหร่ น่าเสียดายจริงๆ

1900s | สู่ยุคแห่งความหลากหลาย สะดวกสบายตามใจทุกๆ คน

ในปี 1910 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พยาบาลสังเกตว่า Cellucotton ที่ใช้ในการพันแผลซึมซับเลือดได้อย่างดี  จึงกลับบ้านไปบอกสามีเกี่ยวกับวัสดุสุดปังชิ้นนี้ และเกิดผ้าอนามัย Kotex ในที่สุด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อนามัยเชิงพาณิชย์ชิ้นแรกที่วางขายในปี 1920! ไม่น่าเชื่อเลยว่าเพื่อนซี้ในแต่ละเดือนของเราจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัสดุที่ใช้พันแผล

10 ปีต่อมา ลีโอนา ชัลเมอรส์ ก็คิดค้นถ้วยอนามัยขึ้น ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่หลายคนไม่ค่อยอยากจะจับอะไรที่เปียกปอนไปด้วยเลือดสักเท่าไหร่ น้องจึงไม่ประสบความสำเร็จในยุคนี้ ถึงแม้ว่าจะทำหน้าที่ตัวเองได้ที่ดีมากๆ เลยก็ตาม แอบเสียใจแทนลีโอนาเหมือนกันนะเนี่ย!

หลังจากรับรู้ถึงปัญหาอี๋เลือด เอิร์ล ฮาสส์ จึงทำผ้าอนามัยแบบสอดจากกระดาษลังและฝ้ายที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ช่วยสอด แค่นี้ก็สามารถสอดน้องเข้าไปโดยไม่ต้องสัมผัสอะไรเลย! นอกจากนี้ยังช่วยให้ทุกคนทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกขึ้น เช่น การว่ายน้ำ อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสมัยนี้ยังมีความเชื่อว่าการสอดใส่อะไรเข้าไปในร่างกาย จะทำให้เสียพรหมจรรย์ ลูกค้าผ้าอนามัยแบบสอดส่วนใหญ่จึงเป็นคนที่แต่งงานแล้วค่ะ

‘ถ้วยก็ไม่ชอบ แบบสอดก็ไม่ได้ แล้วแบบไหนถึงจะพอใจ?’

จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ผู้ไม่ยอมแพ้ กลับมาในวงการผลิตภัณฑ์ประจำเดือนอีกครั้ง โดยเริ่มขายผ้าอนามัยแบบมีแถบกาวที่มีชื่อว่า Stayfree ในปี 1969 ซึ่งสร้างความประหลาดใจกับผู้คนเป็นอย่างมาก เพราะผ้าอนามัยติดอยู่กับกางเกงใน และไม่เคลื่อนที่ โดยไม่ต้องมีตัวช่วยอื่นๆ แถมยังออกรุ่น Maxi Pads สำหรับวันมามากอีกด้วย คุณสมบัติน้องซื้อใจมนุษย์เมนส์สุดๆ ทางเลือกอื่นๆ จึงต้องพ่ายแพ้ทางความนิยมไปในที่สุด

2000s | ทศวรรษนี้ต้องปันใจให้น้อง ถ้วยอนามัย

Y2K ถือว่าเป็นยุคทองของถ้วยอนามัยเลยก็ว่าได้ เพราะสังคมหันมาตระหนักถึงสภาพแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉลี่ย มนุษย์เราจะมีประจำเดือนเป็นระยะเวลา 40 ปี ซึ่งต้องใช้ผ้าอนามัยประมาณ 12,000 – 14,400 แผ่น เห็นไหมคะ คนๆ หนึ่งสามารถสร้างกองขยะได้หลายกองเลย

ถ้วยอนามัยจึงเป็นผลิตภัณฑ์ประจำเดือนที่ตอบโจทย์สายรักษ์โลกในสมัยนี้ที่สุด แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่ลังเลในการเปลี่ยนไปใช้ถ้วยอนามัยอยู่ดี เพราะไม่รู้วิธีใส่ที่ถูกต้อง หรือ กลัวเจ็บ

‘แล้วจะใช้อะไรดีน้า ที่สะดวกและเป็นมิตรต่อโลก…’

ไม่ต้องห่วงค่ะทุกคน ยังมีทางเลือกสำหรับสายรักษ์โลกอีกชิ้นในอนาคต! อยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะ? ไปกันต่อเลยดีกว่า!

2021 | เปิดตัว กางเกงในอนามัย Pynpy’ เพื่อนซี้คนใหม่ของมนุษย์เมนส์!

ในที่สุด เราก็เดินทางมาถึงปี 2021! จุดพลุกันหน่อย เพราะเป็นปีที่สำคัญของประวัติศาสตร์ผลิตภัณฑ์ประจำเดือนเลยก็ว่าได้ เนื่องจากทุกคนล้วนประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประจำเดือนมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นแพ้ผ้าอนามัย หรือไม่สบายตัว ผลิตภัณฑ์น้องใหม่จึงถูกเปิดตัวขึ้นในปีนี้เพื่อทุกคน!

กางเกงในอนามัย Pynpy’ นวัตกรรมสุดล้ำที่ สามารถใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย! ถึงแม้น้องจะให้ความรู้สึกเบาบาง ราวกับใส่กางเกงในทั่วไป แต่ก็ดูดซับของเหลวได้อย่างดี จนทำให้ลืมความอึดอัด และ ความไม่สบายตัวของการมีประจำเดือนไปเลยล่ะ เพียงแค่ใส่ Pynpy’ ก็ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เพราะสามารถใส่ได้นานถึง 8 – 12 ชั่วโมง ไม่ต้องคอยกังวลว่าต้องหยุดความสนุก เพื่อเปลี่ยนผ้าอนามัยอีกต่อไป โอ๊ยย นี่มันสวรรค์ของมนุษย์เมนส์ชัดๆ

ยังไม่หมดแค่นั้น! น้องมาพร้อมกับเทคโนโลยี Anti-bacteria ซึ่งร่วมพัฒนากับทีมวิศวกรสิ่งทอ และสูตินารีแพทย์ในไทยและต่างประเทศ ขอบอกเลยว่า ใส่นานแค่ไหน ก็ไร้กังวล เพราะยังไงก็อ่อนโยนและปลอดภัยต่อน้องจิมิสุดอ่อนโยนของพวกเรา

นอกจากนี้ น้องยังเป็นมิตรต่อโลก ช่วยปริมาณลดขยะด้วยคุณสมบัตินำมาใช้ซ้ำได้ แถมวิธีดูแลก็ง๊ายง่าย ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องสัมผัสเลือด เพราะแค่ล้างผ่านน้ำ เลือดก็ไหลออกเองแล้วค่ะ! นี่มันผลิตภัณฑ์ประจำเดือนจากโลกอนาคตหรือเปล่านะ?! กางเกงในอนามัยสุดปังชิ้นนี้มีอยู่จริง วางจำหน่ายพร้อมให้เพื่อนๆเป็นเจ้าของและรับความสบายกันแล้ว ที่นี่

ถ้าสนใจในตัวน้อง สามารถอ่านรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ ที่นี่ และถ้าถูกใจยังไง ก็รีบมาจับจองน้องไปใช้กันนะคะ พวกเราพร้อมที่จะดูแลทุกคนในช่วงนั้นของเดือนแล้ว💜

จบทริปย้อนอดีตแล้ว ไปต่อกันที่ Twitter Space!

หลังจากทราบประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ประจำเดือนแล้ว หลายคนก็คงกำลังมโน ครุ่นคิดเกี่ยวกับชีวิตในอดีต ‘เอ๋… ถ้าเราโตมาในสมัยนั้น จะใช้อะไรดีนะ’ ออเจ้าจะไม่ต้องนั่งคิดไปคนเดียวแล้วค่ะ เพราะ Pynpy’ และ เรื่องราวของจิ๋ม (@viva_vagine) จะมาเล่าสู่กันฟังถึง เรื่องเล่า และ ความเชื่อ ของประจำเดือนในแต่ละยุคสมัยผ่าน Twitter Space ในวันที่ 27 มกราคม 2022 เวลา 2 ทุ่มตรง! (20:00)

บอกเลยว่างานนี้ห้ามพลาด! นอกจากจะให้ความรู้แล้ว ความฮาก็ไม่มีแผ่ว เพราะฉะนั้น อย่าลืมมาร่วมคลาสประวัติศาสตร์แบบใหม่แบบสับกันนะคะ

ถ้าไม่อยากพลาดบทความดีๆ แบบนี้ หรือ อยากทักทายกัน ก็อย่าลืมติดตามพวกเราทาง ทาง Facebook, Youtube, Twitter, Instagram, และ LINE นะคะ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ