fbpx

ภาษีผ้าอนามัยน่ารู้ เรื่องคู่วันประจำเดือนที่เพื่อนๆต้องไม่พลาด!

เมื่อไม่นานมานี้เกิดกระเเสวิจารณ์อย่างหนักหน่วงจากผู้มีประจำเดือน เนื่องด้วยผ้าอนามัยชนิดสอดถูกจัดให้เป็นเครื่องสำอาง และอาจส่งผลให้อัตราภาษีขึ้นจาก 7 % ไปอยู่ที่ 30% ตามราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎกระทรวงสาธารณสุข กำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ.2564

การจัดผ้าอนามัยชนิดสอดในหมวดเครื่องสำอาง ได้เกิดเป็นข้อถกเถียงอย่างล้นหลามบนโลกอินเทอร์เน็ต จนแฮชเเท็ก #ผ้าอนามัยไม่มีภาษี ติดเทรนด์อันดับ 1 ใน Twitter อย่างฉุดไม่อยู่ แถมยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคสำหรับผู้หญิง ราคา การเข้าถึง และสวัสดิการผ้าอนามัยอย่างมากมาย

มาทำความรู้จัก "ผ้าอนามัยแบบสอด" กันเถอะ | Pynpy'
มาทำความรู้จัก “ผ้าอนามัยแบบสอด” กันเถอะ | Pynpy’

‘เครื่องสำอาง’ ทางกฎหมายคืออะไร ทำไมผ้าอนามัยถึงอยู่ในหมวดนี้

 พวกเราควรกลับมาทำความเข้าใจนิยามคำนี้กันใหม่

ตกลงแล้วความหมายในทางกฏหมายของ ‘เครื่องสำอาง’ คืออะไรกันเเน่?

ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสี่สิบปีที่แล้ว ผ้าอนามัยได้อยู่ในเกณฑ์เครื่องสำอางตามกฏหมายอยู่แล้ว จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 ได้มีการแก้ไขนิยาม ‘เครื่องสำอาง’ ขึ้นใหม่ให้กลายเป็น ‘วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก’

จากคำนิยามข้างต้น ทำให้คำว่า ‘เครื่องสำอาง‘ ยังคงครอบคลุมผ้าอนามัยเเบบแผ่นเช่นเดิม เเต่กลับมีผลให้ ผ้าอนามัยชนิดสอด หลุดจากการเป็นเครื่องสำอาง เพราะผ้าอนามัยชนิดสอดมีการสอดใส่เข้าไปในร่างกาย จึงไม่ครอบคลุมนิยาม ‘เครื่องสำอาง’ ในปี พ.ศ.2558

ในปัจจุบัน ปี พ.ศ.2564 ผ้าอนามัยแบบสอดถูกมองว่า เป็นสินค้าที่ต้องมีการควบคุมการผลิต เเละสุขอนามัย เพราะเป็นวัตถุที่สัมผัสกับเยื่อบุอ่อนของเรา อาจก่อให้เกิดอันตรายหากใช้ผิดวิธี  หรือก่อให้เกิดการสะสมเชื้อโรคและเเบคทีเรีย ดังนั้นเพื่อให้ผ้าอนามัยชนิดสอดสามารถจดเเจ้งเป็นเครื่องสำอางได้ตามกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงเห็นชอบต่อการออกกฎกระทรวงฉบับล่าสุดปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้ผ้าอนามัยแบบสอด กลับเข้าสู่สินค้าประเภท เครื่องสำอางค์ เช่นเดิม

สรุปได้ว่า ณ ปัจจุบัน ผ้าอนามัยชนิดสอด จัดเป็นเครื่องสำอาง เช่นเดียวกับผ้าอนามัยชนิดแผ่นนั่นเอง

คลายปมสงสัยในวันนั้นของเดือน ฉันต้องเสียภาษีกี่เปอร์เซ็นต์?

พรบ.ฉบับนี้ทำเอาหลายคนทั้งปวดหัว และปวดใจว่า อัตราภาษีของผ้าอนามัยชนิดสอดจะเพิ่มจาก 7% เป็น 30% หรือไม่? การซื้อผ้าอนามัยในเเต่ละเดือนจะเเพงขึ้นหรือเปล่า?

ขอตอบว่า ‘ไม่ค่ะ’ เพราะถึงแม้ปัจจุบัน ผ้าอนามัยแบบสอดจะถูกจัดเป็นเครื่องสำอางในทางกฎหมาย แต่ยังคงอยู่ใต้กฎหมายสินค้าควบคุม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ภาษีจะพุ่งปรี๊ดไปจากเดิม

ถึงแม้จะถูกนิยามเป็นเครื่องสำอาง กรมสรรพสามิตก็ไม่เก็บภาษีสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยนะคะ เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต ไม่เหมือนน้ำหอมหรือไวน์ที่ถูกจัดเก็บภาษีในฐานะสินค้าฟุ่มเฟือย

ดังนั้นความกังวลว่า ภาษีผ้าอนามัยชนิดสอดจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 30% จึงลืมไปได้เลย เพราะปัจจุบันอัตราภาษียังอยู่ที่ 7% และเพิ่มขึ้น 10% สำหรับสินค้านำเข้าไม่มีการเปลี่ยนเเปลงไปมากกว่านี้

Period Poverty มากกว่าประจำเดือนเเต่สะเทือนถึงปัญหาสังคม

คำถามต่อมาคือ เป็นไปได้ไหมที่เราจะมีผ้าอนามัยที่เข้าถึงง่ายและถูกกว่านี้?

เพราะหนึ่งรอบประจำเดือนของคนเรา เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 5-7 วัน และเราจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยตลอดในช่วงวันนั้นของเดือน ซึ่งทำให้เราต้องเสียค่าผ้าอนามัยอยู่ที่ประมาณ 45-500 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ราคานี้อาจเป็นค่าแรงขั้นต่ำ 1 วันของคนหาเช้ากินค่ำ และยังมีคนมากมายในสังคมที่ต้องเจียดเงินในเเต่ละเดือน เพื่อซื้อผ้าอนามัยแทนสิ่งจำเป็นอื่นๆ

 การเข้าถึงผ้าอนามัยยากเช่นนี้ สะท้อนถึงปัญหาทางสังคมที่เรียกว่า การขาดเเคลนด้านประจำเดือน หรือ Period Poverty’

นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาความยากจนเท่านั้น เเต่ยังรวมถึงปัญหาสุขลักษณะจากการใช้ผ้าอนามัยไม่มีคุณภาพ หรือการใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจนำไปสู่การสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรีย หรือร้ายแรงถึงขั้นทำร้ายอวัยวะเพศ

การขาดเเคลนด้านประจำเดือนไม่ได้เกิดขึ้นเเค่ในประเทศไทย เเต่เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังพบเจอและพยายามหาทางออกมาโดยตลอด เพราะวันเเดงเดือดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำซึ่งควรได้รับการแก้ไข

เรื่องปวดหัวชวนงง ทั่วโลกแก้ไขยังไงในวันนั้นของเดือน

ถ้าอย่างนั้นมีทางเลือกไหนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้บ้าง?

ทั่วโลกได้ใส่ใจแก้ไขปัญหา Period Poverty มาตลอด โดยมีการแก้ปัญหากันอย่างหลากหลาย ทั้งการขับเคลื่อนอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือการออกนโยบายลดหย่อน/ละเว้นภาษี จนไปถึงการตั้งจุดกระจายผ้าอนามัยแก่ผู้ยากไร้ในสังคม

วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาดู case study ที่น่าสนใจในประเทศต่างๆ

เพื่อเป็นเเนวทางแก้ไขปัญหาในบ้านเรากันค่ะ

  • ประเทศเคนยา

เริ่มต้นด้วยเคสเเรกกับประเทศเคนยา ประเทศนี้ได้ผลักดันให้ ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มของผ้าอนามัย ตั้งแต่ พ.ศ.2547 และ ยกเลิกภาษีนำเข้า ในปี พ.ศ.2554 พร้อมทั้งสนับสนุนการกระจายผ้าอนามัยให้คนยากไร้ในพื้นที่ต่างๆ อย่างโรงเรียนและชุมชน

  • สหราชอาณาจักร

ชาวสหราชอาณาจักรได้ขับเคลื่อนเรื่องผ้าอนามัยมาอย่างต่อเนื่อง เเละโชคดีที่รัฐบาลเองก็ไม่นิ่งนอนใจ ในพ.ศ. 2558 มีเสียงไม่พอใจค่าผ้าอนามัยจากผู้บริโภคจำนวนมาก รัฐบาลจึงจัดตั้งกองทุนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงผ้าอนามัย จนระยะเวลาต่อมาได้ลดภาษีผ้าอนามัยเหลือ 5% จากภาษีสินค้าทั่วไป 20% และในที่สุดผ้าอนามัยได้เข้าสู่กระบวนการเป็นสินค้าปลอดภาษีในปัจจุบัน เริ่มตั้งเเต่ 1 มกราคม พ.ศ.2564

  • ประเทศสก็อตเเลนด์

เคสสุดท้ายกับประเทศสก็อตแลนด์ ประเทศแรกของโลกที่ภาครัฐออกนโยบายการแจกจ่ายผ้าอนามัยฟรีแก่ประชาชน ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 4 ล้านยูโร โดยจะจัดบริการตามสถานที่ราชการและสถานที่อนามัย เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและการไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยได้

ถึงแม้ในสายตาใครหลายคนอาจมองว่าประจำเดือนเป็นเพียงเรื่องยิบย่อย แต่สำหรับใครอีกมากมายนั้นเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทั้งการเงินและสุขภาพในระยะยาว

Pynpy’ ตระหนักถึงปัญหาและพร้อมช่วยผลักดันสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น พวกเราจึงออกแบบ กางเกงในอนามัย” นวัตกรรมใหม่ ที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับปัญหานี้โดยเฉพาะค่ะ

นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต้องเสียไปกับผ้าอนามัย แต่ยังมั่นใจได้ว่าเป็นมิตรต่อจุดซ่อนเร้น และสามารถกักเก็บของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีเส้นใย มาตรฐาน OEKO-TEX ที่รับรองจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนั้นยังสวมใส่ได้เหมือนกางเกงในปกติ เพื่อความสบาย คล่องแคล่ว ว่องไว มั่นใจในวันนั้นของเดือน ไม่เหมือนการใช้ผ้าอนามัยทั่วไป

ใครที่พร้อมให้พวกเราดูแลแล้ว สามารถคลิ๊กตรงนี้ได้เลย สั่งวันนี้ รับกางเกงในอนามัย Pynpy’ ส่งตรงถึงบ้าน และถ้าหากไม่อยากพลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมติดตามโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆของพวกเราด้วยนะคะ 🙂

FacebookPynpy

Instagram Pynpywear

Line@pynpy

Leave a Comment