fbpx

5 ท่าโยคะง่ายๆ เซย์ กู๊ดบาย อาการปวดประจำเดือน

หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกผ่อนคลาย ค่อยๆ หลับตาลงแล้วตั้งสมาธิที่ลมหายใจอีกครั้ง

หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ หายใจเข้าท้องพองขึ้น แล้วหายใจออกอีกที ฟู่

ค่อยๆ ลืมตาขึ้นแล้วให้ดวงตาปรับแสงนิดหนึ่งนะคะ

สวัสดีค่า เป็นยังไงกันบ้างกับการฝึกสมาธิและลมหายใจไปพร้อมๆ กับ Pynpy’

วันนี้มาแปลกใช่ไหมล่ะคะ ก็แหม พวกเราไปเจอข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ “โยคะและการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน” มา เลยอดใจไม่ไหวอยากจะแชร์ให้ฟังน่ะสิ

และโป๊ะเชะ! เดาถูกแล้วค่ะ

การฝึกสมาธิและลมหายใจที่เราทำไปเมื่อสักครู่ ก็เป็นขั้นตอนแรกๆ ที่สำคัญสำหรับการฝึกโยคะนั่นเอง ทีนี้ทุกคนก็ก้าวขาเข้ามาสู่วงการโยคะไปพร้อมกับเราแล้ว เย้!

โยคะ คืออะไร มาเป็นตัวช่วยในวันนั้นของเดือนได้ด้วยเหรอ?

โยคะ (Yoga)  หมายถึง กระบวนการฝึกฝนร่างกาย จิตใจ และลมหายใจรูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้เกิดสมาธิ นำไปสู่ความสมดุลทั้งภายในและภายนอก ด้วยกระบวนท่าที่เป็นแบบแผน และระบบการฝึกลมหายใจที่เด่นชัด ทำให้โยคะเป็นการออกกำลังกายที่ขึ้นชื่อได้ว่าแสนดีต่อสุขภาพกายและใจเลยทีเดียว

เท่านั้นยังไม่พอ! โยคะยังถูกขนานนามว่าเป็น ยาวิเศษ สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนอย่างเราๆ ด้วยเช่นกัน! เพราะจากผลงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาเกี่ยวกับโยคะและประจำเดือนได้บ่งชี้ว่า การฝึกโยคะสามารถลดอาการไม่พึงประสงค์จากการมีประจำเดือนได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้อง ปวดหลัง ปวดหัว ไม่สบายตัว หงุดหงิด ซึมเศร้า หรืออาการข้างเคียงแบบไหนๆ โยคะก็มีส่วนช่วยลดความรุนแรงของมันได้ทั้งนั้น!

พูดสรรพคุณและเชิญชวนกันมาขนาดนี้แล้ว จะไม่กระซิบบอกท่าโยคะง่ายๆ ให้ไปลองทำกันสักหน่อย ก็คงจะไม่ได้แล้วใช่ไหมล่ะคะ! งั้นไปดูกันเลยว่าท่าโยคะแบบไหนบ้างที่จะช่วยกอบกู้วันแดงเดือดของพวกเราได้

Pynpy’ Tip

หลายคนอาจเข้าใจว่าการออกกำลังกายในช่วงมีประจำเดือน เป็นเรื่องยากและทำให้ร่างกายอ่อนล้าเกินจำเป็น แต่แท้จริงแล้วเราสามารถออกกำลังกายในช่วงมีประจำเดือนได้อย่างไม่มีปัญหาเลย แถมการขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ยังช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ไม่ปวดท้องประจำเดือนด้วยล่ะ
โยคะลดปวดท้องเมนส์

โยคะ 5 ท่าบอกลาอาการปวดประจำเดือน!

สำหรับท่าโยคะทั้งหมดในวันนี้ จะเน้นการบริหารและยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ช่องท้อง อุ้งเชิงกราน ขา และหลัง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยรวม เพิ่มการไหลเวียนเลือด และปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนรวมถึงอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ในช่วงมีประจำเดือนได้เป็นอย่างดี ถ้าพร้อมแล้วก็ไปรู้จักกับ 5 ท่าโยคะที่ว่านี้กันเลยดีกว่า!

1. ท่าเด็ก (Child’s Pose)

child's pose
โยคะท่าเด็ก (Child’s Pose)

วิธีฝึก

  1. นั่งคุกเข่าลงบนพื้น เท้าชิด เหยียดปลายเท้าไปด้านหลัง
  2. โน้มตัวลงไปด้านหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากนำหน้าผากลงไปแตะพื้นได้จะยิ่งดี เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า กดฝ่ามือลงแนบกับพื้น
  3. ทำค้างไว้ 30 วินาที แล้วคลายท่า

2. ท่าผีเสื้อ (Butterfly Pose)

butterfly pose
โยคะท่าผีเสื้อ (Butterfly Pose)

วิธีฝึก

  1. เริ่มต้นด้ายท่านั่งหลังตรง งอเข่า นำเท้ามาประกบกันด้านหน้า มือจับบริเวณเท้าทั้งสองข้าง
  2. ยกต้นขาขึ้นและลงช้าๆ 10 – 20 ครั้ง คล้ายกับผีเสื้อกระพือปีก เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
  3. โน้มตัวลงด้านหน้า วางศอกลงที่พื้นหรือเท่าที่สามารถก้มตัวลงมาได้
  4. ก้มหัวลง ผ่อนคลายหัวไหล่
  5. ทำค้างไว้ 10 – 20 วินาที แล้วคลายท่า 

3. ท่าเทพธิดาเอนกาย (Reclined Goddess Pose)

goddess pose
โยคะท่าเทพธิดาเอนกาย (Reclined Goddess Pose)

วิธีฝึก

  1. เอนกายลงในท่านอน งอเข่าเล็กน้อย
  2. กางขาออก แล้วนำปลายเท้าทั้งสองข้างมาประกบกัน พยายามวางเข่าให้ขนานกับพื้นเท่าที่จะสามารถทำได้ มือวางไว้บริเวณโคนต้นขา
  3. ทำค้างไว้ 20 – 30 วินาที แล้วคลายท่า

คำแนะนำ: หากไม่สามารถประกบเท้าได้สนิท อาจใช้หมอนรองบริเวณหัวเข่าให้ชันสูงขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ตได้

4. ท่าแยกขาก้มตัว (Seated Straddle Pose)

Seated Straddle Pose
โยคะท่าแยกขาก้มตัว (Seated Straddle Pose)

วิธีฝึก

  1. นั่งแยกขาออกจากกันประมาณ 90 – 140 เซนติเมตร พยายามเหยียดขาให้ตรง กระดกเท้าทั้งสองข้าง ยืดหลังตรง
  2. ค่อยๆ ก้มตัวลงช้าๆ มาทางด้านหน้าพร้อมยืดแขนลงแตะพื้น
  3. ทำค้างไว้ 20 – 30 วินาที แล้วคลายท่า

คำแนะนำ: ให้ยืดขาและก้มตัวลงเท่าที่ร่างกายสามารถทำได้เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องฝืนก้มให้ศีรษะถึงพื้น

5. ท่าพวงมาลัย (Garland Pose)

garland pose
โยคะท่าพวงมาลัย (Garland Pose)

วิธีฝึก

  1. เริ่มต้นโดยการยืนตรงในท่าเตรียม ยืดไหล่ไปด้านหลัง กางขาออกให้กว้างกว่าช่วงหัวไหล่เล็กน้อย ปลายเท้าเปิดออก 45 องศา
  2. ค่อยๆ งอเข่า ย่อตัว ผ่อนสะโพกลงจนอยู่ในท่านั่งยอง 
  3. พนมมือขึ้นกลางหน้าอก นำข้อศอกดันเข่าให้เปิดออก พยายามทิ้งสะโพกลงและยืดตัวให้สันหลังตรง
  4. ทำค้างไว้ 20 – 30 วินาที แล้วคลายท่า

คำแนะนำ

  • สามารถใช้ผ้าขนหนูหรือม้วนเสื่อโยคะมารองใต้ฝ่าเท้าเพื่อช่วยเพิ่มสมดุลเวลานั่งยอง
  • หากเพื่อนๆ มีปัญหาเกี่ยวกับสะโพก หัวเข่าและข้อเท้า แนะนำให้หลีกเลี่ยงท่านี้นะคะ
Pynpy’ Tip

ไม่ว่าจะฝึกโยคะท่าไหน ก็ให้ทำเท่าที่ร่างกายของเราสามารถทำได้เท่านั้น อย่าฝืนยืดเหยียดหรือทิ้งน้ำหนักมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ ระวังกันด้วยน้า

เอาล่ะหลังจากรู้จักชื่อท่าและวิธีการฝึกกันไปแล้ว พวกเราก็ยังมีวิดีโอที่นำท่าเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้มาให้เพื่อนๆ ได้ทดลองทำตามกันด้วยนะ หยิบเสื่อโยคะแล้วไปฝึกกันเลย!


ขอขอบคุณวิดีโอจาก YouTube channel: Pordipor Yoga ด้วยนะคะ

ประจำเดือนก็มี คลาสโยคะก็มา ใส่อะไรไปดีล่ะ?

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายๆ คนก็คงอยากจะลองฝึกโยคะอย่างจริงจังกันดูสักตั้งแล้วใช่ไหมล่ะคะ  แต่เอ๊ะ! จะใช้ผ้าอนามัยหรือผลิตภัณฑ์ทางเลือกตัวไหนดี ที่ให้ความรู้สึกสบายตัว และต้องดูแลเจ้าประจำเดือนให้อยู่กับร่องกับรอยได้สนิท ไม่ออกมาจ๊ะเอ๋ที่กางเกงออกกำลังกายของเรา

yoga vs pynpy'

ตัวเลือกแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในหัวของเพื่อนๆ น่าจะต้องเป็น ผ้าอนามัย แน่เลย! ใช่หรือเปล่าคะ? ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัยแบบแผ่น หรือ ผ้าอนามัยแบบซักได้ อื้ม! ดูจะสะดวกอยู่เหมือนกันนี่นา แต่! ก็ดันไปสะดุดตรงที่ว่า ถ้าเลือกใช้ผ้าอนามัยก็อาจเสี่ยงต่อการหลุดเลื่อน เลอะเทอะ ยิ่งใช้ตอนฝึกโยคะ ขยับตัวมากๆ เหงื่อออกเยอะๆ ก็จะเกิดการอับชื้นขึ้นมาอีก ดีไม่ดีบางคนถึงขั้นแพ้ผ้าอนามัยเลยก็มี อึ๋ย! ดูท่าทางจะไม่เวิร์กเท่าไร งั้นขอเบิกตัวเลือกถัดไปดีกว่า

ตัวเลือกถัดมา ต้องขอบอกว่ายอดฮิตไม่แพ้กันเลย ก็คือ ถ้วยอนามัย และ ผ้าอนามัยแบบสอด นั่นเอง! ทั้งสองตัวเลือกนี้ใช้งานโดยการสอดเข้าไปในช่องน้องสาว เพื่อซึมซับหรือรองรับน้องประจำเดือน จึงตัดปัญหาประจำเดือนเปรอะเปื้อนไปได้หนึ่งอย่าง แต่ถ้าจะเลือกสองตัวเลือกนี้ไปใช้ เพื่อนๆ ต้องกะระยะเวลาการใส่ให้เหมาะสม ดูแลความสะอาดมากๆ ถึงมากที่สุด รวมถึงต้องฝึกฝนตอนใส่สักนิด และ ระวังสักหน่อยทุกครั้งด้วยนะคะ! เพราะถ้าเกิดน้องขยับไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมขึ้นมา ก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บปวดขึ้นมาได้เช่นกัน อืม ดูแล้วก็เป็นตัวเลือกที่ต้องคิดเยอะ ระวังแยะอยู่เหมือนกันนะคะ

เดี๋ยวก่อนๆ อย่าเพิ่งถอดใจไปสิคะ! ตัวเลือกยังไม่หมดแค่นั้นสักหน่อย เพราะเรามีอีกหนึ่งตัวเลือกน้องใหม่มานำเสนอ นั่นก็คือ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่ใช้สวมใส่แทนผ้าอนามัยได้เลย! ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอแบบพิเศษที่ซึมซับของเหลวได้รวดเร็ว ป้องกันการซึมเปื้อน ระบายอากาศได้ดี พร้อมให้สัมผัสบางเบา สบาย รูปทรงสวยกระชับ นำกลับมาใช้ซ้ำได้ มีหลายขนาด ทีนี้ไม่ว่าจะโยคะ ยืดแข้ง เหยียดขา เหงื่อออกแค่ไหนก็เอาอยู่รู้สึกปลอดโปร่ง แถมยังมั่นใจได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนไม่มีสารตกค้างเพราะได้รับมาตรฐาน OEKO – TEX จากระดับโลกมาแล้ว

pynpy'

เอาล่ะ หลังจากที่ดูตัวเลือกทั้งหมดจนครบแล้ว เพื่อนๆ ก็เห็นเหมือนพวกเราหรือเปล่านะ ว่ากางเกงในอนามัยถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่น่าลองและตอบโจทย์มากเลยทีเดียว คิดดูสิคะว่าพวกเราจะขยับตัวได้อย่างอิสระ ฝึกโยคะได้อย่างไร้กังวล ไม่ต้องคอยเช็กเรื่องผ้าอนามัยหลุดเลื่อนเลอะเทอะ ไม่ต้องกลัวเรื่องความอับชื้นและกลิ่นไม่พึงประสงค์ แถมซื้อแค่ตัวเดียวยังสามารถใช้ซ้ำได้ตั้งหลายครั้ง รักตัวเอง รักกระเป๋าเงิน แล้วยังรักโลกอีกต่างหาก ถ้าใครสนใจลองแวะเข้าไปอ่าน รีวิว เพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ ที่นี่ เลย💜

Pynpy’ Tip

ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเลือกผลิตภัณฑ์คู่ใจสำหรับวันมีประจำเดือนแบบไหนก็ตาม ต้องอย่าลืมดูแลความสะอาด และคำนึงถึงความเหมาะสมของกิจกรรมในวันนั้นๆ ของตัวเองด้วยนะคะ

หวังว่าวันนี้เพื่อนๆ จะได้กิจกรรมใหม่อย่าง “โยคะ” ไปแปะไว้ใน to do list และได้รู้จักผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนเพิ่มมากขึ้น พร้อมเอาไปเลือกใช้งานให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของตัวเองกันนะคะ

ถ้าชื่นชอบบทความดีๆ แบบนี้และอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว Pynpy’ ก็อย่าลืมติดตามหรือเป็นเพื่อนกับพวกเราได้ทาง social media ด้านล่างนี้เลย

Facebook: Pynpy

Instagram: pynpywear

YouTube: pynpy

Line: @pynpy

ไม่ว่าเมื่อไร Pynpy’ ก็พร้อมเป็นเพื่อนรู้ใจในวันนั้นของเดือนให้กับคุณเสมอ แล้วไว้พบกันอีกค่ะ!