fbpx

เจ้าลิ่มเลือดที่คุ้นตา จริงๆ แล้วมาจากไหนกัน?!

สวัสดีค่ะ Pynpy’

คือเวลาเราเป็นเมนส์จะมีลิ่มเลือดออกมาด้วยตลอดเลยค่ะ บางทีก็ดูใหญ่จนน่ากลัว เสิร์ชอากู๋ทีไรก็โยงไปกับโรคมะเร็งตลอดเลยค่ะ ตอนนี้กังวลว่าเราจะเป็นโรคร้ายแรงจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว แง ร่างกายเราผิดปกติหรือเปล่าคะ?

โอ๊ะโอ่! เป็นคำถามที่ Pynpy’ ได้รับมาจากเพื่อนๆ เยอะที่สุดเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะเจ้าลิ่มเลือดที่พวกเราเจอในช่วงที่เป็นประจำเดือนนั้นดูน่ากลัวใช่ไหมล่ะคะ? ใจเย็นๆ นะคะ หายใจเข้าลึกๆ ฮึ้บ! ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้ Pynpy’ จะช่วยให้เพื่อนๆ ทำความเข้าใจกับลิ่มเลือดมากยิ่งขึ้น รวมถึงบอกเคล็ดลับในการจัดการกับลิ่มเลือดอีกด้วย!

มารู้จัก "ลิ่มเลือด" กัน | Pynpy'
มารู้จัก “ลิ่มเลือด” กัน | Pynpy’

ประจำเดือนเป็นก้อนเลือด เกิดจากอะไรกันนะ?

โดยปกติแล้วในช่วงที่ทุกคนมีประจำเดือน ฮอร์โมนในร่างกายจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมา ซึ่งทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กมีเลือดออก แต่ร่างกายของเรานั้นมหัศจรรย์ค่ะทุกคน! เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียเลือดมากเกินไป พลาสมาและเกล็ดเลือดจึงร่วมกันสร้างลิ่มเลือดขึ้นมา

พูดง่ายๆ ก็คือกรณีเดียวกับเลือดที่แข็งตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียเลือดของแผลที่เกิดขึ้นบนส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ลิ่มเลือดก็เลยออกมาทักทายเพื่อนๆ เมื่อประจำเดือนมามากเป็นพิเศษ โดยมีขนาดประมาณ 5 มม. ถึง 3-4 ซม. นั่นเอง ฟังๆ ดูแล้วน้องก็มีประโยชน์เหมือนกันนะเนี่ย!

bloodcot

ลิ่มเลือดคือสัญญาณอันตรายหรือเปล่านะ?

ถึงแม้ว่าลิ่มเลือดมักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในช่วงวันนั้นของเดือน โดยเฉพาะวันที่มามาก แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ในบางกรณีค่ะ

‘แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าลิ่มเลือดเราปกติหรือไม่ปกติ?’ วิธีสังเกตลิ่มเลือดที่ผิดปกตินั้นง่ายนิดเดียวค่ะ! ลิ่มเลือดที่แสดงถึงปัญหาของสุขภาพจะมีลักษณะและอาการตามเช็คลิสต์ด้านล่างเลยค่ะ!

  1. ลิ่มเลือดมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 ซม.
  2. ประจำเดือนมามากเป็นผิดปกติ จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง
  3. มีอาการปวดท้องเป็นอย่างมาก
bad bloodcot

แล้วลิ่มเลือดที่ดูใหญ่โผล่มาเพราะอะไรน้า?

1. ร่างกายขาดธาตุเหล็ก

หลายคนอาจจะงง เพราะร่างกายเราก็เซย์กู๊ดบายกับธาตุเหล็กอยู่แล้วเวลาเป็นประจำเดือน แต่เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่า การมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ทำให้การแข็งตัวของเลือดเปลี่ยนแปลง และประจำเดือนอุดตันได้

2. ฮอร์โมนไม่สมดุล

ฮอร์โมนที่สมดุลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มดลูกแข็งแรง ผู้ที่มีปริมาณเอสโตรเจน หรือ โปรเจสเตอโรนที่มากหรือน้อยเกินไป อาจเกิดอาการประจำเดือนมามาก และลิ่มเลือดที่ขนาดใหญ่ขึ้น

3. โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ จะมีอาการปวดหรือเจ็บลึกๆ ที่กระดูกเชิงกราน โดยเฉพาะระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือ ขณะใช้ห้องน้ำเมื่อมีประจำเดือน

4. เนื้องอกในมดลูก

ฮั่นแน่ะ… ทำใจให้สบายค่ะทุกคน เพราะเนื้องอกนี้ไม่ใช่มะเร็งนะคะ เจ้าก้อนนี้จะโตขึ้นภายใน หรือ บนมดลูก ซึ่งทำให้มีประจำเดือนที่มาเยอะในบางครั้ง น้องก้อนเลือดเลยออกมาจ๊ะเอ๋เพื่อนๆ ไงคะ

5. แท้งลูก

เพื่อนๆ บางคนอาจไม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ด้วยซ้ำก็ได้นะคะ เนื่องจากประจำเดือนและการแท้งทำให้มีเลือดไหลและมีอาการปวดท้องทั้งคู่ การแยกแยะระหว่างสองภาวะนี้จึงทำได้ยาก ต้องคอยสังเกตขนาดและปริมาณของลิ่มเลือด เพื่อให้เห็นความต่างค่ะ

6. ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS

ทาง Mayo Clinic กล่าวว่าภาวะนี้ทำให้ประจำเดือนมามาก เนื่องจากความไม่สมดุลทางฮอร์โมน อาจทำให้ประจำเดือนหายไประยะหนึ่ง และเมื่อน้องกลับมาเยือนอีกครั้ง อาจจะมาพร้อมเนื้อเยื่อที่สะสมไว้หลายเดือนก็เป็นได้

deal w/ bloodcot

แล้วจะจัดการกับลิ่มเลือดที่ผิดปกติยังไงดีล่ะเนี่ย?

ทุกคนคะ อย่าเพิ่งแตกตื่นไปค่ะ! ทุกอย่างมีทางแก้ เป็นได้ก็หายได้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดซะหน่อยนะ!

แน่นอนว่าการรักษาต้องหาคุณหมอเท่านั้น เพราะคุณหมอจะช่วยเราหาสาเหตุที่แท้จริงของลิ่มเลือดที่ผิดปกติไงคะ เพราะฉะนั้นหากเพื่อนๆ พบก้อนเลือดที่ขนาดใหญ่ ดำ และหนา ประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน แถมยังต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยระหว่างนอนตอนกลางคืนอีก เพื่อนๆ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับการรักษาที่เหมาะสมดูนะคะ

สำหรับการรักษาลิ่มเลือดที่ผิดปกติและประจำเดือนที่มามากนั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของทั้งคู่ โดยการรักษาหลักๆ ที่แพทย์แนะนำก็คือ การทานยาคุมกำเนิด เพื่อช่วยลดปริมาณเลือดเนื้อเยื่อ การทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก เพื่อเติมเต็มส่วนที่หายไป และกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Ibuprofen และ Naproxen Sodium

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เพื่อนๆ ควรไปหาหมอก่อนนะคะ หมอจะได้จ่ายยาที่เหมาะสมค่ะ

เห็นไหมล่ะคะเพื่อนๆ ประจำเดือนเป็นก้อนเลือดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิดซะหน่อย นอกจากจะเป็นเรื่องธรรมชาติแล้ว น้องก็ยังแอบมีประโยชน์อีก หวังว่า Pynpy’ จะคลายความกังวลใจให้ได้บ้างนะคะ พวกเราสนับสนุนให้ทุกคนสบายกายและสบายใจ และหากสบายใจกันแล้ว ให้กางเกงใน Pynpy’ เป็นตัวช่วยในการทำให้สบายกายกันนะคะ  

pynpy'

เปิดใจให้ Pynpy’ มีส่วนร่วมในการรับมือกับลิ่มเลือดกันเถอะ!

กางเกงในอนามัย Pynpy’ ซึมซับ ลิ่มเลือดได้ไหมคะ?

อันดับแรก ต้องบอกก่อนว่าลักษณะประจำเดือนของแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนก็มามาก บางคนก็มาน้อย เพราะฉะนั้นเราแนะนำให้ลองใส่ Pynpy’ ครั้งแรกตอนอยู่บ้าน เพื่อนๆ จะได้รู้ลักษณะการไหลและปริมาณประจำเดือนของตัวเองค่ะ หลังจากนั้น ใส่ Pynpy’ ตามสไตล์ของเพื่อนๆ ได้ตามสบายเลยค่ะ แต่ถ้าวันไหนมีลิ่มเลือดแข็งมากๆ แนะนำให้ใส่คู่กับผ้าอนามัยแผ่นบาง หรือจะใช้ทิชชู่เช็ดน้องออกไปก็ได้ค่ะ แค่นี้ก็ทำกิจกรรมต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุดแล้ว!

กางเกงอนามัย Pynpy’ เป็นกางเกงในที่สามารถใส่แทนผ้าอนามัยได้เลย! ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่ไหมคะ ด้วยนวัตกรรมใยพิเศษ น้อง Pynpy’ จึงมีคุณสมบัติในการซึมซับของเหลวได้อย่างดี ลืมเรื่องประจำเดือนไหลย้อนกลับไปได้เลย นอกจากนี้ก็ยังมีนวัตกรรมการทอผ้าแบบพิเศษที่เราคิดค้นขึ้น ทำให้ซึมซับรวดเร็ว พูดเลยว่าผู้ใส่จะรู้สึกแห้งและเบาสบายขณะส่วมใส่อย่างแน่นอน นอกจากนี้ น้องมีอายุการใช้งานถึง 2 ปีและดูแลง่ายมากๆ เลย เพียงล้าง ซัก ตาก! แค่นี้ก็สามารถนำมาใส่ใหม่ได้แล้ว

pynpy' underwear

หวังว่าบทความนี้จะช่วยคลายความกังวลใจให้กับทุกคนนะคะ และหากเพื่อนๆ มีคำถามหรือข้อสงสัยอะไร กระซิบบอกพวกเราได้ทาง Facebook, Youtube, Twitter, Instagram, และ LINE ได้เลยนะคะ พวกเรายินดีเป็นที่ปรึกษาของทุกคนเลยค่ะ💜