fbpx

This is ME with Pynpy’ : เพราะโลกใบนี้เป็นของเราทุกคนไม่ใช่แค่ ‘เพศ’ ใดเพศหนึ่ง

มันไม่ได้ผิดปกติ มันแค่พิเศษไม่เหมือนใคร

ประโยคนี้ Pynpy’ จำมาจากตอนที่ดูซีรี่ย์จาก Netflix อย่าง Sex education จบทุกซีซั่นค่ะ เป็นอีกหนึ่งซีรี่ย์น้ำดีที่ตีแผ่เรื่องราวอัตลักษณ์ ‘เพศ’ ออกมาได้ตรงจุด และ เป็นธรรมชาติ ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและคนรอบข้างได้มากกว่าที่เคยค่ะ 👨‍👩‍👧‍👦💗

เท่าเทียม

Topic นี้ Pynpy’ จะพาเพื่อนๆ ไปเปิดมุมมองเรื่อง “เพศ” ผ่านข้อคิดดีๆ ที่ได้มาจากซีรี่ย์เรื่องนี้กันค่ะ อาจถึงเวลาแล้วที่โลกต้องโอบรับ ‘ความหลากหลายทางเพศ’ เกิดมาทั้งทีก็เป็นตัวเองให้เต็มที่ เพราะเราทุกคนคู่ควรที่จะได้รับแต่สิ่งดีๆ เราไม่ได้ประหลาด เราแค่แตกต่างก็เท่านั้นเอง💜

‘ตัวเป็นอย่าง ใจเป็นอีกอย่าง’ บาดแผลทางใจ(ในเพศสภาพ)ของคนทุกวัย…ที่สังคมมักมองข้าม

สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น

บางครั้งเพศสภาพ ‘ภายนอก’ กับ ตัวตน ‘ภายใน’ อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีภาวะ Gender Dysphoria หรือ ภาวะความไม่พึงพอใจ/ทุกข์ใจในเพศของตนเองค่ะ 

gender dysphoria

ภาวะนี้เกิดขึ้นได้กับ ‘ทุกคน’ และ ‘ทุกวัย’ บางครั้งอาจจะมีความรู้สึกไม่เป็นหนึ่งเดียวกันกับอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองทำให้รู้สึกทุกข์ใจ และ สับสนในตัวตนที่แท้จริงของตัวเองค่ะ หลายคนเลยยอมทำทุกวิถีทางเพื่อปกปิดเพศวิถีของตัวเองด้วยนานาวิธี เช่น เลียนแบบเพศตรงข้ามด้วยการแต่งกาย เมคอัพ เปลี่ยนทรงผม, พยายามซ่อนสิ่งที่เพศสภาพตัวเองมี เช่น การพันหน้าอก หรือ โกนหนวด และ มีความต้องการที่จะเป็นเพศตรงข้ามด้วยการเทคฮอร์โมน และ การผ่าตัดแปลงเพศ

 gender dysphoria

คนที่อยู่ในภาวะ Gender Dysphoria ส่วนใหญ่อาจจะมองว่าตัวเองโชคร้ายที่มีเพศสภาพทางจิตใจที่ไม่สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่เป็นมาแต่กำเนิด ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในร่างกายที่ไม่ใช่ตัวตนของตนเอง บางคนมองอวัยวะเพศตัวเองแล้วรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากให้มันอยู่บนตัวเราเลย หนำซ้ำยังมีกรอบของสังคมและความกดดันจากครอบครัวที่คาดหวังให้ตัวตนของเราเป็นไปตามที่เพศสภาพภายนอกเราเป็นด้วย

gender dysphoria

แต่ Pynpy’ กลับมองว่าความหลากหลายทางเพศเป็น ‘ความสวยงามของโลกใบนี้’ ทุกคนต่างมีเอกลักษณ์และชอบอะไรไม่เหมือนกันได้ ถ้าเราแน่ใจแล้วว่าเราอยากเป็นอะไร หรือ เป็นใคร เราสามารถไปต่อได้แม้ว่าร่างกายกับจิตใจเราจะไม่สัมพันธ์กันก็ตามค่ะ

รู้ใช่ไหม ผู้ชายไม่จำเป็นต้องต่อยอะไร และ ผู้ชายก็คบกับผู้ชายด้วยกันเองได้

โอล่า นีแมน – Sex education

เดินหน้าใช้ชีวิตต่อไป ไม่ว่าเพื่อนๆ จะภูมิใจกับเพศสภาพของตัวเองหรือไม่ Pynpy’ ก็มีทางออกมาบอกต่อเพื่อนๆอยู่ดีค่ะ จะเพศไหน…โปรดจำไว้เราคือเพื่อนกันนะคะ💜

ทำอย่างไร…เมื่อร่างกาย และ จิตใจ ไม่ไปด้วยกัน

สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากจะ ‘แก้ไขอัตลักษณ์ทางเพศ’ รู้ใจตัวเองแล้วว่า นี่แหละคือตัวตนของฉัน! Pynpy’ ก็มีวิธีบรรเทาทุกข์ในใจเมื่อมีภาวะเป็น gender dysphoria มาฝากน้าาา กายพร้อม ใจพร้อม ยื่นมือมาแล้วไปค้นพบตัวเองด้วยกันนะ!

gender dysphoria

หัวใจหลักในการรักษาคือ ‘การเยียวยาทางจิตใจ’ ค่ะ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว คำนี้ใช้ได้จริงกับภาวะนี้ค่ะ อย่างแรกต้องเริ่มที่การพบจิตแพทย์เพื่อทำพฤติกรรมบำบัดค่ะ การบำบัดจะช่วยให้คนที่มี Gender Dysphoria รู้สึกสบายใจกับการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางเพศของตนในแบบของตัวเองมากขึ้น

gender dysphoria

อีกทางคือการบำบัดด้วยฮอร์โมน และ การผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัดแปลงเพศ ผ่าตัดหน้าอก ผ่าตัดกล่องเสียงหรือ การศัลยกรรมใบหน้า และ ร่างกาย รูปลักษณ์ภายนอกที่เปลี่ยนไปจะช่วยสร้างความมั่นใจกับตัวตนข้างในได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

gender dysphoria

ทั้งนี้ทั้งนั้น ‘การรับฟังและการโอบกอดของครอบครัว’ เป็นสิ่งสำคัญ ครอบครัวที่ทัศนคติเปิดกว้างจะช่วยให้พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับทุกปัญหาบนโลกใบนี้ได้อย่างกล้าหาญค่ะ การปกครองด้วยความเข้าใจไม่ใช่ความกลัวเป็นสิ่งสำคัญ อย่ากลัวแทนพวกเขา ถ้าเขาจะล้ม…เราก็แค่อยู่คอยช่วยพยุง อย่าเหยียบย้ำซ้ำเติมก็พอ

ความกลัวของพ่อไม่ช่วยผมเลย มันทำให้ผมรู้สึกอ่อนแอ นี่คือตัวผม ยังไงผมก็เจ็บตัวอยู่ดี เจ็บแต่เป็นตัวเองไม่ดีกว่าเหรอ

 เอริค – Sex education 

Pynpy’ ขอสนับสนุนให้ครอบครัวยุคใหม่ หันมาซัพพอร์ต และ ยอมรับในตัวตนของทุกคนในครอบครัวนะคะ เพราะไม่ว่าเค้าจะเป็นเพศอะไร…ยังไงเค้าก็คือคนที่เรารักค่ะ Love wins น้าาา💜

จะแคร์เพศสภาพไปทำไมในเมื่อเราทุกคนคือ ‘มนุษย์’ เหมือนกัน

การมีแฟนเป็นผู้หญิงไม่ได้ทำให้ความเป็นแม่ของเราลดน้อยลง และ ผู้ชายก็ไม่จำเป็นต้องเก็บซ่อนความรู้สึก หลายคนมีปัญหากับอัตลักษณ์ของตัวเอง ไม่สามารถเปิดตัวกับคนอื่นในชีวิตประจำวันได้เพราะกลัวที่จะโดนล้อ โดนรังแก หรืออายที่จะบอกใครๆ ว่าเราเป็นแบบนี้ มันเลยทำให้เราเก็บกด ใช้ชีวิตแต่ละวันบนความทุกข์ รู้สึกไม่เป็นตัวเองเลย

ชีวิตเรา เราต้องเป็นคนเลือกเอง อย่าให้ใครมาตัดสินเส้นทางชีวิตเราแทนตัวเราเอง

เอริค – Sex education 
เพศสภาพ

แต่ถ้าหากเราภูมิใจ และ รักในสิ่งที่ตัวเองเป็น กล้าที่จะเปิดเผยตัวเองกับคนทั้งโลก สุดท้ายเราก็จะเป็นฝ่ายที่ชนะ ถึงท้ายที่สุดจะไม่ชนะใจคนทั้งโลกแต่ที่แน่ๆ เราชนะใจตัวเองแล้วค่ะ proud ได้เลย! 

มาๆ อยากเป็นผู้ชนะมั้ยคะ? Pynpy’ ขอส่งต่อพลังใจในการใช้ชีวิตให้กับนักสู้ทุกคนผ่าน 9 เทคนิคเพิ่มความภาคภูมิใจในตัวเอง (self esteem) น้าาา จดไว้เลย แล้วมาเริ่มนับ 1 ไปด้วยกันค่าาาาา

เพศสภาพ
  • มองตัวเองในมุมบวก – ใครจะมองยังไงก็ช่าง ควรเชื่อมั่นในตัวเอง ชมตัวเอง และ ให้รางวัลตัวเองบ้าง
  • ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง – สวยหล่อแล้วก็ต้องเก่งด้วย ถ้าเราเจ๋งพอเราจะเป็นเพศอะไรก็ได้ค่าาาา
  • ใช่ ไม่ใช่ ช่างมันเถอะ – เลิกคิดว่าตัวเองเป็นเพศอะไร ผิดปกติไหม เราใช่…รึเปล่า เพราะโลกนี้มันกว้างใหญ่เป็นอะไรก็เป็นไปแค่ไม่เดือดร้อนใครก็พอ
  • มีเป้าหมาย – เติมไฟในการใช้ชีวิตให้ลุกโชนอยู่เสมอ อย่าใช้ชีวิตแค่ให้หมดไปวันๆ ความสำเร็จมีไว้ให้กับคนที่สู้ไม่ถอยเท่านั้นค่ะ
  • ใจเขา ใจเรา – อยากได้แบบไหนก็ต้องทำแบบนั้นกับคนอื่นก่อน อยากให้คนอื่นยอมรับความเป็นเรา เราก็ต้องรู้จักที่จะยอมรับ เปิดกว้าง และ ให้อภัยคนอื่นให้เป็นด้วย
เพศสภาพ
  • ไม่เปรียบเทียบกับใคร – คนเราเก่งและถนัดคนละอย่าง อย่าอิจฉา หรือ ด้อยค่าตัวเอง
  • อย่าลืมดูแลตัวเอง = จิตใจมั่นคง ร่างกายแข็งแรง บาลานซ์ได้ชีวิตก็ไปต่อได้ง่ายขึ้น
  • สู้ให้เป็น นิ่งให้พอ – ใครดูถูกเรายังไงก็ไม่เท่ากับที่เราดูถูกตัวเอง มีสติอย่าไปจมอยู่กับคำพูดไม่ดีของคนอื่น แต่ถ้าใครล้ำเส้นก็พร้อมสู้กลับ อย่ายอมให้ใครมาก้าวก่ายความเป็นเราค่ะ
  • ชั้นในสำคัญกว่าที่คิด – รองเท้าดีดีจะพาเราไปที่ๆดีกว่าฉันใด กางเกงชั้นในดีดีก็พาเราสู่เส้นชัยได้ง่ายขึ้นฉันนั้นค่ะ ‘อวัยวะเพศ’ เราก็ต้องการพื้นที่ปลอดภัยไม่แพ้ใจของเราเลย


ไม่มีใครจะทำร้ายเราได้มากกว่าตัวเราเอง รักตัวเองให้เป็นแล้วค่อยไปรักคนอื่น เค้าจะชอบเราได้ยังไงถ้าตัวเรายังไม่ชอบตัวเองเลยถูกมั้ยคะ? อย่ารู้สึกผิดที่เราแปลกแยก แต่จงภูมิใจที่เราพิเศษไม่เหมือนใครดีกว่าค่ะ💜

แตกต่างแต่ไม่แตกแยก: Pynpy’ ขอโอบกอดทุกความหลากหลายอย่างเท่าเทียม

Pynpy’ เชื่อเสมอว่าทุกคน ทุกเพศ และ ทุกวัย สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ถ้าไม่ด่วนตัดสินกัน เช่นเดียวกันกับ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่เป็นมากกว่าผลิตภัณฑ์ซับประจำเดือน คนอาจจะมองว่าต้องเป็นประจำเดือนเท่านั้นถึงจะใส่ได้ แต่จริงๆ แล้วเราสร้างมาเพื่อ ‘ทุกคน’ ค่ะ ไม่ว่าใครก็ใช้ Pynpy’ ได้

Pynpy'

Pynpy’ สวมใส่ได้ทุกเพศ ใส่ได้ทุกวัน ใส่ได้เหมือนกางเกงในทั่วไป จะเป็นผู้หญิงที่มีประจำเดือน มีตกขาว จะเป็นคุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด และ น้ำคาวปลา หรือแม้แต่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่ผ่าตัดแปลงเพศมาก็สามารถสวมใส่ Pynpy’ ได้เหมือนกันค่ะ

Pynpy’ เป็นแบรนด์แรกในไทยที่สามารถใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ใส่ต่อเนื่องได้ยาวนาน 8-12 ชั่วโมง ใส่เสร็จสามารถนำมาซักแล้วใช้ซ้ำได้ น้องมีอายุการใช้งานนานกว่า 2 ปี เลยยย

Pynpy’ โดดเด่นด้วยนวัตกรรมการทอผ้าที่ไม่เหมือนใคร ผสานเข้ากับเทคโนโลยีพิเศษที่ช่วยซึมซับ และ กักเก็บของเหลวได้ในเวลาเดียวกัน ซึมซับเร็ว แห้งไว ไม่มีกลิ่นอับคอยกวนใจค่ะ

Pynpy'

Pynpy’ สวมใส่ได้ทุกช่วงวัย รองรับได้ทุกสรีระตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ มีไซส์ให้เลือกมากถึง 11 ไซส์ แถมหาซื้อก็ง่ายไม่ยุ่งยาก มีให้ช้อปทั้งแบบ online และ offline เลยค่ะ รีวิวฉ่ำมาก ไม่ชัวร์ก็ไม่ส่องก่อนได้!

ก่อนจากกันไป Pynpy’ อยากให้เพื่อนๆ หันมาใส่ใจความสะอาด และ สุขอนามัยในที่ลับให้เยอะๆ น้า หลายคนยังแคร์สี และ รูปลักษณ์ของอวัยวะเพศกันอยู่ว่าต้องมีสีแบบนั้น หรือ รูปทรงหน้าตาต้องเป็นแบบนี้ ทั้งที่ในความเป็นจริงเราควรภูมิใจที่มันพิเศษไม่เหมือนใครและดูแลมันให้ถูกสุขอนามัยมากที่สุด

Pynpy'

แล้วก็อย่าลืมใจดีกับตัวเองให้มากๆ เรียนรู้ที่จะเข้าใจตัวเองและผู้อื่นให้เป็น หัวหอมมีหลายชั้นเราก็ยังเรียกมันว่าหัวหอม แล้วมนุษย์ที่มีหลายเพศจะไม่เรียกว่ามนุษย์ได้ยังไง มันก็ซับซ้อนได้เหมือนกันนั่นแหละน่า! ใครอยากอ่านบทความสนุกๆ แบบนี้อีกก็กดติดตาม Pynpy’ ไว้น้า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, TikTok และ Line แล้วมาเจอกันใหม่ topic หน้า สำหรับวันนี้สวัสดีมนุดทุกคนค่าาาาาา👋🏼💜