fbpx

วันต่อต้าน ‘การขริบอวัยวะเพศหญิง’ เพราะ ‘กีของฉัน คือสิทธิของฉัน’

หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องการขริบอวัยวะเพศชายตามความเชื่อทางศาสนามาบ้างแล้วใช่มั้ยล่ะคะ แต่รู้มั้ยคะว่าจริงๆ แล้ว ชาวเมนส์อย่างเราก็มีการขริบอวัยวะเพศด้วยนะ แต่เป็น ‘การขริบอวัยวะเพศหญิง’ ตามความเชื่อเรื่องการรักษาความบริสุทธิ์ ชาวเมนส์ที่ถูกขริบอวัยวะเพศเหล่านี้ต่างทนทุกข์ทั้งทางกายและทางใจไม่น้อย

UN จึงกำหนดให้ทุกวันที่ 6 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันต่อต้านการขริบอวัยวะเพศหญิงสากลค่ะ Pynpy’ จึงจะชวนทุกคนไปทำความรู้จักกันค่ะ

การขริบอวัยวะเพศหญิง

การขริบอวัยวะเพศหญิง คืออะไร

ก่อนจะไปถึงวันต่อต้าน เรามาทำความรู้จักกันก่อนค่ะว่า ‘การขริบอวัยวะเพศหญิง’ คืออะไร และทำไปเพื่ออะไรกันนะ

  • การขริบอวัยวะเพศหญิงหรือ Female genital mutilation ก็คือการขริบส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศ หลักๆ แบ่งออกเป็น 4 แบบ ค่ะคือ
    • ตัดปุ่มคลิตอริส
    • ตัดปุ่มคลิตอริสและแคมเล็ก
    • ตัดทั้งแคมใหญ่และแคมเล็กแล้วเย็บปิดอวัยวะเพศให้เหลือเพียงช่องเล็ก ๆ
    • การทิ่ม เจาะ ผ่า ขูด หรือเผาบริเวณอวัยวะเพศ
การขริบอวัยวะเพศหญิง
อ้างอิงจาก National FGM Centre
  • การขริบอวัยวะเพศหญิง มักพบในประเทศอินโดนีเซีย อียิปต์ เอธิโอเปีย และแถบแอฟริกา เหตุผลนั้นหลากหลายมากเลยค่ะ ไม่ว่าจะเพื่อ
    • ได้รับการยอมรับในสังคมและมีสิทธิ์แต่งงาน
    • ปกป้องอนาคตของผู้หญิง
    • รักษาความบริสุทธิ์ของหญิงสาว
    • รักษาความสะอาด
การขริบอวัยวะเพศหญิง
Did you know?
ส่วนใหญ่มักเริ่มขริบตั้งแต่ยังเป็นเบบี๋จนถึงอายุ 15 ปี หลายคนจึงอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเธอเคยถูกขริบ และอาจเข้าใจไปว่าจิมิที่ถูกบิดเบือนไปนั้นคือจิมิที่แท้จริง ซึ่งหากเกิดผลกระทบในการใช้ชีวิต เธอก็อาจไม่รู้ว่านี่คือปัญหาที่ต้องแก้ไขค่ะ

แค่มีดบาดนิดเดียวยังเจ็บไม่ไหว หลายคนคงสงสัยใช่มั้ยคะว่าผลกระทบของการขริบเนี่ยมันจะมหาศาลขนาดไหน

การขริบอวัยวะเพศหญิง

ขริบให้เข้าสังคมได้ง่าย แต่กลายเป็นเรื่องยากของผู้หญิงได้ยังไง?

ไม่ว่าจะขริบอวัยวะเพศหญิงด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ ล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้ทั้งนั้นค่ะ

  • ทางกาย
    • เจ็บปวดและช็อกอย่างรุนแรง
    • แขนขาหักจากการถูกกดทับ
    • เสี่ยงเอชไอวีและโรคเอดส์
    • ติดเชื้อในมดลูก ช่องคลอด และอุ้งเชิงกราน
    • เกิดภาวะมีบุตรยาก ภาวะแทรกซ้อนในการคลอดบุตร
    • ลำบากมากๆ เวลามีเมนส์
การขริบอวัยวะเพศหญิง
  • ทางใจ
    • มีภาวะ PTSD และอาจเป็นโรคซึมเศร้า 
    • รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่เห็นคุณค่าในร่างกายตัวเอง
    • ปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ 
การขริบอวัยวะเพศหญิง

Pynpy’ ขอยกตัวอย่างประสบการณ์ของ ‘ฮิโบ วาร์เดเร’ ที่เป็นเหยื่อในความเชื่อนี้ เธอบอกว่าตอนถูกกรีดนั้นเจ็บจนเหมือนถูกเอาเกลือและพริกมาป้ายที่แผล แต่ยังส่งผลต่อการขับถ่าย และการคลอดลูกในอนาคต รวมถึงผลกระทบทางใจอีกด้วยค่ะ

Did you know?
- รู้มั้ยคะว่า 200 ล้านคน คือจำนวนเด็กและสตรีในปัจจุบันที่คาดว่าเคยถูกถูกขริบอวัยวะเพศมาแล้ว ซึ่งนับเป็น 1 ใน 20 ของเด็กและสตรีทั่วโลก 
- เชื่อมั้ยคะว่าใน 44 ล้านคนนั้น คือเด็กหญิงอายุ 14 ปีหรือต่ำกว่าเชียวค่ะ!
การขริบอวัยวะเพศหญิง

มากกว่าการทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน

หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วเหตุการณ์เหล่านี้มันไม่ได้เกิดขึ้นในไทย ชั้นจะรู้ไปทำไม!!! แต่จริงๆ แล้วนี่คือเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจมากๆ ค่ะ เพราะอะไรน่ะหรือคะ?

  • การขริบอวัยวะเพศหญิง สะท้อนความไม่เท่าเทียมทางเพศที่ฝังรากลึก แสดงการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง 
  • ละเมิดสิทธิด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และความสมบูรณ์ของร่างกาย 
  • ละเมิดสิทธิที่จะเป็นอิสระจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย 
สิทธินมุษยชน

การร่วมต่อต้าน ‘การขริบอวัยวะเพศหญิง’ ที่เกิดขึ้นนี้จึงถือเป็นการเรียกร้องให้ทุกคนได้กลับมาเป็นเจ้าของ ‘กี’ อย่างแท้จริง ได้เลือกว่า ‘กี’ ของเราจะหน้าตาแบบไหน ได้เลือกที่จะปกป้อง ‘ร่างกาย’ ของเราจากทุกข้อกำหนดของสังคม พูดให้เข้าใจง่ายๆ นี่คือการเรียกร้องเพื่อสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับที่เราเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมในเหตุการณ์ ​Black Lives Matter และ LGBTQ+ ค่ะ

Did You Know?
ถ้าการขริบอวัยวะเพศในหลายวัฒนธรรมยังมีอยู่ต่อไป ภายในปี 2030 เด็กผู้หญิงอีก 15 ล้านคนที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 19 ปีจะต้องถูกละเมิดสิทธิในร่างกายของตัวเองเลยนะคะ
เพื่อนหญิงพลังหญิง

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าใครอยากร่วมรณรงค์ในวันนี้ก็สามารถติดแท็ก #EndFGM กระจายความรู้เพื่อเรียกร้องให้หลายระเทศ มีมาตรการกฎหมายและเข้าไปเจรจากับกลุ่มชุมชนที่ยังคงการขริบได้ค่ะ

การขริบอวัยวะเพศหญิง

ฉลองให้กับสิทธิในร่างกาย ฉลองให้กับสิทธิของ ‘กี’ กับกางเกงในอนามัย Pynpy’

กางเกงในอนามัย Pynpy’ นั้นเป็นกางเกงในอนามัยที่คิดขึ้นมาจากความเชื่อที่ว่าทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย นั้นต่างเท่าเทียมและมีสิทธิในร่างกายเหมือนๆ กันค่ะ แล้วกางเกงในอนามัย Pynpy’ แสดงถึงสิทธิในร่างกายและความเท่าเทียมได้ยังไงบ้างน่ะหรือคะ

กางเกงในอนามัย Pynpy'
  • เสริมความมั่นใจ เพราะนวัตกรรมกางเกงในอนามัยที่ซึมซับประจำเดือนได้โดยไม่ต้องใส่ผ้าอนามัย ซึมซับเทียบเท่าผ้าอนามัย 2-3 แผ่น ใส่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง ไม่ต้องคอยเปลี่ยน ลดความอึดอัดจากผ้าอนามัย มอบอิสระในการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่
  • สร้างสุขอนามัยที่ดี เพราะมีนวัตกรรมแอนตี้แบคทีเรียไม่เสี่ยงติดเชื้อ ไม่หมักหมม
  • เปิดกว้างกับทุกเพศทุกวัย เพราะมีให้เลือกตั้ง 11 ไซส์ จะร่างกายแบบไหนก็ใส่ได้ชัวร์
  • เป็นกางเกงในเพื่อเพื่อนมนุษย์ เพราะมากกว่ารองรับประจำเดือน ก็รองรับปัสสาวะหรือตกขาวของผู้สูงอายุ คุณแม่ และทรานส์ที่ผ่าตัดแปลงเพศได้
กางเกงในอนามัย Pynpy'

ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึกว่าปังมากทั้งสินค้าทั้งความเชื่อของเรา ก็เข้าไปช้อปที่เว็บไซต์ หรือจะทักมาคุยกันก่อนทั้งช่องทาง FacebookInstagramTwitterYoutube หรือ Line ก็ได้น้า

Pynpy’ เชื่อว่าการร่วมต่อต้านการขริบอวัยวะเพศหญิงไม่ใช่การเรียกร้องให้ใครคนใดคนหนึ่งค่ะ แต่เป็นการเรียกร้องให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองได้กลับมามีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตและสิทธิในการปกป้องร่างกายตนเองค่ะ Pynpy’ จึงหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนได้ร่วมมอบอิสรภาพในร่างกายให้เพื่อนๆ ชาวเมนส์ทุกคนได้นะคะ