fbpx

Say what ?! “อยู่กับเพื่อนจนเมนส์มาพร้อมกันบ่อยๆ” เกิดขึ้นได้จริงเหรอ ?

“ อ้าว ! เมนส์เธอก็มาเหรอ ของเราก็เพิ่งมา ทำไมเมนส์เรามาพร้อมกันบ่อยจังอะ… เป็นไปได้ไงเนี่ย ?! “ 

เชื่อว่าต้องมีเพื่อนๆ ของ Pynpy’ หลายคนที่เคยสงสัย ว่าเอ้ะ ? ทำไมบางทีประจำเดือนของเพื่อนๆ มาตรงหรือไล่เลี่ยกับเพื่อนสนิทคนนี้บ่อยจัง หรือทำไมบางที จะไปขอยืมผ้าอนามัยพี่สาว กลายเป็นว่าพี่สาวก็เป็นเมนส์พร้อมกันเฉยเลย งงเลยจ้า! 

เอางี้ดีกว่าค่ะ เพื่อนๆ เคยได้ยินไหมคะ ที่เขาบอกกันว่า (เขาคือใครหนอ?) ยิ่งได้อยู่ใกล้หรือสนิทกับมนุษย์เมนส์อีกคนนานๆ ประจำเดือนของเพื่อนๆ จะมาพร้อมกัน… 

อ้าว ! แล้วมันมีข้อพิสูจน์หรือไม่น้า ว่าเรื่องนี้คือเรื่องจริงหรือจ้อจี้ ? Pynpy’ ชักสงสัยแล้วสิ… งั้น Pynpy’ ขอเสนอตัวสาธยายรายละเอียดและเพิ่มเกล็ดความรู้ในเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ สักหน่อยแล้วกันนะคะ ไปค่ะ เริ่มกันเล้ย!

เอ้ะ ? ประจำเดือนมาพร้อมเพื่อนได้ไง สงสัยจัง…

โดยปกติแล้ว การที่เพื่อนๆ จะมีประจำเดือนที่มาพร้อมเพื่อนสนิทหรือพี่น้องชาวประจำเดือนที่อยู่ด้วยกันบ่อยๆ เป็นข้อสังเกตที่มนุษย์เมนส์หลายคนตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้ง 

ซึ่งถ้าจะให้ Pynpy’ เล่า เราก็คงต้องพูดถึงทฤษฎี The McClintock Effect ที่อธิบายว่าฟีโรโมนที่ถูกผลิตออกมาจากเพื่อนๆ ที่เป็นประจำเดือนอยู่ (มนุษย์เมนส์ A) ทำให้ชาวประจำเดือนอีกคน (มนุษย์เมนส์ B) มีปฏิกิริยาตอบสนองกับสารตัวนี้ ทำให้ประจำเดือนมาใกล้เคียงกันนั่นเอง 

Pynpy' Tips

The McClintock effect = เมื่อประจำเดือนของมนุษย์เมนส์ของผู้ที่อยู่ใกล้กันหรือร่วมกันเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยไม่ได้คำนวณวันหรือเวลาตกไข่ แต่นับจากวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเท่านั้น เนื่องจากมี  "ฟีโรโมน" (สารเคมีชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาแล้วกระตุ้นการตอบสนองทางสังคมในกลุ่มสปีชีส์เดียวกัน) ผลิตออกมาจากผู้ที่กำลังเป็นประจำเดือน ทำให้เกิดการกระตุ้นกับผู้ที่อยู่ใกล้เคียง มีการตอบสนองและทำให้มีประจำเดือนมาในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

นอกจากนี้ ยังมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ของมนุษย์เมนส์ที่อยู่ด้วยกัน ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันด้วยก็มี เช่น การปวดหัวไมเกรนช่วงประจำเดือน ก็มีนะ !

แต่ในทางกลับกัน ยังมีชาวประจำเดือนอีกกลุ่ม ที่เชื่อว่ารอบเดือนนั้นมีอิทธิพลมาจากวัฏจักรของดวงจันทร์ด้วยน่ะสิ…. อ้าว ! อะไรยังไงอีกเนี่ยย ไหนเหลาสิ้แม่!

ดวงจันทร์กับประจำเดือน ความสัมพันธ์ชวนสงสัย ? 

คำว่าMenstruation (ภาษาอังกฤษ) แท้จริงแล้วเป็นการผสมคำของคำว่า “Moon” และ “Month” ของภาษาลาตินและภาษากรีก ทำให้ผู้ที่มีประจำเดือนบางกลุ่มเชื่อว่าวัฏจักรการตกไข่ของผู้มีประจำเดือนสัมพันธ์กับวัฏจักรของดวงจันทร์ 

หนึ่งในผลการวิจัยปี 1986 แสดงให้เห็นว่ามีผู้ร่วมบททดสอบ 28% มีประจำเดือนในช่วง New Moon หรือตรงกับแรม 15 ค่ำนั่นเอง ซึ่งผลสำรวจออกมาเท่ากับว่า ผู้ที่มีประจำเดือน 1/4 คนจะมีประจำเดือนในช่วงเวลานี้น่ะสิคะ 

โอ้… แปลกดีเหมือนกันแฮะ น่าสนใจเลยใช่ไหมคะ ?  แต่ถ้าเรามองในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีผลการวิจัยสรุปมาแล้วเนี่ย ยังมีอะไรน่าสนใจอีกเหมือนกันนะคะ เรามาดูกันเพิ่มเติมดีกว่าค่ะ

ไหนๆ มีผลวิจัยบอกไหมน้า ว่าการมีประจำเดือนตรงกับเพื่อน มันเป็นไปได้จริงไหม ? 

ถ้าจะมองในเชิงการทดสอบและวิจัยที่มีเหตุและผลนั้น ก็ยังสามารถมองได้อีกมุมนะคะว่า จริงๆ แล้วประจำเดือนกับพระจันทร์อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรงอย่างที่หลายคนสงสัย เพราะในผลการวิจัยหนึ่งในปี 2006 ที่ทำการทดสอบโดยติดตามผลประจำเดือนของผู้หญิงที่อยู่ด้วยกันในหอเป็นกลุ่มที่ประเทศจีน ผลการวิจัยเผยว่าเป็นเพียงสมการทางคณิตศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความบังเอิญเท่านั้น 

เช่นเดียวกันกับอีกหนึ่งการวิจัยของ Oxford University ที่ทดสอบผู้ที่มีประจำเดือน 1,500 คน ผ่านระบบแอพพลิเคชั่นติดตามรอบเดือน “Clue” ที่พิสูจน์ว่าการที่ผู้ที่มีประจำเดือนอยู่ใกล้กันเป็นเวลานาน ไม่ได้มีเอฟเฟ็กต์อะไรเกี่ยวกับฟีโรโมนที่ก่อให้เกิดประจำเดือนมาในเวลาใกล้เคียงกันเลย 

คือถ้าจะให้สรุปง่ายๆ ก็คือ มนุษย์เมนส์โดยปกติมีประจำเดือน 2-7 วันในระยะรอบเดือนปกติ (21-35 วัน) อยู่แล้ว มันจะต้องมีจังหวะที่ผู้ที่มีประจำเดือนหลายคนบังเอิญเป็นเมนส์พร้อมกันนั่นเองค่ะ 

อ้าาาา… เห็นไหมคะ ไม่ว่าเพื่อนๆ จะอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีประจำเดือนมาปกติยังไง ก็อาจจะมีคนรู้จักหรือคนสนิทที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมาช้ามาเร็วบ้าง จนกลายเป็นว่าจ๊ะเอ๋ มาตรงกันได้อยู่บ่อยๆ ไงคะ…

แต่ไม่ต้องวอรี่นะคะ ไม่ว่าเพื่อนๆ จะมีประจำเดือนที่ปกติหรือไม่ เรามาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์อนามัยชั้นเลิศที่จะช่วยทำให้วันมามากหรือมาน้อยของเพื่อนๆ สบายใจไร้กังวลกันดีกว่าค่ะ 

จะมาตรงกันหรือไม่ ยังไง Pynpy’ ก็พร้อมซัพพอร์ตมนุษย์เมนส์ทุกคนน้า

เพื่อนๆ ขาาา ~ มาทำความรู้จักให้ชิดเชื้อสนิทใจกับ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย กันดีกว่าค่า เพราะอย่างที่สโลแกนนางว่า ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลยจริงๆ นะ ! ทำให้หมดห่วงเรื่องความอึดอัด ความอับชื้น รวมไปถึงการหลุดหรือเคลื่อนตัวของผ้าอนามัยทั่วไปอยู่บ่อยครั้งเลยแหละค่ะ 

กางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเรา มีความสามารถในการดูดซับที่รวดเร็วทันใจ ทำให้แห้งสบายเมื่อสวมใส่ทุกครั้ง แถมยังใส่ได้ยาวนานถึง 8-12 ชั่วโมงเลยนะคะ คิดดูสิว่ามันเจ๋งเบอร์ไหน ?! ก็ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอด้วยเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษของเรา ที่ทำให้กางเกงในอนามัย Pynpy’ สามารถ “ซึมซับและล็อกของเหลว ไม่ให้ไหลย้อนกลับ” นั่นเองค่ะ แถมยังมีเทคโนโลยี Anti-bacteria ที่ช่วยเรื่องการรักษาความสะอาด ไม่เกิดการหมักหมมและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ คันหรือระคายเคืองใดๆ เลยค่ะ 

และถ้าเพื่อนๆ ต้องการที่จะทำความสะอาดกางเกงในอนามัย Pynpy’ เนี่ยนะ ขอบอกเลยว่าที่สุดในสามโลกเลย เพราะเพื่อนๆ สามารถทำความสะอาดได้ใน 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ค่ะ 

เคล็ดลับฉบับง่ายๆ ดูแล Pynpy’ นวัตกรรม กางเกงในอนามัยยังไง ให้อยู่ได้นานเว่อร์
เคล็ดลับฉบับง่ายๆ ดูแล Pynpy’ นวัตกรรม กางเกงในอนามัยยังไง ให้อยู่ได้นานเว่อร์

1. ล้าง – ล้างด้วยน้ำเปล่า
2. ซัก – จะซักมือหรือเข้าเครื่องซักผ้า โดยใช้น้ำยาซักผ้าปกติทั่วไปได้เลย
3. ตาก – บิดให้หมาดแล้วตากให้แห้งกลางแดดจ้าๆ ไปเลยจ้า

* หลีกเลี่ยงการอบหรือการใช้ความร้อนเกินอุณหภูมิ 40 องศา เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีของน้องไว้ด้วยนะคะ

สนใจอยากสั่งซื้อแล้วใช่ไหมล่าาา งั้นเพื่อนๆ ก็ตรงดิ่งไปที่ หน้าเว็บไซต์ Pynpy’ แล้วเลือกรุ่นและไซส์ที่ใช่ (มีให้เลือก 11 ไซส์ 3XS-5XL) แล้วใส่ตะกร้า กดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ ได้เลยค่าาา !

หรือถ้าเพื่อนๆ อยากติดตามอ่านบทความดีๆ และทำความรู้จักกับกางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเราเพิ่มเติมก่อนซื้อใช้จริง เพื่อนๆ ก็สามารถติดตาม Social Media ต่างๆ อย่าง Facebook, Instagram, Twitter, Youtube และ Line Official ของเราได้ด้วยเหมือนกันน้า

ไม่ต้องรอจังหวะมีเมนส์พร้อมคนอื่น ก็มีกางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่พร้อมใจจะอยู่เคียงข้างเพื่อนๆ ทุกรอบเดือนแน่นอน ! ป.ล. จะแนะนำเพื่อนๆ ที่บังเอิ๊ญบังเอิญมีประจำเดือนพร้อมกัน มาใส่กางเกงในอนามัย Pynpy’ ให้ Match กันก็ได้นะเออ ! 🤫