fbpx

1 รอบเดือนแปรปรวนจนหัวหมุน! รู้หรือไม่ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเราบ้าง?

ร่างกายคนเรานี่แสนประหลาด ยังไม่ทันทำอะไรเดี๋ยวก็อารมณ์ดี เดี๋ยวก็เศร้า จู่ๆก็หน้ามันสิวเห่อ บางวันก็มีพลังงานล้นเหลือ แต่บางวันแค่ขยับตัวยังขี้เกียจ เพื่อนๆ อาจจะคิดว่า ‘เอ้า! ก็แน่สิ เรื่องพวกนี้มันก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวันอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ?’ นั่นก็ถูกต้องแน่นอน แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไม่มีเหตุผล นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามรอบเดือน นั่นเอง

period symptoms

รอบเดือนคืออะไร? รู้จักแค่ประจำเดือนก็พอแล้วมั้ง?

บอกเลยว่าไม่พอ! เพราะรอบเดือนไม่ใช่ประจำเดือนซะทีเดียว แต่ประจำเดือนเป็นขั้นตอนหนึ่งของรอบเดือนซะมากกว่า เพราะรอบเดือนคือ วงจรที่เริ่มตั้งแต่วันแรกของประจำเดือน ไปจนถึงวันสุดท้ายก่อนที่ประจำเดือนรอบต่อไปจะมา ดังนั้นรอบเดือนโดยเฉลี่ยของผู้มีประจำเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 24-35 วัน

period cycle

ใน 1 รอบเดือนนี้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกายเรามากมาย ถ้าหากเพื่อนๆ รู้จักการทำงานของร่างกายตัวเองก็จะสามารถเข้าใจที่มาที่ไปของอารมณ์ ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงช่วยให้ผู้ที่วางแผนการตั้งครรภ์หรือต้องการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น นอกจากนี้ การเรียนรู้รูปแบบรอบเดือนของตัวเองจะช่วยให้เรารู้ตัวเร็วขึ้นหากมีสิ่งผิดปกติ จะได้ไปหาคุณหมอได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง รู้แบบนี้แล้ว ก็มาเริ่มทำความเข้าใจกับรอบเดือนของตัวเองกันเลย

รอบเดือนแปรปรวน

วันที่ 1-5 (Menstrual phase)

ช่วงเวลาที่เข้าใจง่ายที่สุดแล้ว ก็คือช่วงเมนส์มานั่นเองจ้า! ซึ่งแมนส์ก็เกิดจากการที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิและไม่ได้ฝังตัวลงไปที่ผนังมดลูก ทำให้ผนังมดลูกลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนนั่นเอง ซึ่งระยะเวลาของประจำเดือนของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป บางคนอาจมีประจำเดือนแค่ 2 วัน หรือบางคนอาจมีนานถึง 7 วันเลยก็ได้

รอบเดือนแปรปรวน

ส่วนมากแล้ว 2 วันแรกจะเป็นช่วงเวลาหฤโหดที่สุดของประจำเดือน เพื่อนๆ คนไหนที่ต้องปวดหัวทุกรอบกับวันแดงเดือดของตัวเอง ลองเข้าไปอ่านทริคเล็กๆ รับมือกับวันมามากได้ที่นี่เลย

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง – เพื่อนๆ จะรู้สึกเหนื่อยอ่อน อาจมีอาการปวดท้องเมนส์ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากขยับตัว ถ้าไม่อยากห่อเหี่ยวอย่างนี้ ลองหันมาออกกำลังกายเบาๆ ก็จะช่วยเพิ่มพลังและลดอาการปวดท้องได้นะ

รอบเดือนแปรปรวน

วันที่ 6-14 (Follicular phase)

ห้าวันอันยาวนาน ประจำเดือนหมดซักที! เมื่อประจำเดือนหมดไป ร่างกายของเราจะเริ่มเตรียมความพร้อมรอการปฏิสนธิรอบต่อไปอีกครั้ง รังไข่ของเราจะเริ่มผลิตไข่ และผนังมดลูกจะเริ่มหนาขึ้นๆ อีกครั้ง

รอบเดือนแปรปรวน

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น – พอประจำเดือนหมดไปล่ะทีนี้ พลังงานมาเต็มสูบเลยจ้า ช่วงนี้เพื่อนๆ จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า อารมณ์ดี ผิวพรรณดูผุดผ่อง เปล่งปลั่งขึ้น รวมถึงการถึงจุดสุดยอดเมื่อมีเซ็กส์ก็จะรุนแรงและเกิดได้ง่ายขึ้น เรียกได้ว่าช่วงนี้แหละนาทีทอง! ฮอตไม่หยุดฉุดไม่อยู่ เหมาะกับการออกไปเดินโชว์ตัวมากที่สุดแล้ว!

วันที่ 14-25 (Ovulation phase)

Baby time! ช่วงเวลาไข่ตก หรือก็คือช่วงเวลาที่ผู้วางแผนตั้งครรภ์รอคอยมากที่สุดนั่นเอง เมื่อไข่ตกแล้วก็จะเริ่มเดินทางไปที่มดลูกเพื่อรอการปฏิสนธิของสเปิร์ม และไปฝังตัวต่อที่ผนังมดลูก โดยเราสามารถสังเกตตัวเองว่าอยู่ในช่วงไข่ตกหรือเปล่าได้โดยดูจากอุณหภูมิร่างกายที่จะสูงขึ้นเล็กน้อย และจะมีตกขาวลักษณะใสๆ เหมือนไข่ขาวเกิดขึ้นได้

รอบเดือนแปรปรวน

ระดับฮอร์โมนที่แปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว – หมดช่วงเวลานาทีทอง ก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งความดำดิ่งซะแล้ว… เพื่อนๆ จะอารมณ์รุนแรงขึ้น รวมถึงรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียได้

วันที่ 25-28 (Luteal phase)

เฟสสุดท้ายของรอบเดือนก็คือ กระบวนการเตรียมร่างกายกลับไปจุดเริ่มต้น สูงสุดสู่สามัญนั่นเองจ้าาา

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ถ้าหากไข่และสเปิร์มมีการปฏิสนธิกันเกิดขึ้น ไข่จะฝังตัวลงไปที่ผนังมดลูกและกระบวนการตั้งครรภ์จะเริ่มต้นขึ้น แต่ถ้าไข่ไม่ได้มีการจ๊ะเอ๋กับสเปิร์ม และไม่ได้ฝังตัวลงไปที่ผนังมดลูก ฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเพื่อเตรียมให้ผนังมดลูกหลุดลอก และวนกลับไปเริ่มนับ 1 เริ่มต้นมีประจำเดือนอีกครั้ง

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โปรเจสเตอโรนและเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น – ช่วงนี้ผิวหนังของเราจะผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น ทำให้เกิดสิวมากกว่าปกติ (ถูกต้อง สิวเมนส์มีอยู่จริง) รวมถึงอาจมีอาการของกลุ่ม PMS ต่างๆ เช่น ตัวบวม คัดแน่นหน้าอก อารมณ์แปรปรวน ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง เป็นต้น คงจะน่าเหนื่อยใจไม่เบา แต่ไม่ต้องห่วงเพราะอาการเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ ด้วยการออกกำลังกาย ทานน้ำตาลให้น้อยลง พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำเยอะๆ ถ้าทำสิ่งเหล่านี้แล้วยังเอา PMS ไม่อยู่ ลองเข้าไปหาเพลย์ลิสต์ดนตรีดับความหงุดหงิดได้ที่นี่เลย

ให้ Pynpy’ ช่วยเพื่อนๆ รับมือกับรอบเดือนของตัวเอง

แค่นี้เอง ไม่ได้เข้าใจยากเลยใช่มั้ยล่ะ แถมยังได้รู้ที่มาที่ไปของความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางร่างกายที่เราคิดไม่ถึงว่าจะเป็นผลกระทบจากฮอร์โมนด้วยนะ เพราะฉะนั้นลองกลับมาสังเกตตัวเองกันดูดีกว่าว่าในรอบเดือนของเราใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน แต่ๆๆๆ ตัวเลขที่พวกเรายกตัวอย่างมานี้เป็นแค่ตัวเลขโดยเฉลี่ยเท่านั้นนะจ้ะ เพราะรอบเดือนของแต่ละคนก็มีระยะเวลาแตกต่างกันไป คนที่ประจำเดือนมาเท่ากันสม่ำเสมอก็จะนับวันง่ายกว่า และสามารถวางแผนการใช้ชีวิตล่วงหน้าได้ดีเลยล่ะ โชคดีจริงนะเนี่ย!

pynpy'

แล้วถ้าหากฉันเป็นคนประจำเดือนมาไม่ปกติล่ะ นับไปก็งงๆ เพราะคลาดเคลื่อนมากน้อยไม่เท่ากันอีก ต้องทำยังไง?!

ใจเย็นๆ ก่อนนะ เพื่อนๆ ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติสามารถลองเข้าไปอ่านเทคนิคทำให้รอบเดือนมาปกติได้ อาจจะมีวิธีที่เวิร์คก็ได้ใครจะไปรู้

นอกจากนั้นแล้วก็ขอให้ Pynpy’ ได้เป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆ อยู่กับรอบเดือนที่อาจจะคาดเดาได้หรือคาดเดาไม่ได้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการใส่กางเกงในอนามัยของเราตั้งแต่ช่วงท้ายของรอบเดือน หรือก็คือช่วงที่คาดว่าประจำเดือนกำลังใกล้จะมา จะได้รองรับทุกสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ต้องกลัวว่าจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนโดยไม่รู้ตัว และใส่วนยาวๆ ไปจนกว่าจะหมดประจำเดือนได้เลย

ก่อนจากกันก็อย่าลืม! ติดตามพวกเราได้ทุกช่องทางในโซเชียลมีเดีย ทั้ง FacebookInstagramYouTubeTwitter รวมถึงใน LINE กันด้วยนะ!