fbpx

ออกทริปต่างประเทศทั้งที ทำไมรอบเดือนถึงชอบแปรปรวนชวนนอยนะ ?!

Pynpy’ มีคำถามจ้าาา ! – “เพื่อนๆ เคยสังเกตไหม ว่าเวลาไปเที่ยวต่างประเทศหรือทริปแดนไกล ทำไม๊ทำไมนะ รอบเดือนถึงเพี้ยน เมนส์ถึงแปรนปรวนชวนนอยทุกที ?” 

traveling with period

เอางี้ดีกว่าค่ะ เชื่อว่าเพื่อนๆ คงไม่ซีเรียสหรือไม่คิดมากหรอก ถ้าจะไปทริปต่างประเทศเพื่อไปหาญาติหรือคนสนิทเพื่อพักผ่อนหย่อนใจแบบไม่มีแพลนเอ็กซ์สตรีมอะไร แต่ถ้าเป็นทริปที่เพื่อนๆ แพลนไว้ว่าจะไปนั่นทำนี่ ต้องพิชิตนั่นต้องห้ามพลาดนี่ เพื่อนๆ ก็คงไร้ซึ่งความสนุกความมันส์ถ้ารอบเดือนของเพื่อนๆ ผิดเพี้ยนจนทำแพลนพังไปหมด… จริงไหมคะ?

แบบนี้เพื่อนๆ ก็พอจะปะติดปะต่อได้แล้วใช่ไหมคะ ว่าไอ้เจ้าเมนส์สุดซ่าของเราเนี่ย มันต้องมีเอฟเฟ็กต์จากเวลาและการเดินทางอย่างแน่นอน แต่มันสัมพันธ์กันยังไง มันเกี่ยวข้องอะไรกัน มาค่ะ ~ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ !

ทำไมการเดินทางถึงทำให้รอบเดือนแปรปรวน ? 

จังหวะนี้ Pynpy’ ขอเริ่มหัวข้อนี้แบบจริงจังเลยดีกว่านะคะ เพราะอยากที่จะแชร์สาระน่ารู้เรื่องนี้ให้กับเพื่อนๆ จริงๆ ><

ที่รอบเดือนของเพื่อนๆ แปรปรวนในช่วงที่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศหรืออยู่ในดินแดนที่มีระยะเวลาที่ต่างจากเดิมมาก (คนละทวีปหรือ Time Zone) เป็นความสัมพันธ์ของฮอร์โมนที่มีต่อนาฬิกาชีวภาพ หรือกิจวัตรการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเพื่อนๆ นั่นเองค่ะ 

hand holding clock against body

รอบเดือนของมนุษยเมนส์เราล้วนมาเป็นรอบเดือนตามชื่อเรียกเลยจริงๆ ที่ (ปกติแล้ว) จะมาทุกเดือน เดือนละครั้ง แต่ในขณะเดียวกัน ที่เพื่อนๆ ไปเที่ยวต่างประเทศเอย ไปอยู่ทวีปอื่น อยู่ Time Zone อื่นเอย การทำงานของร่างกายเพื่อนๆ ก็มีการเปลียนแปลงแบบรายวัน ซึ่งมันบ่ตรงกันเด้อ !

การเปลี่ยนแปลงของเวลาการกิน การนอน ภูมิคุ้มกัน อุณหภูมิร่างกาย และจังหวะการเต้นของหัวใจ ล้วนทำให้นาฬิกาชีวภาพของเพื่อนๆ ส่งสารต่อในร่างกายว่า “เห้ย มีการเปลี่ยนแปลงนะ ! กำลังจะรวนแล้วนะ ! รีบปรับตัวให้มันตรงกับเจ้าของร่างกายมนุษย์คนนี้เดี๋ยวนี้ !”

Pynpy' Tips

ไม่ใช่แค่การเดินทางนะคะ ที่อาจมีผลกระทบทำให้รอบเดือนของเพื่อนๆ ผิดเพี้ยนได้ แต่การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรของเพื่อนๆ ก็อาจส่งผลกระทบกับรอบเดือนของเพื่อนๆ ได้ด้วยเช่นกัน เช่น การนอนไม่เป็นเวลา การทำงานกะดึก อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น
อาการนอนไม่หลับ

ซึ่งแน่นอนค่ะ ว่ามันเปลี่ยนแบบปุบปับทันทีไม่ได้อยู่แล้ว กระบวนการและระบบในร่างกายต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดีเลย์และจับจังหวะกันใหม่จนกว่าจะจับจุดสมดุลได้เหมือนเดิม จึงบางที อาจทำให้ฮอร์โมนเพศและรอบเดือนของเพื่อนๆ มาล่าช้าหรือเร็วกว่ากำหนดนั่นเองค่ะ 

และแน่นอนว่า Pynpy’ ไม่ได้คิดเองเออเองมาบอกให้เพื่อนๆ ฟังน้าาา ~ แต่เพราะมีผู้เชี่ยวชาญและผลวิจัยต่างๆ การันตีออกมาแล้วว่ามันจริงค่ะ อย่าง “คุณหมอชัย – นพซ วิชัย อังคเศกวินัย ก็ได้กล่าวไว้ว่า “เกิดจากร่างกายขาดการพักผ่อน บางกรณีอาจมาจากการเดินทางข้ามทวีป มีการอดหลับอดนอน หรือมีอาการ ‘Jet lag’ ก็จะส่งผลต่อประจำเดือนได้” 

Pynpy' Tips

‘Jet lag’ คืออาการที่ร่างกายแปรปรวนจากการเดินทางระยะไกล ทำให้เวลาการนอนเปลี่ยน รู้สึกเหนื่อยล้า มีความสับสนงุนงง ระบบการย่อยและระบบการขับถ่ายแปรปรวน รวมไปถึงพลังงานก็ลดฮวบลงอย่างกระทันหัน และโดยส่วนใหญ่ อาการ Jet lag จะหนักกว่าปกติหากเดินทางจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก เพราะร่างกายต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับระยะเวลาใน 1 วันที่น้อยลง ทำให้มีผลกระทบกับร่างกายและฮอร์โมนอย่างแรงไงค้า ~
woman sleeping on a flight

ยังไงสิ ! ความรู้ใหม่แบบจัดเต็มเลยใช่ไหมคะ ? ทีนี้เพื่อนๆ ก็พอจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วใช่ม้า ว่าทำไมการเดินทางไปต่างประเทศหรือไป Time Zone อื่น ถึงทำให้บางทีประจำเดือนคลาดเคลื่อนหรือรอบเดือนไม่ตรงกับปกติที่เคยเป็น… ทีนี้เรามาดูกันอีกหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าไอ้การไปเที่ยวต่างประเทศเนี่ย มันจะมีผลกระทบขนาดไหนกันเชียวกับรอบเดือนของเพื่อนๆ ? ไปค่ะ ตามมาต่อค่ะ !

การออกทริปเที่ยวต่างประเทศ กระทบกับรอบเดือนยังไงได้บ้าง ? 

1. ระยะเวลาของรอบเดือนนานขึ้น (ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด)

แน่ล่ะค่ะ ว่าการเดินทางจากฟากนึงของโลกไปอีกฟากนึง หากมันใกล้ช่วง Luteal Phase หรือระยะหลังไข่ตก ที่ฮอร์โมนเริ่มเปลี่ยนแปลงสำหรับประจำเดือนครั้งถัดไป ถ้าร่างกายของเพื่อนๆ รวนเมื่อไหร่ ไอ้เจ้าวงจรของน้องไข่ในมดลูกของเพื่อนๆ ก็มีเซกันบ้างแหละค่ะ จะเกาะผนังมดลูกดีไหมนะ จะหลุดลอกออกมาตอนไหนดีนะ สับสนไปหมดแล้ว ~ กลายเป็นว่างงอยู่นาน เอ้า เลยวันเมนส์ (ควร) มาเฉยเลย! 

counting menstrual cycle

2. ระยะเวลาของรอบเดือนสั้นลง (ประจำเดือนมาเร็วกว่ากำหนด)

ส่วนบางคนที่รอบเดือนอยู่ในช่วงระยะไข่ตกแล้ว และประจำเดือนจะมาในไม่ช้า แต่อยู่ดีๆ ก็จ๊ะเอ๋มาก่อนกำหนด เพราะดันบินไปต่างแดนก่อนซะนี่ เหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกันค่ะ เพราะน้องฮอร์โมนมีความสับสนหรือความเปลี่ยนแปลงที่ฉุกละหุกเกินไป ทำให้มีการหลุดลอกของประจำเดือนที่เกาะอยู่ที่ผนังมดลูก สลายตัวทะลุน้องจุ๋มจิ๋มออกมาก็เป็นได้เหมือนกันน้า 

3. ประจำเดือนไม่มา (ซะเลย)

“ สับสนเกินจะทน เอาเป็นว่าไม่ต้องมีก็ได้เดือนนี้ “ นี่คือสิ่งที่ Pynpy’ คิดว่ามดลูกอาจจะคิดอยู่ค่ะ แหม ร่างกายแปรปรวนซะขนาดนี้ ถ้าไม่รู้ว่าจะร้ายหรือจะรักยังไง งั้นเราก็ขอเทเลยแล้วกัน… ประจำเดือนไม่มาก็เกิดขึ้นได้สำหรับมนุษย์เมนส์หลายคนที่เดินทางข้ามทวีปเหมือนกันนะคะ เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนสับสนและไม่สามารถหาจุดลงตัวได้ จึงทำให้เดือนๆ นั้น เพื่อนๆ อาจไม่มีเมนส์แล้วเที่ยวได้แบบตัวปลิว (แต่กังวลใจ) เลยน่ะสิคะ

Gloomy Caucasian woman cares about personal hygiene

4. ประจำเดือนมานานหรือเร็วกว่าปกติ

ระยะเวลาของประจำเดือนก็ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและร่างกายระหว่างการเดินทางได้เหมือนกันค่ะ หรือยิ่งใครที่เมนส์มาระหว่างเดินทางพอดี อาจเป็นไปได้ที่ระยะเวลาการเป็นเมนส์จะผิดเพี้ยนจากปกติ อาจเป็นนานขึ้น หรือหมดเร็วขึ้น ก็มีโอกาสทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น เตรียมใจเผื่อไว้ก่อนก็ดีน้า

5. ประจำเดือนอาจมาน้อยกว่าหรือมากกว่าปกติ 

ด้วยความที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าจะต้องมีผลกับปริมาณของประจำเดือนค่ะ เพราะบางทีฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็อาจเป็นตัวทำให้ประจำเดือนของเพื่อนๆ ไหลแบบโฮกฮากหรือไหลแบบติ๋งๆ ก็ล้วนแต่ระบบการทำงานของร่างกายเพื่อนๆ เลยนะ ว่าจะออมมือให้เพื่อนๆ ได้มากขนาดไหน 

ประจำเดือนมามาก-มาน้อย

อื้อหือออ ! กระทบหลายมิติขนาดนี้ เตรียมตัวเตรียมใจยังไงไหว ?? เอางี้ดีกว่าค่ะ Pynpy’ จะแนะนำให้สัก 3-4 ข้อแล้วกันน้าาา มาค่ะๆ !

เตรียมตัวยังไง กับการเดินทาง vs. ประจำเดือนที่ไม่แน่นอน 

1. เตรียมโปรดักส์ให้พร้อมทุกสถานการณ์

ไม่ใช่ทุกประเทศที่ไปจะมีผ้าอนามัย หรือผลิตภัณฑ์อนามัยแบบเดียวกับที่เพื่อนๆ ใช้นะคะ เผลอๆ ไปซื้อของที่นู่น เจอของดีก็ดีไป (แต่หาต่อที่ไทยไม่ได้แล้วนะ ฮ่าๆ) แต่ถ้าเจอแล้วแพ้คันคะเยอขึ้นมาก็นอยอีก ควรพกเผื่อสำรองไปด้วยค่า 

หรือจะเอาให้ดีก็พก กางเกงในอนามัย Pynpy’ ไปเลยจบๆ ค่ะ ! ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย แถมรองรับเทียบเท่าผ้าอนามัย 2-3 แผ่นเลยด้วยน้า ที่สำคัญ เพื่อนๆ จะใช้เป็นกางเกงในปกติในวันที่ประจำเดือนยังไม่มา หรือจะใส่กันไว้เผื่อฉุกเฉินก็ได้เลยไม่เป็นปัญหา เพราะเรามีทั้งรุ่น Classic Cut และ Seamless High Waist สำหรับมนุษย์เมนส์ที่มาเยอะ กับรุ่น Daily สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามาน้อย หรือกำลังเผชิญกับปัญหาตกขาวมามากในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนเป็นตัวช่วยค่ะ

opening up pynpy' panties box
pouring water on pynpy' panties and u
pynpy' panties and box with thank you note

จริงๆ แล้วกางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเรา เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษ ที่มี Anti-bacteria ทำให้ระบายอากาศได้ดี แต่ก็ยังคงคุณสมบัติการ “ซึมซับและกักเก็บของเหลวได้อย่างดีเยี่ยม” ทำให้เหมาะทั้งสำหรับวันแดงเดือดและการเคลื่อนไหว ไม่มีเลอะซึมเปื้อนระหว่างทริปแน่นอนค่า แถมยังใช้งานง่าย ทำความสะอาดง่าย ล้าง-ซัก-ตาก ไม่ต้องกังวลหาที่ทิ้งที่เหมาะสมหรือระวังเรื่องสุขอนามัยในที่สาธารณะเลยจ้าาา ~

2. ทำใจไว้ก่อน เผื่อเธอ (เมนส์) เปลี่ยนใจ

เพื่อลดการแพนิคหรือการเมนส์มาไม่ทันตั้งตัว ก็ควรทำใจเตรียมรับมือไว้ก่อนเดินทางไปเลยค่ะ ตัดปัญหาล่กหน้างานแล้วมีสติให้ได้มากที่สุดน้า และที่สำคัญ อย่าเพิ่งไปตื่นตระหนกว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ เพราะในช่วงที่เที่ยวเนี่ยกำลังจะเริ่ม ถ้าเพื่อนๆ ป้องกันดีๆ และมี Safe Sex ยังไงก็ไม่ท้องหรอกน้า

hand holding pregnancy test

3. ตกไข่ช่วงไหน ต้องนับยังไงล่ะทีนี้ ? 

ถ้าเพื่อนๆ ยังไม่อยากมีเบบี๋น้อยก็ใช้วิธีการป้องกันอย่างการทานยาคุม ยาเลื่อนประจำเดือน หรือการสวมถุงยางอนามัยในทริปสวีทกับคนรัก หรือถ้าอยากมีเจ้าก้อนตัวน้อยแล้วล่ะก็ เตรียมชุดพริ้วๆ รอจังหวะโรแมนติกแล้วเมคเลิฟในช่วงไข่ตกได้เลยค่าาา แต่สิ่งสำคัญก็คือเพื่อนๆ จะต้องนับวันตกไข่หรือระยะเวลาตกไข่ให้ตรงหรือแม่นยำที่สุดเพื่อโอกาสเสกเด็กเข้าท้องจะเกิดขึ้นได้ตรงเวลานะคะ 

4. นับให้แม่น บันทึกให้ดี เผื่อเป็นตัวช่วยในทริปถัดไป

การบันทึกอาการ Jet lag หรือผลกระทบของน้องเมนส์ในช่วงการเดินทางก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้เพื่อนๆ เตรียมรับมือกับทริปต่อไปได้ดียิ่งขึ้นนะคะ จะลองจดไว้ในสมุดโน๊ตประจำตัวหรือจะจดในแอปนับประจำเดือนก็เอาที่สะดวกเลยค่ะ แค่อย่าลืมจดก็พอน้า ~

hand noting down on calendar

จะทริปไหนๆ ก็ไม่ต้องกลัว แค่เตรียมตัวให้พร้อมกับกางเกงในอนามัย Pynpy’

ใช่ค่ะ การเตรียมตัวคือสิ่งที่จำเป็นมากๆ ในการเดินทางสำหรับทุกคน และยิ่งสำหรับมนุษย์เมนส์อย่างเรา ที่ต้องใช้โปรดักส์เสริมเป็นตัวช่วยอีกหนึ่งชั้นอย่างผลิตภัณฑ์อนามัย ก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับมัน และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบกับเจ้าประจำเดือนตัวแสบของเราด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น Pynpy’ แนะนำว่าจดไว้ค่ะ! แล้วก็เตรียมมันด้วยมือของตัวเพื่อนๆ เอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหน้าผม ของใช้ของจำเป็น รวมไปถึงกางเกงในอนามัย Pynpy’ ก็ยัดมันเข้าไปในกระเป๋าเดินทางด้วยเลยค่ะ

Model wearing Pynpy's panties while holding Pynpy's box

หรือถ้าใครยังไม่ได้จับจองกางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นของตัวเอง และอยากมีไว้ให้อุ่นใจก่อนเดินทาง ก็สามารถ กดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของ Pynpy’ เลยน้า ~ มีให้เลือกตั้ง 11 ไซส์ (3XS – 5XL) แถมยังมี 2 รุ่นให้เลือกตามสไตล์การแต่งตัวของเพื่อนๆ ด้วยค่ะ การันตีเลยว่าผ้านุ่มสบาย อ่อนโยนต่อจุดซ่อนเร้น แถมโอบกระชับเข้ากับหุ่นทุกสรีระเลยค่ะ เที่ยวทริปมันส์ๆ ได้แบบไม่ต้องกังวลใจ หรือจะใส่เป็นกางเกงในปกติแบบเสริมความมั่นใจให้กับตัวเองอีกระดับ ก็ได้สบายๆ เวิร์คสุดๆ !

model wearing pynpy' panties stretching
model wearing pynpy' panties posing on the bed

ก่อนถึงทริปจริงๆ ก็อย่าลืมแวะไปอ่านบทความและคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับประจำเดือนและวิธีการรับมือต่างๆ ของนางที่ หน้าเว็บไซต์ Pynpy’ เผื่อเป็นสิ่งที่เพื่อนๆ อาจประสบพบเจอระหว่างทริปก็เป็นได้น้า จะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน หรือจะ DM สายตรงเข้าหาแอดมินของเราเพื่อขอคำปรึกษาภาษามนุษย์เมนส์กับเราก็ได้เช่นกัน สะดวกช่องทางไหนก็จิ้มไปได้เลยจ้าาา >> Facebook, Youtube, Instagram, Twitter, Line Official

woman getting ready for trip

สำหรับวันนี้ Pynpy’ ขอตัวไปซักกางเกงในอนามัย Pynpy’ แล้วตากให้แห้งเตรียมไว้ก่อนน้า มะรืนนี้จะไปทัวร์ยุโรป ไปหาทีมวิศวกรที่ช่วยออกแบบและพัฒนากางเกงในอนามัย Pynpy’ นี้ และแอบไปคิดแพลนดีๆ สำหรับโปรดักส์ชิ้นต่อไปของเราแล้ววว อิอิ แต่ขออุบไว้ก่อนนะ ! บ๊ายยย ~ จุ๊บๆ ❤️