fbpx

ไขข้อสงสัย! ประจำเดือนมาเยอะแค่ไหน สังเกตปริมาณได้ยังไงกันแน่?

อ๊ะไหนใครบ้าง! ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ซึมซับประจำเดือนไปทั้งที่ไม่แน่ใจ ว่าเมนส์ของตัวเองมาเยอะแค่ไหน อาศัยความรู้สึกล้วนๆ ว่าต้องเปลี่ยนเมื่อไรก็เมื่อนั้น เพราะไม่เห็นว่า ปริมาณประจำเดือน จะเป็นสิ่งสำคัญอะไร…

ว้าย! ไม่ได้นะคะเพื่อนๆ เพราะ การทำแบบนั้นน่ะ จะทำให้เราละเลย ที่จะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน รอบเดือน หรือ สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นไปได้อย่างง่ายดาย แทนที่จะได้รู้จักประจำเดือนของตัวเอง และเตรียมตัวรับมืออย่างถูกต้อง ก็กลับกลายเป็น “การพึ่งดวง” ทุกเดือนไป

Pynpy’ จะไม่ยอมให้เพื่อนๆ ทำแบบนั้นต่อไปแน่นอน! วันนี้ก็เลยจะพาทุกคน มาเรียนรู้วิธีสังเกต และ ระบุปริมาณเลือดประจำเดือนของตัวเองกัน ทีนี้เพื่อนๆ จะได้นำไปรับมือกับเมนส์ตัวดี ได้ถูกวิธีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ไปกันเลยค่ะ!

ประจำเดือนมาเยอะแค่ไหน สังเกตปริมาณได้ยังไงกันแน่? | Pynpy'
ประจำเดือนมาเยอะแค่ไหน สังเกตปริมาณได้ยังไงกันแน่? | Pynpy’

ปริมาณเลือดประจำเดือน หมายถึงอะไร ปริมาณแค่ไหนเรียกปกติ?

อันดับแรก Pynpy’ ขอชวนเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ประจำเดือน ของพวกเรา ไม่ได้มีแค่ “เลือด” เพียงอย่างเดียว เพราะ ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกขนาดเล็ก ของเหลว สารคัดหลั่งจากช่องคลอด ลิ่มเลือด ฯลฯ อยู่อีกด้วย ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้เอง คิดเป็นปริมาณมากถึง 64% เลยล่ะค่ะ หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า เลือด ที่อยู่ในประจำเดือนนั้น มีอยู่แค่ 36% เท่านั้นเอง

ดังนั้น “ปริมาณประจำเดือน” ที่เรียกๆ กันเนี่ย จึงมีความหมายถึง เลือด ของเหลว และส่วนประกอบอื่นๆ ทั้งหมดที่ประกอบรวมกันออกมาเป็นประจำเดือนนั่นเอง

ปริมาณเมนส์

ส่วน ปริมาณเลือด” ที่เสียไป จะหมายถึงเลือดประจำเดือนเพียงอย่างเดียวเพียวๆ ซึ่งมีปริมาณอยู่ที่ 30 – 72 มิลลิลิตร หรือ 2 – 5 ช้อนโต๊ะต่อ 1 รอบเดือนค่ะ

ถึงแม้ว่า ปริมาณประจำเดือน ของแต่ละคน จะแตกต่างกันออกไป อาจบอกได้ยาก ว่าอันไหนมากเกินไป หรือน้อยเกินไปสำหรับคนๆ นั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วถ้าเพื่อนๆ มีประจำเดือนมาปกติทุกเดือน ระยะเวลา อยู่ในช่วง 3 – 7 วัน ปริมาณเลือดไม่ได้มากเว่อร์เกิน 80 มล. หรือไม่มีอาการเจ็บปวดจนทนไม่ไหว ร่างกายโดยรวมปกติดี อย่างนี้ก็มักจะถือว่าอยู่ในช่วงปกติค่ะ!

ปริมาณเมนส์

เหตุผลสุดปัง! ทำไมการเข้าใจปริมาณประจำเดือนนั้นจึงสำคัญนัก!

ประจำเดือน ถึงจะมาเยือนเดือนละไม่กี่วัน แล้วพลันจากไป แต่การสังเกตปริมาณ ลักษณะ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ! เพราะ เราจะได้รู้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประจำเดือนอย่างละเอียด เช่น ประจำเดือนมาช่วงไหน, มามาก หรือน้อยในวันใดบ้าง, ร่างกายเราเป็นยังไงในช่วงต่างๆ ของรอบเดือน, เรามีอาการ PMS อะไรไหม ควรจัดการร่างกายยังไงดี และอื่นๆ ทั้งหมด! ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นี่แหละ ที่จะนำไปสู่ข้อสรุปว่าสุขภาพโดยรวมของเรานั้นเป็นยังไง

พูดง่ายๆ ว่าถ้าหากร่างกายปกติ ระบบภายในทำงานดีเยี่ยม เมนส์ก็จะมาปกติ ปริมาณค่อนข้างคงที่ในแต่ละเดือน ไม่มีสัญญาณเตือนอันตรายต่างๆ สบายใจได้ชิลๆ!

PMS

แต่ถ้าเมื่อไรที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ปริมาณประจำเดือนมามากเกินไป – น้อยเกินไป – ไม่มาเลย หรือ มีอาการปวดท้องเมนส์หนักจนทนไม่ไหว รู้สึกเหนื่อยคล้ายจะเป็นลมตลอดเวลา หรือ PMS หนักกว่าปกติ ฯลฯ ก็จะสามารถบ่งบอกได้ชัดเจนเลยค่ะ ว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว เราจะได้ไปหาคุณหมอได้ทันท่วงทีนั่นเอง

และอีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ เราจะได้เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ประจำเดือน ได้เหมาะสมกับปริมาณเมนส์ของตัวเอง! รู้ว่าต้องเตรียมผลิตภัณฑ์วันละกี่ชิ้น ควรเปลี่ยนตอนไหน ใช้ซึมซับมากน้อยเท่าไรถึงจะพอ บอกเลยว่า ถ้ามีข้อมูลปริมาณประจำเดือนเอาไว้ ชีวิตวันแดงเดือดก็จะง่ายขึ้นเยอะ!

Pynpy’ Tip

เวลาจดบันทึกปริมาณประจำเดือน อย่าลืมใส่รายละเอียด ปริมาณประจำเดือนของแต่ละวัน ไว้ด้วยนะคะ จะได้รู้ว่าประจำเดือนของเรามากี่วันกันแน่ แล้วแบบไหนเรียกว่ามามาก หรือมาน้อยสำหรับตัวเอง!
ปริมาณเมนส์

สังเกตปริมาณเลือดประจำเดือนยังไง ใช้วิธีไหนถึงจะเวิร์ก!?

หลังจากเข้าใจความหมาย และความสำคัญของการ รู้จักปริมาณประจำเดือนกันไปแล้ว ทีนี้ก็มาดู วิธีการวัดปริมาณประจำเดือน และเลือดที่ออกมา กันต่อได้เลย!

ขอบอกก่อนว่า การวัด “ปริมาณเลือดประจำเดือน” แบบถูกต้องเป๊ะๆ เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร แต่ก็สามารถทำได้ โดยใช้ “ผลิตภัณฑ์ซับประจำเดือน” ของเพื่อนๆ เป็นเครื่องมือนั่นเอง!

วิธีการนั้นง่ายๆ ทำตามได้ เพียง 3 สเต็ป

1. รู้ว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด รองรับประจำเดือนได้กี่มิลลิลิตรกันแน่

เริ่มต้นที่การสังเกตก่อนเลย ว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ สามารถรองรับของเหลวได้ปริมาณเท่าไร ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ มักจะมีระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ หรือตามเว็บไซต์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ค่ะ

อุปกรณ์สำหรับเมนส์

แต่ถ้าในกรณีที่ไม่แน่ใจ Pynpy’ ก็รวบรวมข้อมูลของผลิตภัณฑ์ยอดฮิตมาฝากกันด้วย!

  • ผ้าอนามัย: แบบปกติสำหรับกลางวัน 1 แผ่น มักจะรองรับประจำเดือนได้ประมาณ 5 มิลลิลิตร แต่ถ้าแบบกลางคืน หรือวันมามาก ก็อาจรองรับได้ถึง 10 – 15 มิลลิลิตร เลยทีเดียว

  • ถ้วยอนามัย: เจ้าน้องถ้วยนี้มีหลายไซซ์ หลายรูปแบบ โดยจะมีความจุตั้งแต่ 15 – 75 มิลลิลิตรเลยล่ะค่ะ! ส่วนใหญ่จะกำหนดปริมาณความจุเอาไว้อย่างชัดเจน ที่ข้างกล่องบรรจุภัณฑ์ หรือคู่มือการใช้งาน ยังไงเพื่อนๆ ลองเช็กดูก่อนเลือกใช้ด้วยน้า

  • ผ้าอนามัยแบบสอด: แบบซึมซับปกติจะจุของเหลวได้ประมาณ 3 – 5 มิลลิลิตร แต่ถ้าแบบซึมซับจัดหนักจัดเต็ม! ก็อาจซับได้มากถึง 10 – 12 มิลลิลิตรเลย

  • [แถม💜] กางเกงในอนามัย Pynpy’: ตัวเลือกน้องใหม่กางเกงในซับประจำเดือน จุประจำเดือนได้เน้นๆ รองรับของเหลวได้เทียบเท่ากับ ผ้าอนามัย 2 – 3 แผ่นเลยทีเดียวค่ะ!
Pynpy' Tip

ถ้าจะใช้ ผ้าอนามัยแบบสอด ต้องเปลี่ยนทุก 4 – 6 ชั่วโมง รวมถึงไม่แนะนำให้ใส่นอน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ หรือภาวะ Toxic Shock Syndrome (TSS) นะคะ! อยากให้ปลอดภัยหน่อย ก็ใช้แบบซึมซับปกติดีกว่าจะได้ไม่เผลอใส่นานเกินไป
ปริมาณเมนส์

2. เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทุกครั้งต้องคอยดู รู้ปริมาณประจำเดือนที่ออกมา

หลังจากรู้ปริมาณที่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ สามารถรับได้แล้ว ทุกครั้งที่เราเปลี่ยน เราก็แค่สังเกตว่าเมนส์ออกมาเต็มผลิตภัณฑ์เลยไหม จุของเหลวมาจนแน่นแค่ไหน แล้วกะปริมาณเอาได้เลยจากข้อมูลที่มีอยู่

ตัวอย่าง หากใช้ผ้าอนามัยแบบกลางวันสำหรับวันมาปกติ แล้วเมนส์มาจนเต็มแผ่นแน่นตึ้บ เราถึงได้เปลี่ยนแผ่น ก็สามารถกะปริมาณได้ว่าประจำเดือนที่ออกมารอบนี้ คือ ประมาณ 5 มล. นั่นเอง

ปฏิทิน

3. จดบันทึกเอาไว้ อย่าได้ลืม!

รู้ข้อมูลปริมาณประจำเดือนเมื่อไร จดเอาไว้ด้วยนะคะ! ขอให้เก็บข้อมูลทุกๆ ครั้งที่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ จนเอามารวบรวมเป็นปริมาณประจำเดือนในแต่ละวัน แต่ละเดือน ทำนองนี้ไปเรื่อยๆ

เมื่อจดได้ครบ 3 – 4 รอบเดือน และปริมาณประจำเดือนค่อนข้างคงที่ ทีนี้แหละ เราก็จะได้คำตอบ! ว่าปริมาณประจำเดือนปกติของเรา อยู่ที่ประมาณเท่าไร แล้วก็สามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพต่อไปได้เลย จบปิ๊ง! สวย! เก๋!

เมนส์
Pynpy' Tip

แอปสำหรับจดประจำเดือนบางแอป มีตัวเลือกให้บันทึก “ปริมาณประจำเดือน” ด้วยนะคะ! ถ้าใครไม่ถนัดจดเอง ลองใช้แอปพวกนี้เป็นตัวช่วยก็น่าสนใจไม่ใช่เล่นเลยล่ะ!

โอ๊ะ! แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่าปริมาณประจำเดือนที่ระบุได้ คือ ปริมาณที่รวมเลือดและของเหลวองค์ประกอบทั้งหมดไว้แล้วนะคะ ส่วนถ้าใครอยากรู้เพียง “ปริมาณเลือด” ที่ออกมา ก็มีวิธีคิดเช่นกัน! โดยใช้สูตรลับ ดังนี้

สูตรคำนวณปริมาณ “เลือด” ประจำเดือน

ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาทั้งหมด (มล.) x 0.36 = ปริมาณเลือดที่เสียไปในรอบเดือนนั้นๆ

ป.ล. ตัวเลข 0.36 มาจากปริมาณเลือด 36% ที่อยู่ในประจำเดือนตามที่บอกไว้ข้างต้นนะคะ ยังจำได้ใช่ไหมเอ่ย!

คำนวณเมนส์

ตัวอย่างการคำนวณ

สมมุติว่าเราใช้ ผ้าอนามัยสำหรับวันมามาก จำนวน 10 แผ่นตลอดรอบเดือนนี้ นั่นเท่ากับว่าเรามีปริมาณประจำเดือนที่เสียไป โดยประมาณเท่ากับ 100 มล. หลังจากนั้นจึงเอา 100 x 0.36 = 36 มล. ซึ่งหมายความว่าเรา เสียเลือดไปประมาณ 36 มล. และ อยู่ในช่วงปกติ (30 – 72 มล.) นั่นเองค่ะ ไม่ยากเลยใช่ไหมเอ่ย!?

เป็นยังไงกันบ้างคะกับหลักการสังเกต ปริมาณประจำเดือน และรายละเอียดต่างๆ ได้ข้อมูลเจาะลึกถูกใจกันไหมเอ่ย? ยังไงอย่าลืมเอาไปปรับใช้กันนะคะ Pynpy’ รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน

เอ๊ ~ แต่ถ้าใครยังรู้สึกว่าถึงจะรู้ข้อมูลเหล่านี้ไป ก็ยังทำให้ “การเลือกผลิตภัณฑ์ประจำเดือน” เป็นเรื่องที่ยุ่งยากในบางครั้งอยู่ดี อยากจะขออะไรที่ใช้งานง่ายกว่านี้ ไม่ต้องเรียนรู้วิธีใช้งานมากมาย แถมช่วยให้การเตรียมพร้อมรับมือกับวันแดงเดือดมันสบายขึ้นอีก! Pynpy’ มีตัวช่วยหรือเปล่า!?

Pynpy'

โอ้โห! เพื่อนๆ ขอขนาดนี้ Pynpy’ จะนิ่งนอนใจยังไงไหว ไปดูตัวช่วยดีๆ ที่หัวข้อถัดไปเลยค่ะ!

กางเกงในอนามัย Pynpy’ ตัวช่วยดีๆ ที่ทำให้วันแดงเดือดเป็นเรื่องง่าย

เรารู้ดีว่าการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประจำเดือนสักหนึ่งชนิด มาพร้อมกับการปรับวิถีชีวิต และเรียนรู้การใช้งานไม่หยุดหย่อน ดังนั้น พวกเราจึงอยากช่วยแบ่งเบาภาระของเพื่อนๆ ผู้มีประจำเดือนทุกคน โดยการคิดค้น กางเกงในอนามัย Pynpy’ ขึ้นมาค่ะ!

Pynpy'

กางเกงในอนามัย Pynpy’ นวัตกรรมดีๆ ที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย! ด้วยเทคโนโลยีส่วนซึมซับประจำเดือนที่กว้าง และยาวไปถึงด้านหลัง พร้อมรองรับ และกักเก็บของเหลว ซึมเร็วไว ไม่ไหลย้อนกลับ ระบายอากาศได้ดีเยี่ยม สวมใส่แล้วรู้สึกแห้งสบาย ใช้งานง่ายเหมือนกางเกงในธรรมดา ใส่ได้นานครั้งละ 8 – 12 ชั่วโมง ไม่ต้องมานั่งปรับการใช้ชีวิต พร้อมเป็นตัวเองได้ไม่มีลิมิตไปเลย!

หลังจากเพื่อนๆ รู้จักลักษณะ และปริมาณประจำเดือนของตัวเองแล้ว ก็สามารถออกแบบการใช้ Pynpy’ ได้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าวันไหนเมนส์จะมามาก มาน้อย หรือมาแบบไม่ทันคาดคิด! แค่มี Pynpy’ ติดตู้ไว้ ก็หายห่วงไปได้ทันที พร้อมเปิดรับประสบการณ์ดีๆ จากความแห้งสบาย ไม่ซึมเปื้อน หรืออับชื้น ไร้อาการผื่นแพ้ การันตีความดีงามด้วยมาตรฐาน OEKO-TEX

Pynpy' save the earth

นอกจากนั้น ยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ยาวนานกว่า 2 ปี เพียงซักง่ายๆ แล้วตากตามปกติแค่นั้นเอง ลดขยะจุกๆ รักษ์โลก Let the earth breathe ไปในตัว

เพื่อนๆ ผู้ใช้จริงหลายคนที่ลองใช้ ต่างก็ถูกใจในความดีงามแสนสะดวกนี้มากๆ ลองดูจากตัวอย่าง รีวิว ได้เลยค่ะ

Jube review pynpy
Jube
Human Resources
Pynpy’ คือตอบโจทย์มาก หมดกังวลเรื่องเกา (ผื่นแพ้) เรื่องเลอะ เรื่องอับได้หมดเลยจริงๆ ช่วยชีวิตมนุษย์เมนส์ ลดความหงุดหงิดลดความไม่มั่นใจไปได้เยอะเลยค่ะ
Review
UX Designer
แต่ก่อนนี่ ปจด.มายังรู้สึกผิดต่อโลกอะ เพราะนี่ชอบใช้ผ้าอนามันแบบใหญ่มาก เพราะกลัวเลอะ จะหนีไปใช้แบบสอดก็ไม่ไหว เคยไข้ขึ้น งงมาก เข็ดในแบบที่ไม่กล้าหาแบบถ้วยมาสานต่ออุดมการณ์รักโลกของตัวเองแล้ว แต่ Pynpy' เซฟมายไลฟ์มากกก มันกระชับมาก นอนก็ไม่เลอะ โยคะก็ดี ไม่บาดขา ไม่แพ้ ไม่คัน ซักออกง่าย แห้งง่าย ใช้ซ้ำได้ยาวๆ แกจะมองปจด. เป็นเรื่องปกติไปเลย
Wunny
Wunny
แพทย์ผิวหนัง
เคยอยากใส่ถ้วยอนามัย ก็คือลำบากมาก ใส่ไม่ได้ เจ็บ นี่แบบชอบ Pynpy’ มาก ตอบโจทย์ทุกสิ่งที่ต้องการ เมื่อวานไปพิสูจน์โดยการ โยคะ ต่อยมวย และเล่นเวท คือ ลืมเลยว่ามีเมนส์ ต้องลอง ไม่ลองไม่รู้

ถ้าใครสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ สั่งซื้อ มาลองใช้ได้นะคะ ตอนนี้เรามีให้เลือกถึง 3 แบบ ทั้งรุ่น Classic cut รุ่น Seamless High Waist ไร้ขอบ และรุ่น Daily ที่มาพร้อมไซซ์หลากหลาย เหมาะกับทุกรูปร่าง อ้อ! แล้วสำหรับการใช้งาน Pynpy’ ครั้งแรก เราแนะนำให้ลองใส่ที่บ้านก่อนนะคะ จะได้เปลี่ยน หรือปรับใช้กับปริมาณประจำเดือนของตัวเองได้สะดวก 😊

หวังว่า Pynpy’ จะได้เป็นเพื่อนซี้คนใหม่ ในวันนั้นของเดือนให้กับทุกๆ คนนะคะ! และก่อนจะจากกันไป ยังไงฝากติดตามพวกเราทาง Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ Line ด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดข่าวสารดีๆ และบทความสาระแสนสนุกแบบนี้ แล้วมาเจอกันใหม่ค่ะทุกคน