“ประจำเดือนครั้งแรก“ ประสบการณ์การเติบโตที่มีความสำคัญที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละคน สำหรับบางคนอาจเป็นสเต็ปเล็กๆ ที่จะต้องปรับชีวิตให้เข้ากับ routine และระบบร่างกายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือสำหรับบางคนก็อาจจะเป็นโมเมนต์ที่ก้าวกระโดดไปสู่จุดเริ่มต้นของการโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวมากยิ่งขึ้น

Pynpy’ เข้าใจดีนะคะว่าสำหรับบางคนการเป็นประจำเดือนครั้งแรกก็เป็นเรื่องที่หลากหลายอารมณ์ บ้างอาจจะคิดว่ามันน่ากลัว น่าตื่นเต้น น่ากังวลใจ หรืออาจจะเป็นความรู้สึกแปลกใหม่ไปเลยก็มี แถมยังต้องรีบเรียงและเรียนรู้ทำความเข้าใจอย่างไวกับระบบร่างกายใหม่นี้อีกด้วยนะ เพื่อให้มี routine ที่เหมาะสมกับตัวเองสำหรับอนาคตใหม่นี้ด้วย
ซึ่งจากการที่ Pynpy’ ไปทำการค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติม มันยังมีมุมมองที่แตกต่างและแปลกใหม่สำหรับคนอื่นๆ ในโลกกลมโตของเราด้วยน้า ที่ใช้จังหวะในการเป็นประจำเดือนครั้งแรกนี้ในการเฉลิมฉลองด้วยนะคะ ยิ่งบางวัฒนธรรมก็เฉลิมฉลองอย่างสนุกสนานและภาคภูมิใจ แต่ก็ยังมีบางวัฒนธรรมที่ยังคงเก็บการมีประจำเดือนประจำเดือนเป็นเรื่องส่วนตัวและไม่ควรพูดถึงเท่าไหร่นัก

แต่เอาเป็นว่า เรามาท่องโลกไปด้วยกัน แล้วมาทำความรู้จักกับวัฒนธรรมต่างๆ กันดีกว่าค่ะ ว่าพวกเขาทำอย่างไรกันบ้างเมื่อมีประจำเดือนครั้งแรก และมันแตกต่างกันกับคนไทยส่วนใหญ่กันยังไงบ้าง คิดซะว่าบทความนี้จะเป็นบทความที่จะพาทุกคนไปโลดแล่นในประสบการณ์ประจำเดือนครั้งแรกของแต่ละวัฒนธรรม แต่ละคนบนโลกกว้างนี้กันดีกว่าเนอะะะ
อินเดียอินใจ สร้างสรรค์พิธีกรรมชวนเฉลิมฉลอง
งั้น Pynpy’ ขอแลนด์มาที่ประเทศใกล้บ้านก่อนแล้วกันนะคะกับประเทศอินเดียอินใจ ที่เลือกที่จะเฉลิมฉลองการมีประจำเดือนครั้งแรกของน้องๆ หนูๆ วัยรุ่นด้วยพิธีกรรม Ritu Kala Samskara ค่ะ ซึ่งจริงๆ ถ้าจะให้แปลความหมายของพิธีกรรมนี้ Pynpy’ ก็คงจะสรุปได้ว่าเป็นการเฉลิมฉลองการถึงวัยของการเติบโตนั่นเองค่ะ
โดยปกติน้องๆ หนูๆ ที่มีประจำเดือนครั้งแรก ก็จะแปลงร่างเปลี่ยนลุคใหม่โดยการสวมใส่ส่าหรีใหม่ เพื่อจุดประกายความหมายของการเริ่มต้นใหม่ของระบบร่างกายชาวมนุษย์เมนส์นั่นเองค่ะ

และนอกจากการได้ใส่ชุดใหม่แล้วนั้น ครอบครัวใกล้ชิดและมิตรสหายบ้านใกล้เรือนเคียง ก็จะร่วมกันมอบของขวัญและ gift เล็กๆ น้อยๆ เป็นการยินดีปรีดาให้อีกด้วยนะคะ เพื่อให้ผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกนี้ รู้สึกภาคภูมิใจในการเติบโตของตัวเอง และได้จดจำโมเมนต์ดีๆ ของการเลื่อนขั้นเลเวลของร่างกายตัวเองด้วยค่ะ
Did you know?
ที่ประเทศอินเดียเนี้ย บาง community จัดการเฉลิมฉลองในพิธี Ritu Kala Samskara นี้ใหญ่โตเทียบเคียงกันกับงานแต่งงานขนาดย่อมเลยนะคะ ซึ่งถ้าเพื่อนๆ คนไหนพอจะเคยเห็นพิธีงานแต่งงานของประเทศอินเดีย เพื่อนๆ จะรู้เลยว่างานแต่งงานที่บ้านเขาใหญ่โตอลังการและเต็มไปด้วยความครื้นเครงมากๆ เลยล่ะค่ะ และถ้าพิธีฉลองประจำเดือนครั้งแรก Ritu Kala Samskara เปรียบเหมือนงานแต่งงานขนาดย่อมอย่างที่เขาบอกกันจริงๆ แสดงว่าก็ต้องเป็นพิธีที่ว้าวซ่าไม่น้อยเลยแหละค่ะ
เจแปนแดนปลาดิบ รับทราบ เข้าใจ แต่ไม่เอิกเกริก
ไปทางเอเชียตะวันตกทางนึงแล้ว เรามาลองแวะอีกฝั่งของเอเชียกันหน่อยดีกว่าค่ะ กับประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่ต่างคนต่างรู้ว่ามักนิยมความอยู่ในกรอบ มีวัฒนธรรมที่เคร่งและไม่เอิกเกริกมากนัก ซึ่งในเคสของการมีประจำเดือนครั้งแรกก็ไม่ต่างกันเลยค่ะ
วัยรุ่นวัยซ่าส่วนใหญ่ที่มีประจำเดือนครั้งแรกก็ไม่ได้บอกกล่าวอะไรใครมากมาย เป็นเหมือนการรับทราบและทำความเข้าใจในวงในเช่นตัวเอง ครอบครัวและเพื่อนที่ใกล้ชิดเท่านั้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น Quiet acknowledgement act เพราะเดิมที ประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องประจำเดือนกันอย่างโจ่งแจ้งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีคนในครอบครัวมีประจำเดือนครั้งแรก คุณแม่ของบ้านก็มักจะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ เป็นการสื่อสารและบอกกล่าวแทนค่ะ

โดยปกติ คุณแม่ประจำบ้านมักทำเซกิฮัง (sekihan) หรือข้าวหุงกับถั่วแดงให้ผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกทานค่ะ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความโชคดี และเป็นจุดมาร์คการเติบโตของลูกรักนั่นเองค่ะ แต่เอ้ะ… เพื่อนๆ อยากรู้ไหมคะว่าทำไมต้องเป็นข้าวกับถั่วแดง… อย่างแรกเลยคือเพราะถั่วแดงเป็นสีของสัญลักษณ์ของประเทศซี่ปุ่น และยังมีสีแดงที่คล้ายกับสีประจำเดือนค่ะ และคนญี่ปุ่นมักมองว่าถั่วแดงนั้นเป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับชีวิต การเติบโต และการเฉลิมฉลองนั่นแลลล
ชนพื้นเมืองอเมริกา ทำตามตำราความศักดิ์สิทธิ์
เราลัดฟ้าเขยิบไปอีกทวีปกันดีไหมคะ กับแผ่นดินใหญ่อย่างอเมริกา แต่ด้วยความที่อเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่โตมากมาย Pynpy’ ขอเจาะลงให้เล็กและลึกลงกว่าเดิมหน่อยนะคะ แล้วเรามาทำความรู้จักกับการเฉลิมฉลองการมีประจำเดือนครั้งแรกของชนพื้นเมืองอเมริกากันแทนค่ะ
ชนพื้นเมืองอเมริกามีวิธีการเฉลิมฉลองการมีประจำเดือนครั้งแรกที่เต็มไปด้วยความครื้นเครงและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ไม่น้อย ในพิธี Kinaaldá ค่ะ ซึ่งพิธี Kinaaldá นี้ จะเต็มไปด้วยการร้องรำทำเพลง การวิ่ง และเค้กข้าวโพดสูตรพิเศษ ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของพลังของผู้หญิงและสายสัมพันธ์กับธรรมชาติค่ะ เป็นดั่งช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณในการทบทวนตัวเอง การนำพาตัวเองไปสู่เส้นทางข้างหน้า และการซัพพอร์ตกันในชุมชนกันเองค่ะ

เพื่อนๆ สังเกตไหมคะ ว่าเมื่อกี้ Pynpy’ พูดถึงการวิ่ง… ใช่ค่ะ มีการวิ่งจริงๆ โดยการให้เด็กที่เพิ่งมีประจำเดือนครั้งแรกวิ่งมุ่งหน้าไปสู่เส้นขอบฟ้า เพราะชนพื้นเมืองอเมริกา เขาเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางสู่อนาคตที่งดงามนั่นเองค่ะ ลึกซึ้งสุดๆ ไปเลยใช่ไหมล่าาา
วัฒนธรรมชาวกานา บรรเลงครื้นเครงสู่เส้นการเติบโต
อ้ะๆ ก่อนจะแว้บกลับสู่ประเทศไทยของเรา Pynpy’ ขอแวะไปประเทศกานา ฝั่งตะวันตกของแอฟริกาก่อนแล้วกันนะคะ เพราะชาวกานานี้ เขาก็มีวิธีเฉลิมฉลองการมีประจำเดือนครั้งแรกที่น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยความสนุกไม่แพ้กัน ในพิธี Dipo หรือที่แปลว่าพิธีกรรมสู่วัยรุ่น
ในพิธี Dipo นี้ น้องๆ ที่เพิ่งเป็นประจำเดือนครั้งแรกจะได้เครื้นเครงไปกับการร้องและเต้น โดยสวมเครื่องประดับที่สวยและงดงามเต็มไปหมดค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นชุดเดรสสวยๆ และเครื่องประดับที่เป็นลูกปัดค่ะ เป็นดั่งสัญลักษณ์ของการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ชีวิตของผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว

แต่จริงๆ การบรรเลงครื้นเครงในพิธี Dipo ของชาวกานาไม่ได้มีแต่ความสนุกเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่พิธี Dipo ยังแฝงไปด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับการเติบโตเป็นหญิงสาวเต็มตัวและความรับผิดชอบที่ชีวิตของผู้ใหญ่ต้องรับมือด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบภายในครอบครัว กิจกรรมและการกระทำที่ดีต่อครอบครัว และคุณค่าของชุมชนและคนในครอบครัวค่ะ เรียกได้ว่าเป็นเส้นทางสู่การเติบโตอย่างแท้จริงเลยแหละเนอะ
ประเทศไทยใดเอย สู่ความเปลี่ยนแปลงที่ผสมผสานอย่างลงตัว
….ท่านผู้โดยสารคะ เครื่องบิน Pynpy’ ได้แลนด์สู่ประเทศไทยแล้วค่ะ เย่ๆ กลับมาที่ไทยแลนด์แดนสยามของเรากันแล้ว ไหนมาดูกันหน่อยสิว่ามีสิ่งที่แตกต่างหรือมีเฉลิมฉลองอะไรบ้างไหม สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกที่กำลังจะก้าวเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว
ก่อนอื่น หลายคนคงเข้าใจพื้นฐานของเราชาวไทยกันก่อนว่าเราไม่ได้เป็นประเทศที่พูดถึงเรื่องประจำเดือนกันมากมายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะมักถูกมองว่าเป็นเรื่องน่าอาย เป็นสิ่งสกปรก หรือเป็นเรื่องส่วนตัว จึงไม่ได้ทำให้มีพิธีกรรมหรือการเฉลิมฉลองที่เอิกเกริกเหมือนหลายๆ ประเทศที่เราแวะกันไปมาก่อนหน้านี้ค่ะ ยิ่งสมัยก่อน มีถึงขั้นห้ามผู้ที่มีประจำเดือนเข้าวัดเข้าวากันเลยด้วยนะ 😰 ดูสิคะว่าต้องเงียบเชียบและถูกมองว่าไม่สะอาดขนาดไหน

แต่ยุคนั้นมันผ่านไปแล้วจ้าาา เพราะเดี๋ยวนี้ ครอบครัวและสังคมเริ่มมีการพูดถึงและการเสริมความรู้เกี่ยวกับประจำเดือนให้กับวัยรุ่นกันมากขึ้นค่ะ เริ่มมีการพูดถึงเป็นวงกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะในครัวเรือน ในโรงเรียน ใน social หรือแม้กระทั่งเริ่มมีแคมเปญและการรณรงค์ต่างๆ ก็ล้วนค่อยๆ ทลายความปิดกั้นเหล่านั้นให้เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นทีละนิดๆ ไป
ประจำเดือนครั้งไหนๆ ก็มั่นใจและแฮปปี้ได้ในทุกวัน แค่มี Pynpy’ จ้าาา
แต่ก็นั่นแหละค่ะ ไม่ว่าแต่ละสังคมหรือวัฒนธรรมไหนๆ หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยของเราเอง การเฉลิมฉลองที่ดีที่สุดที่ผู้ที่มีประจำเดือนควรได้รับ คือการมีความสบายและความมั่นใจในร่างกายของตัวเองเมื่อมีประจำเดือนค่ะ ซึ่งแน่นอนว่า… Pynpy’ นี่แหละหนา ที่จะช่วยสนับสนุน ซัพพอร์ต และมอบให้กับชาวประจำเดือนทุกคนค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นน้องๆ หนูๆ ที่เพิ่งมีประจำเดือนครั้งแรก หรือใครที่มีประจำเดือนกันมาเนิ่นนานแล้ว Pynpy’ ก็อยากที่จะมอบความ positive ให้กับเราทีมชาวเมนส์ได้รู้สึกดีเสมอๆ ยิ่งถ้าได้สวมใส่กางเกงในอนามัย Pynpy’ นวัตกรรมแบรนด์แรกในไทย ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย จะยิ่งรู้สึก (สบายเป็น) พิเศษในทุกๆ วันค่ะ (อ้ะๆ ขายของกันหน่อย 🤭)

ด้วยความที่กางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นนวัตกรรมสิ่งทอพิเศษ ที่ผสานนวัตกรรมการซึมซับในกางเกงในที่สวมใส่อย่างง่ายดายในตัวเดียวแบบครบจบ แน่นอนค่ะว่าเพื่อนๆ จะต้องรู้สึกสบายตัวมากๆ แน่ เพราะเนื้อผ้าของน้องก็นุ่มทำจากธรรมชาติ แถมยังมีนวัตกรรม Anti-bacteria ช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ก็ยิ่งทำให้เพื่อนๆ รู้สึกมั่นใจไร้กังวลได้อย่างดี
และยิ่งความที่กางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเราสวมใส่ได้เหมือนกางเกงในทั่วไป ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์อนามัยอื่นเสริม ก็จะยิ่งทำให้เพื่อนๆ ไม่ต้องคอยหลบซ่อนใครเวลาน้องเมนส์มาเซอร์ไพรส์แล้วต้องรีบวิ่งแจ้นหาผ้าอนามัยไปรองรับ หมดห่วงเรื่องความกังวลจะซึมเปื้อนได้เลย ยิ่งน้องๆ หลายคนที่ยังไม่มั่นใจหรือไม่อยากรู้สึกแปลกแยกเมื่อประจำเดือนมาครั้งแรก กางเกงในอนามัย Pynpy’ นี่แหละค่ะที่จะรับจบให้เอง

ที่สำคัญ วัยน้องๆ หนูๆ ก็ใส่ได้ทุกคน มีไซส์ให้เลือกมากถึง 11 ไซส์ แถมยังมีหลายรุ่นหลายดีไซน์ให้เลือกอีกด้วยน้า ใส่สบาย มั่นใจตลอดวัน ใส่ได้นานสูงสุด 8-12 ชั่วโมงนานกว่า 2 ปี คุ้มมาก คุ้มเวอร์ คุ้มไม่ไหวเลยค่ะ และถ้าใครอยากรู้ว่าจะคุ้มจริงไหม คุ้มแค่ไหน ต้องซื้อได้แล้วค่ะ จะช็อปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้ตามสะดวก หรือจะทักมาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกันก่อนก็ย่อมได้หนา ได้ทุกช่องทางไปเลยจ้า ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter, Tiktok, Youtube และ Line ค่ะ
Pynpy' หวังว่าทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้จะอย่างน้อยเปิดใจกับประสบการณ์ประจำเดือนที่แตกต่างกันออกไปได้ ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนครั้งแรก หรือครั้งไหนๆ แต่ทุกคนมีวิธีการรับมือและเฉลิมฉลองที่แตกต่างกันเช่นกันค่ะ สิ่งที่ควรคำนึงถึงที่สุดคือการมีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติและธรรมชาติที่สุดสำหรับร่างกายมนุษย์ และการสร้าง community หรือพื้นที่ปลอดภัยให้กับพวกเราเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนมากๆ เลยน้า เรามา appreciate ความแตกต่างเหล่านี้และเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจมันในรูปแบบที่ดีต่อตัวเองกันดีกว่าค่ะ 💜