ทำไมคุณแม่ต้องพก “ขนมปัง” เข้าไปในห้องน้ำด้วยล่ะคะ?
เอ่อ ก็…เดี๋ยวหนูโตกว่านี้ก็เข้าใจเองแหละเนอะ
อุ๊ยๆ คุณแม่คนไหนบ้างคะ ที่เผลอตอบลูกสาวตัวน้อยไปแบบนั้น เพราะคิดวิธีอธิบายไม่ทัน ว่า “ขนมปัง” ที่แม่ๆ ใช้กัน ก็คือ “ผ้าอนามัย” นั่นเอง!
ใครจะไปคิดล่ะคะ ว่าการพูดคุยเรื่อง “ประจำเดือน” จะกลายมาเป็นวาระแห่งชาติในครอบครัวเลยก็ว่าได้ ถึงรู้ดีว่าจำเป็นแค่ไหน แต่การจะพูดออกไป กลับทำให้กระอักกระอ่วนใจอย่างบอกไม่ถูก
เราจะเริ่มคุยกับลูกสาวตอนไหนดี? อธิบายยังไงให้เขาเข้าใจ? ต้องพูดยังไงให้ไม่น่ากลัวว่า เราต้องมีเลือดไหลออกจากตัวทุกๆ เดือน!? 🩸


Pynpy’ เข้าใจความรู้สึกดีเลยล่ะค่ะ! วันนี้ก็เลยจะพาคุณแม่ทุกคน ไปเตรียมตัวพร้อมๆ กัน ว่าจะชวนลูกสาวคุยเรื่องประจำเดือนยังไงดี มีหัวข้ออะไรบ้างที่ควรพูดถึง และแถมเคล็ดลับเริ่ดๆ ที่จะทำให้ประจำเดือนครั้งแรกของน้องๆ เป็นประสบการณ์ที่สุขสบาย คุณแม่จะได้หายห่วง ส่วนคุณลูกก็จะได้ไม่ต้องกังวลกัน!
ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีอะไรบ้างนั้น ก็ไปดูกันเลย!
คุยกับลูกสาวเรื่องประจำเดือน! สำคัญแค่ไหน เริ่มเมื่อไรดีที่สุด?
การคุยเรื่องประจำเดือน คือ การอธิบาย เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยสาวเต็มตัว โดยเน้นไปที่เรื่องระบบสืบพันธุ์ และ ประจำเดือนที่ต้องอาศัยการรับมืออย่างถูกวิธี
ทางที่ดี คุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกสาวได้เรื่อยๆ เลยค่ะ ตั้งแต่น้องๆ เกิดความสงสัยเกี่ยวกับร่างกายขึ้นมา หรือ อาจจะเป็นตอนที่เจอคำถามว่า “คุณแม่เอาขนมปังเข้าห้องน้ำทำไมคะ?” เหมือนตัวอย่างข้างต้นก็ได้ 😂
Pynpy’ แนะนำให้ค่อยๆ อธิบายไปทีละนิดทีละหน่อย ตามความเหมาะสมของอายุ และ เมื่อไรที่ลูกสาวถึงวัยใกล้มีประจำเดือนครั้งแรก ก็ให้หาโอกาสคุยกันอย่างจริงจังอีกครั้ง พวกเขาจะได้พร้อมรับมือกับเจ้าเมนส์ตัวดีแบบเต็มที่นั่นเอง!
พูดเลยว่า บทสนทนาเรื่องประจำเดือนนี้ มีความสำคัญสุดๆ เพราะ คุณลูกจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และ พร้อมรับมือกับวัยสาวได้อย่างไร้กังวล โดยไม่ต้องไปพึ่งแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่อาจนำเสนอข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
ยิ่งไปกว่านั้น การเปิดใจคุยกันเรื่อง “สุขอนามัยส่วนตัว” ยังเป็นโอกาสดี ที่จะทำให้เด็กๆ เห็นว่าพวกเขาสามารถปรึกษาคุณแม่ได้เสมอ โดยไม่ต้องเขินอาย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ-ร่างกาย หรือเรื่องใดๆ น้องๆ จะได้กล้ามาคุยกับคุณแม่ยังไงล่ะคะ!
Pynpy’ Tip ประจำเดือน ไม่ใช่เรื่องของคุณแม่ และ ลูกสาวเท่านั้น! แต่ทุกๆ คนควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อขจัดความเชื่อผิดๆ ที่มีเกี่ยวกับ “มนุษย์เมนส์” ช่วยให้สังคมเปิดกว้างยิ่งขึ้น และมีการปฏิบัติต่อกันอย่างเข้าอกเข้าใจมากกว่าเดิม
เอาล่ะค่ะ! เมื่อเข้าใจความสำคัญของ การสอนลูกเรื่องประจำเดือน และ หลักการพูดแล้ว ก็ไปดูประเด็นที่ควรพูดถึงกันบ้างดีกว่า


คู่มือสอนเรื่องประจำเดือนเน้นๆ ขอให้คุณแม่พูดถึง 5 ประเด็นต่อไปนี้
1. ร่างกายวัยสาว และ เรื่องราวของประจำเดือน
ขั้นแรกเลย คุณแม่ควรอธิบายก่อนว่า ประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเราทำงานได้ปกติดี ไม่ใช่สิ่งน่าอาย ไม่ได้อันตราย หรือ สร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายแต่อย่างใด!
ลูกสาวควรรู้ไว้ ว่าประจำเดือนครั้งแรกมักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 10 – 15 ปี ที่ระบบสืบพันธุ์เติบโตเต็มที่ มีการผลิตไข่เดือนละ 1 ครั้ง อีกทั้งยังมีการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนา พร้อมรับการปฏิสนธิ และ มีเบบี้ตัวน้อย
แต่ถ้าเมื่อไรที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะไม่ได้ใช้งานน่ะสิ! จึงค่อยๆ หลุดลอก และ ไหลออกมาเป็น “เลือดประจำเดือน” นี่เอง
เมื่อพูดว่า “เลือดที่ไหลออกมา” อาจจะฟังดูน่ากลัว ดังนั้น คุณแม่อาจพูดเสริมไปด้วยว่า แม้ประจำเดือนจะมาทีละ 3 – 7 วัน แต่ปริมาณที่ไหลออกมานั้นอยู่ที่ 30 – 72 มิลลิลิตร หรือ 2 – 5 ช้อนโต๊ะเท่านั้นเอง! แถมไม่ได้ทำให้เราบาดเจ็บ เหมือนตอนมีบาดแผลแต่อย่างใด ลูกสาวจะได้ไม่ต้องระแวงใจไปก่อนยังไงล่ะคะ
Pynpy’ Tip ประจำเดือนเป็นเครื่องย้ำเตือน ว่าร่างกายพร้อมที่จะตั้งครรภ์แล้ว! ดังนั้นคุณแม่อาจเสริมความรู้เรื่องเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ การตั้งครรภ์ไปด้วยก็จะดีมากๆ เลยค่ะ


2. รอบเดือนคืออะไร นับยังไงเอ่ย?
รอบเดือน คือ วงจรทั้งหมดของการเกิดประจำเดือน เริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมา และสิ้นสุดลง 1 วันก่อนประจำเดือนรอบต่อไปจะเกิดขึ้น
โดยเฉลี่ยแล้ว รอบเดือนปกติ จะอยู่ในช่วง 24 – 35 วัน ซึ่งคุณแม่ควรสอนให้ลูกๆ สังเกต และ นับรอบเดือนของตัวเองกันไว้ด้วย จะได้เตรียมตัวรับมือถูกว่าประจำเดือนจะมาช่วงไหน หรือ ถ้าหากประจำเดือนมาผิดปกติเมื่อไรจะได้รู้เท่าทัน
แต่ถ้าจะให้ง่ายกว่าเดิม ก็ให้ลูกสาวใช้ แอปนับประจำเดือน ไปเลยสิคะ! ข้อมูลไม่หาย เก็บได้ยาวๆ เผื่อใช้เป็นประวัติทางการแพทย์ได้ด้วย ถือเป็นอีกตัวช่วยที่ดีเลยทีเดียวค่ะ
Pynpy’ Tip อย่าลืม! เน้นย้ำกับลูกสาว ว่าในช่วง 1 - 2 ปีแรกของการมีเมนส์ อาจจะได้เห็นรอบเดือนที่ไม่แน่นอน วันคลาดเคลื่อนไปบ้าง ปริมาณมากบ้างน้อยบ้าง ก็ถือว่ายังปกติอยู่ ไม่ต้องตกใจนะจ๊ะ


3. PMS ตัวป่วน มักรวมก๊วนมากับอาการอื่นๆ ในช่วงมีประจำเดือน
พวกเรารู้กัน! ว่าน้องประจำเดือนตัวดีนั้น มักจะไม่ได้ฉายเดี่ยวแล้วจบไป เพราะ หลายครั้งก็พ่วงมากับอาการผิดปกติอื่นๆ ด้วย
ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้องประจำเดือน, สิวเห่อ, เหนื่อยล้า, ตัวบวม, และ อาการ PMS ในช่วงก่อนประจำเดือนจะมา พาให้อารมณ์เหวี่ยงวีน เกิดปวดหัว อยากอาหารเว่อร์ ท้องผูก และอื่นๆ
เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่ลูกสาววัยใสควรรู้เอาไว้บ้าง จะได้ไม่ตกใจเกินเหตุ หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น รวมถึงจะได้สังเกตตัวเอง และ หาทางรับมืออย่างเหมาะสมต่อไปได้ด้วยค่ะ!


4. ผลิตภัณฑ์ซับประจำเดือน เพื่อนคู่ใจวันแดงเดือดที่ต้องรู้จัก
ผลิตภัณฑ์ประจำเดือนในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ เช่น ผ้าอนามัยแบบแผ่น, ถ้วยอนามัย, ผ้าอนามัยแบบสอด, ผ้าอนามัยแบบกางเกง, กางเกงในอนามัย และอื่นๆ ซึ่งคุณแม่ต้องแนะนำให้ลูกสาวรู้จักผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ เอาไว้ให้ครบครัน สาธิตวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง รวมถึงบอกข้อดี-ข้อเสีย และ ข้อควรระวัง ในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทด้วยนะคะ! น้องๆ จะได้เข้าใจ และ สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
แต่ยังไงก็ตาม ด้วยความที่ลูกสาววัยใส ยังไม่เคยมีประสบการณ์ใช้งานโดยตรง อาจทำให้การตัดสินใจเลือกครั้งนี้ยากกว่าที่คิด แล้วพวกเราก็คงไม่อยากให้เด็กๆ ลองผิด ลองถูกด้วยตัวเองแน่ๆ
ดังนั้น Pynpy’ ขอฝากให้คุณแม่ช่วยลูกๆ เลือกผลิตภัณฑ์ประจำเดือน สำหรับครั้งแรกไปก่อน โดยคำนึงถึง ความใช้งานง่าย ปลอดภัย และ เหมาะกับการใช้ชีวิตของน้องนะคะ
Pynpy’ Tip ถ้าคุณแม่คนไหนไม่อยากปวดหัว ต้องมามัวสอนวิธีใช้งานผลิตภัณฑ์ประจำเดือนอันแสนซับซ้อน พวกเราแนะนำกางเกงในอนามัย Pynpy’ เลยค่ะ เพราะใช้งานง่ายเหมือนกางเกงในธรรมดาทั่วไป แค่ใส่ก็จบ! มาพร้อมความสามารถครบๆ ด้านการรับมือกับประจำเดือน ทีนี้ลูกสาวจะได้สบายใจ ไม่ต้องเรียนรู้วิธีใช้ชีวิตแบบใหม่ให้ยุ่งยาก
5. รับมือประจำเดือนครั้งแรกอย่างมั่นใจ ต้องรู้จักดูแลร่างกาย และ เตรียมสิ่งที่จำเป็น
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ก็คือประสบการณ์ที่ลูกๆ จะต้องพบเจอในเร็ววัน อย่างการมี “วันนั้นของเดือน” ครั้งแรก คุณแม่สามารถสอนให้ลูกๆ รู้จักวิธีรับมืออย่างครบวงจรได้ ดังนี้


- วิธีดูแลร่างกาย: สอนให้น้องๆ รู้จักรักษาความสะอาดร่างกายอย่างถูกวิธี ในช่วงมีประจำเดือน เน้นย้ำเรื่อง การล้างทำความสะอาดน้องสาวที่ถูกต้อง การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ประจำเดือน อย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน ระวังเรื่องความอับชื้น หรือ แบคทีเรีย ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อต่างๆ
- เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้: เนื่องจากส่วนใหญ่ประจำเดือนครั้งแรกมักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว น้องๆ อาจจะอยู่ที่โรงเรียน หรือ อยู่ข้างนอกก็ได้ จึงควรเตรียมผลิตภัณฑ์ประจำเดือน เผื่อเอาไว้เสมอ และ อาจเพิ่มกางเกงชั้นในสำรอง ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวแบบเปียก หรือ แม้กระทั่ง ยาแก้ปวดประจำเดือน ติดตัวเอาไว้ก็ดีเช่นกัน
โอ๊ะ โอ! จากข้อแรกๆ ที่อ่านมาก็ดูจะไม่ยากเท่าไร แต่พอนึกถึงเรื่องการเลือก และ เตรียมพกผลิตภัณฑ์ประจำเดือนติดตัวทีไร ทำเอาลำบากใจทุกที!
ก็แหม ~ แค่การมีประจำเดือนครั้งแรก ก็เป็นเรื่องแปลกใหม่ ที่ไม่ง่ายสำหรับลูกสาวแล้ว พวกเขายังต้องเตรียมอุปกรณ์รับมือเต็มไปหมด พาหนักตัว หนักใจ กลัวจะลืมอะไรต่อมิอะไรไปอีก
แถมคุณแม่ก็ต้องมาพะวง ว่าผลิตภัณฑ์ประจำเดือนที่เลือกให้ อาจจะใช้งานยาก ไม่ได้ตอบโจทย์ความสบายอย่างที่คิดไว้ โอ๊ย! น่ากังวลใจสุดๆ


Pynpy’ น่ะรู้ดี ว่า “การมีประจำเดือนครั้งแรก” นี้ อาจกลายเป็นความหนักใจที่คุณแม่ และ คุณลูกต้องแบกเอาไว้อย่างเลี่ยงไม่ได้! ดังนั้น พวกเราจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ มาให้ตอบโจทย์วันนั้นของเดือนครั้งแรกกัน! รับรองเลยว่าปัญหาความกังวลต่างๆ ที่กล่าวมานั้น จะหายวับไปในทันที
ผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้คืออะไร ไปดูกันได้เลย!
ลูกสาวมีประจำเดือนครั้งแรก หรือ ครั้งไหนๆ โปรดไว้ใจให้ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ดูแล
กางเกงในอนามัย Pynpy’ นวัตกรรมใหม่ ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย! ด้วย “ส่วนซึมซับประจำเดือน” ที่โดดเด่นเรื่องการรองรับ และ กักเก็บของเหลว ซึมเร็วทันใจ รับประจำเดือนไหวทั้งวันมามาก-มาน้อย แถมด้วยนวัตกรรม “ล็อกเมนส์ไว้ไม่ให้ไหลย้อนกลับ” จะขยับตัวยังไงก็ไม่มีปัญหาซึมเปื้อน พร้อมใส่ได้นาน 8 – 12 ชั่วโมงยาวๆ ไป โดยไร้กลิ่นอับชื้น หรือ แบคทีเรีย


ใช้งานง่ายเหมือนกางเกงในธรรมดา ประหยัดเวลาคุณแม่ที่จะต้องสอนน้องๆ ใช้งานผลิตภัณฑ์ไปอีก! แล้วยังให้สัมผัสที่แห้งสบาย สวมใส่ได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นวันที่อยากออกกำลังกายเบาๆ ต่อสู้กับ PMS หรือ แม้แต่ในวันที่เมนส์มาไม่แน่นอน อย่างช่วงแรกๆ ของการมีประจำเดือน ก็ไม่จำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์ใดๆ เสริมอีกแล้ว บอกเลยว่าเหมาะกับน้องๆ ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้วิถีชีวิตตอนมีประจำเดือนสุดๆ
เนื้อผ้าของเราจะเน้นความบางเบา ยืดหยุ่น ระบายอากาศดี ไร้สารเคมีตกค้าง ผ่านมาตรฐาน OEKO-TEX พร้อมให้ทุกคนใส่แล้วรู้สึกสบายทั้งกายและใจ ไม่ต้องกลัวอาการแพ้ อ๋อ! แล้วก็สามารถซักทำความสะอาด เพื่อใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัยด้วยนะ
นอกจากนั้น Pynpy’ ยังมีหลายไซซ์ ตั้งแต่ 3XS – 5XL เหมาะกับทุกรูปร่าง ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าใครก็สามารถเลือกขนาดที่เหมาะกับตัวเองได้ทั้งนั้น คุณแม่ไม่ต้องหวั่น ว่าผลิตภัณฑ์จะไม่เข้ากับสรีระของน้องๆ


พูดเลยว่าใส่แค่ Pynpy’ ตัวนี้ตัวเดียวก็เอาอยู่! ตอบโจทย์ครบทุกปัญหา ทั้งใช้งานสะดวก ดูแลง่าย ใส่สบาย ไม่มีข้อจำกัดด้านการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะคุณแม่ หรือ น้องๆ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องวันนั้นของเดือนอีกต่อไป!
ยังไงลองอ่าน รีวิวจากผู้ใช้งานจริง เพิ่มเติมดูก่อนได้เลยค่ะ


พนักงานบริษัท
รู้สึกสบายและมั่นใจมากเวลาใส่ เพราะจะไม่มีการซึมไหลออกมาให้เลอะเทอะเลย ให้ลูกสาวใช้ ลูกสาวก็ชอบมาก ใส่ทั้งกลางวันและกลางคืน ใส่สบาย ไม่ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ถูกใจวัยรุ่นเลย


เภสัชกร
ได้ใช้แล้วดีเลยค่ะ ไม่ต้องกลัวเลอะด้านข้าง ล้นด้านหลัง สบายตัวมากค่ะ เปลี่ยนวันยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่าย เดี๋ยวจะไปแนะนำให้หลานด้วยค่ะ อายุ 12 เพิ่งมี ประจำเดือนครั้งแรก


นักจิตวิทยาฝึกหัด
ใส่ครั้งแรกแล้วนอน คือ แห้งสบายเหมือนไม่ได้มีเมนส์ ไม่กลัวเลอะ ไม่กังวลว่าผ้าอนามัยยาวพอมั้ย ไม่มีกลิ่นอับเหมือนผ้าอนามัยปกติ size ก็พอดีเลย ไม่คับ กระชับสรีระ พิสูจน์แล้วว่าดีจริง คุ้มค่าราคา
หากสนใจ อยากให้ Pynpy’ ช่วยดูแลทั้งคุณลูก และ คุณแม่ไปพร้อมๆ กัน ก็สามารถสั่งซื้อกางเกงในอนามัยไปลองใช้ได้นะคะ รับรองว่าคุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน
หวังว่าวันนี้ คุณแม่จะได้เคล็ดลับโดนใจ ไปใช้ดูแล และ ตอบคำถามลูกสาววัยใสกันอย่างครบถ้วนสักที ถ้างั้น Pynpy’ ขอตัวลาไปก่อน ฝากกดติดตามพวกเราทาง Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ Line ไว้ด้วยน้า จะได้ไม่พลาดข่าวสาร และ บทความสนุกๆ เรื่องถัดไป! แล้วมาเจอกันใหม่ค่ะ! บ๊ายบาย