fbpx

ปวดหลังช่วงประจำเดือน? ไม่ต้องทน! มาดูวิธีจัดการง่ายๆ ให้หายปวดกัน

อาการปวดหลังช่วงเป็นประจำเดือน เป็นปัญหาที่มนุษย์เมนส์หลายคนต้องเจอทุกเดือน บางครั้งก็อาจจะรู้สึกปวดแบบพอเป็นพิธี พอแค่ให้รู้ว่ากำลังเป็นเมนส์น้า แต่บางครั้งก็ปวดจนอยากหยุดทำทุกอย่างแล้วนอนพักยาวๆ 😢 แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยคะว่า อาการปวดหลังประจำเดือนเนี่ยไม่ได้แค่สร้างความลำบากในชีวิตประจำวัน แต่ยังเป็นสัญญาณจากร่างกายที่กำลังบอกกับเราว่า “ฮัลโหลลล! ดูแลกันหน่อยค่า!”

girl having back pain

แทนที่จะมาทนปวดหลังทุกเดือน ลองมาทำความเข้าใจกับอาการนี้ไปด้วยกัน ตั้งแต่สาเหตุที่แท้จริง วิธีสังเกตอาการผิดปกติ ไปจนถึงเคล็ดลับดูแลตัวเองง่ายๆ ที่ทำให้วันนั้นของเดือนสบายขึ้นกว่าเดิมกันดีกว่า แล้วรับรองว่า อาการปวดหลังช่วงเป็นประจำเดือนจะต้องหายเป็นปลิดทิ้ง! 💪🏻

อาการปวดหลังช่วงประจำเดือนคืออะไร? ร่างกายกำลังบอกอะไรเรา?

อาการปวดหลังช่วงประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาทในร่างกายได้รับผลกระทบจากการหดตัวของมดลูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลอกเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงมีรอบเดือน ความเจ็บปวดนี้มักจะเกิดขึ้นบริเวณหลังส่วนล่าง และอาจลามไปถึงบริเวณสะโพกหรือขา

back pain

Pain during periods, including back pain, is your body’s way of signaling an imbalance. Listening to it is the first step toward healing.

Dr. Lara Briden, author of “Period Repair Manual”

ซึ่งอาการปวดหลังช่วงประจำเดือน ก็ไม่ได้เป็นแค่ความไม่สบายตัวชั่วคราว แต่ยังเป็นสัญญาณที่ร่างกายกำลังพยายามบอกเราว่ามีบางอย่างกำลังเกิดขึ้นภายใน เช่น มดลูกกำลังทำงานหนักเกินไป มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล มีอาการอักเสบเกิดขึ้นภายในร่างกาย หรือ ร่างกายเราต้องการการดูแลมากขึ้น เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อเรารู้แล้วว่า อาการปวดหลังช่วงประจำเดือนเป็นสัญญาณที่ร่างกายกำลังส่งมาเพื่อบอกบางอย่าง สิ่งสำคัญอย่างต่อไปก็คือ การทำความเข้าใจว่า ทำไมเราถึงมักมีอาการปวดหลังในช่วงวันนั้นของเดือน ทั้งๆ ที่ที่ผ่านมาก็ไม่ปวด มาดูกันค่ะว่าต้นตอของความปวดนี้คืออะไร? 😖

ทำไมถึงปวดหลังในช่วงนี้? เรื่องนี้มีคำตอบ!

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า ทำไมอาการปวดหลังมักเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงที่เรามีประจำเดือน? ไม่ว่าจะปวดหลังส่วนล่าง ร้าวไปสะโพก หรือรู้สึกปวดหนักหน่วงไปจนถึงขา อาการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนโดยตรง และร่างกายเราก็มีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับอาการนี้ด้วยนะคะ

woman having back pain

การหดตัวของมดลูกที่ส่งผลต่อเส้นประสาท

ในช่วงที่ร่างกายกำลังขับเยื่อบุโพรงมดลูกออก มดลูกต้องหดตัวเพื่อดันเยื่อเหล่านี้ออกมา การบีบรัดตัวของมดลูกอาจส่งผลไปถึงเส้นประสาทที่เชื่อมโยงกับหลังส่วนล่างและสะโพก ทำให้เกิดอาการปวดหรือความตึงในบริเวณดังกล่าว

ฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins)

ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในช่วงมีประจำเดือน โดยช่วยกระตุ้นการหดตัวของมดลูกเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย แต่เมื่อระดับโปรสตาแกลนดินสูงเกินไป มันจะทำให้มดลูกบีบรัดตัวรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง เช่น หลังส่วนล่าง

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างรอบเดือน

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงมีประจำเดือนจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในบริเวณหลัง ทำให้รู้สึกปวดหรือไม่สบายตัวมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของมดลูก

มดลูกในช่วงมีประจำเดือนอาจขยายตัวเล็กน้อย ซึ่งอาจเพิ่มแรงกดดันต่ออวัยวะหรือเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะเมื่อร่างกายอยู่ในท่าทางเดิมนานๆ เช่น การนั่งทำงาน

การขาดการเคลื่อนไหวและการตึงตัวของกล้ามเนื้อ

ในช่วงมีประจำเดือน หลายคนมักพักผ่อนหรือนั่งนานเกินไปเพื่อเลี่ยงการเคลื่อนไหว แต่การที่กล้ามเนื้อไม่ถูกยืดหรือใช้งานอาจทำให้กล้ามเนื้อหลังตึงตัวเพิ่มขึ้นและกระตุ้นอาการปวดให้มากกว่าเดิม

สรุปง่ายๆ คือ อาการปวดหลังในช่วงมีประจำเดือนมักเกิดจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนโดยตรง เช่น การทำงานของมดลูก ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และการส่งสัญญาณจากเส้นประสาทเฉพาะจุด ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ร่างกายของเราต้องจัดการในช่วงเวลานี้ของเดือนโดยเฉพาะค่ะ จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมเราถึงรู้สึกปวดหลังแค่ในช่วงที่เป็นประจำเดือนเท่านั้น 🩸

อาการแบบไหนต้องระวัง? ดูแลตัวเองยังไงถ้าปวดหลังไม่ปกติ?

อาการปวดหลังช่วงประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเริ่มปวดรุนแรงเกินไป หรือมีอาการผิดปกติร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ต้องใส่ใจแล้วนะคะ ห้ามละเลยเด็ดขาดเลยน้า 😰

“อาการที่ควรระวัง” มีอะไรบ้าง ดูได้ที่ลิสต์ด้านล่างเลย!

  • ปวดหลังรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ขยับตัวลำบากหรือทำกิจกรรมไม่ได้
  • ปวดร้าวลงสะโพกหรือขา เพราะอาจเกี่ยวข้องกับการที่เส้นประสาทถูกกดทับ
  • มีไข้หรือประจำเดือนมามากผิดปกติ เช่น มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย
  • ปวดหลังนานเกิน 2-3 วันหลังหมดประจำเดือน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การอักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง

แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ หากใครมีอาการที่ควรระวังเหล่านี้ ก็สามารถดูลิสต์ด้านล่างเพื่อดูแลตัวเองเบื้องต้นได้เลยน้า 💕

  • พักผ่อนให้เพียงพอและปรับท่าทาง ใช้หมอนรองหลังเพื่อลดแรงกด
  • ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การยืดกล้ามเนื้อหรือโยคะ เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ลดการอักเสบด้วยกินอาหารที่เหมาะสม เช่น ผักใบเขียวและปลาแซลมอน
  • ใช้แผ่นประคบร้อน วางบริเวณหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
working out at home

เมื่อเรารู้แล้วว่าอาการปวดหลังแบบไหนที่ควรระวังและเริ่มดูแลตัวเองได้เบื้องต้น ต่อไปก็มาดูวิธีจัดการอาการปวดหลังในช่วงประจำเดือนแบบง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้กันค่ะ จะได้ไม่ต้องทนปวดจนเสียอารมณ์ทุกเดือน

มาดูกันว่าจะมีเคล็ดลับอะไรที่จะช่วยให้วันมามากกลายเป็นวันที่เบาสบายขึ้นกว่าเดิมบ้างนะ? 🤔

วิธีจัดการอาการปวดหลังช่วงประจำเดือน แบบง่ายๆ ทำได้ทุกคน

อาการปวดหลังช่วงประจำเดือนอาจทำให้วันนั้นของเดือนช่างรู้สึกหนักหนาเหลือเกิน แต่โชคดีที่มีหลายวิธีง่ายๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการได้ ลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้ รับรองว่าจะช่วยให้เพื่อนๆ สบายตัวขึ้นแน่นอนค่ะ 🥰

back pain

ใช้ความร้อนช่วยบรรเทาอาการ

การใช้ แผ่นประคบร้อน หรือ ขวดน้ำอุ่น วางบริเวณหลังส่วนล่างสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดอาการปวดได้ ความร้อนจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ และทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

ยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าโยคะง่ายๆ

การยืดเส้นและโยคะไม่เพียงช่วยลดอาการปวดหลัง แต่ยังช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ท่าโยคะที่แนะนำ เช่น ท่า Child’s Pose ช่วยยืดหลังส่วนล่างและสะโพก, ท่า Cat-Cow Pose ช่วยผ่อนคลายกระดูกสันหลัง และ ท่า Supine Twist ที่ช่วยลดความตึงตัวบริเวณหลังและสะโพก

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมช่วยลดการกักเก็บน้ำในร่างกาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อาการบวมและปวดหลังรุนแรงขึ้น

เคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ

แม้จะปวดหลัง แต่การเคลื่อนไหวเบาๆ เช่น การเดินเล่นรอบบ้านหรือการทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายขยับ จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและลดอาการปวดได้ดีกว่าการนอนนิ่งๆ

นอนพักในท่าที่ช่วยลดแรงกดดัน

การนอนในท่าที่เหมาะสม เช่น ท่านอนตะแคงงอเข่าหรือท่านอนหงายโดยมีหมอนรองใต้เข่า จะช่วยลดแรงกดบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้รู้สึกสบายขึ้น

และนอกจากการดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ แล้ว การเลือกตัวช่วยที่เหมาะสมก็สำคัญไม่แพ้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่นการเลือกใส่ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่ไม่ได้แค่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในช่วงวันมามาก แต่ยังช่วยให้ทุกคนสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกแม้จะมีอาการปวดหลังยังไงล่ะคะ 💖

ปวดหลังก็ไม่หวั่น เพราะ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ทำให้วันนั้นของเดือนง่ายกว่าที่เคย!

ช่วงวันมามากที่ต้องเจอกับทั้งอาการปวดหลังและความไม่สบายตัว คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการมีตัวช่วยที่ทำให้เรารู้สึกมั่นใจและพร้อมใช้ชีวิตได้เต็มที่ อย่าง กางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้วันเหล่านี้ง่ายขึ้นแบบไม่ต้องกังวล!

pynpy' panties model

เพราะ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ถูกออกแบบมาให้สามารถป้องกันการซึมเปื้อนได้แบบ 100% หมดกังวลเรื่องคราบเปื้อนเสื้อผ้าหรือที่นั่ง ด้วยเทคโนโลยี Leak-Proof ที่ดูดซับได้อย่างดีเยี่ยม เทียบเท่ากับผ้าอนามัย 1-3 แผ่น จะนั่ง เดิน บิดตัว หรือขยับแค่ไหนก็มั่นใจได้ ไม่ต้องคอยชะเง้อมองหลัง กังวลด้านหน้า ให้เสียเซลฟ์ระหว่างวัน

และสำหรับการสวมใส่ในประเทศไทยที่อากาศร้อนเหมือนกับอยู่ในหน้าร้อนตลอดทั้งปี กางเกงในอนามัย Pynpy’ ก็ผลิตมาด้วยวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ช่วยลดความอับชื้นและความร้อน ทำให้ถึงจะใส่ยาวตลอดทั้งวันก็ไม่มีปัญหา

Pynpy'

แถมด้วยตัวดีไซน์ของกางเกงในอนามัย Pynpy’ ที่มีถึงหลายรุ่น หลากไซส์ กระชับแต่ก็ยืดหยุ่น พร้อมรองรับทุกการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะนอนพักยาวๆ หรือออกไปทำกิจกรรมสุด Extreme นอกบ้าน กางเกงในอนามัย Pynpy’ ก็เอาอยู่ทั้งวัน

นอกจากเรื่องป้องกันซึมเปื้อน กางเกงในอนามัย Pynpy’ ยังช่วยให้มนุษย์เมนส์ได้โฟกัสกับการจัดการอาการปวดหลังได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่ต้องคอยกังวลเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อีกต่อไป ให้กางเกงในอนามัย Pynpy’ ดูแลคุณ แล้วคุณจะพร้อมดูแลตัวเองในส่วนอื่นๆ ได้แบบไร้กังวล

pynpy' panties

อ่านมาถึงตรงนี้ ยังไม่รีบไป CF กันได้ยังง้ายยย! รีบเลยค่ะ รีบไป CF กางเกงในอนามัย Pynpy’ กันทางหน้าเว็บไซต์หรือหน้าร้านกันแบบด่วนๆ! แล้วอย่าลืมกดติดตาม Pynpy’ ทาง FacebookTwitterInstagramYouTubeTikTok และ Line กันไว้ด้วยน้า รับรองว่าไม่มีตกข่าวเรื่องดีๆ แน่น้อน :D💜