“สิวขึ้นแบบไม่เคยขึ้นมาก่อน ผิวแแห้งมากเหมือนอยู่ต่างประเทศ เจ็บนมเล็กๆ แต่ก็มักจะเป็นช่วงเมนส์มาเหมือนกัน” – นี่เป็นอาการก่อนจะรู้ว่าตั้งครรภ์ของคุณแม่เจ้าของช่อง pipo diy ชวนให้สงสัยว่า เอ๊ะ เมนส์กำลังจะมาหรือเรากำลังจะมีเบบี๋กันแน่นะ
เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนก็น่าจะเคยสงสัยตัวเองบ้างใช่มั้ยล่ะคะ เพราะอาการ PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือนเนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยน และอาการของคนตั้งครรภ์นั้นคล้ายกันมว้ากกก
บางคนดีใจเก้อว่าจะมีน้อง แต่บางคนก็ใจเสียเพราะยังไม่พร้อม แต่จริงๆ อาการหลายอย่างที่มีร่วมกันก็พอจะแยกออกได้บ้างค่ะ Pynpy’ เลยอยากอาสาพาทุกคนไปสำรวจกัน

คัดเต้านม
- อาการแรกคืออาการคัดเต้านมซึ่งเกิดจากการที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้น ที่ชาวเรารู้สึกคัดตึงเต้านมก็เพราะฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้เต้านมขยาย
- คีย์สำคัญของการแยก : ระยะเวลา
- PMS
- ก่อนมีประจำเดือนเพียง 1-2 สัปดาห์ และดีขึ้นเมื่อเมนส์มาวันแรก
- ตั้งครรภ์
- เกิดขึ้นหลังเริ่มตั้งครรภ์ราว 1-2 สัปดาห์และอาจเป็นติดต่อกัน 3 เดือน
- บางคนมีเส้นเลือดขึ้นชัดเจน
- PMS

ปวดท้อง
- อาการปวดท้องนั้นเกิดขึ้นเป็นปกติกับชาวเมนส์หลายๆ คน แต่การมีเบบี๋ก็ทำให้เราปวดท้องได้เหมือนกันค่ะ
- คีย์สำคัญของการแยก : ตำแหน่ง ระดับความปวด
- PMS
- บริเวณหน้าท้องและหลังส่วนล่าง บางคนปวดรุนแรงมาก บางคนก็ปวดเบาๆ
- มักจะหายปวดเมื่อหมดประจำเดือน
- ตั้งครรภ์
- บริเวณท้องน้อยกับหลังส่วนล่าง ปวดในระดับที่ไม่รุนแรง
- PMS
Did you know? ถ้าปวดท้องแล้วมีเลือดหรือของเหลวออกจากช่องคลอดมาก แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจแท้งได้ค่ะ

เลือดออกจากจิมิ
- เพื่อนๆ อาจเคยได้ยินคำว่า ‘เลือดล้างหน้าเด็ก’ กันมาบ้างใช่มั้ยคะ เจ้าเลือดล้างหน้าเด็กที่ว่านั้นจะมาน้อยมากๆ ซึ่งก็คล้ายกับอาการวันแรกๆ ที่เมนส์มาเลยค่ะ
- คีย์สำคัญของการแยก : ปริมาณและระยะเวลา
- PMS
- มาน้อย กะปริบกะปรอยในช่วงแรก
- เริ่มมามากขึ้นตามรอบเดือน
- ตั้งครรภ์
- มีเลือดออกเล็กน้อยเท่านั้น
- ประมาณ 1-3 วัน
- PMS
Did you know? พ.ต.อ.หญิง อรพินท์ รัตนพันธมณี สูติแพทย์โรงพยาบาลตำรวจบอกว่าคนที่ตั้งครรภ์บางคนก็ไม่ได้มีเลือดออกมานะคะ ดังนั้นการที่มีสิ่งที่คนเรียกกันว่าเลือดล้างหน้าเด็กนั้นไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเรากำลังท้องอยู่น้า

อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
- แค่อยากกินไข่เจียวแล้วไม่ได้กินก็ร้องไห้ได้ ใครมาทำอะไรให้หงุดหงิดนิดหน่อยก็ฟิวส์ขาดได้ เอาจริงๆ นี่เป็นอาการที่ทั้งคนท้องและคนมีประจำเดือนทั่วไปมีร่วมกันเลยค่ะ แล้วเราจะแยกยังไงน่ะหรือคะ
- คีย์สำคัญของการแยก : รูปแบบของอารมณ์ และระยะเวลา
- PMS
- หงุดหงิด อารมณ์เสีย วิตกกังวล หรือรู้สึกเศร้า เรียกว่าส่วนใหญ่มักเป็นอารมณ์เชิงลบค่ะ
- เกิดในช่วง 1-2 วัน ก่อนมีประจำเดือน พอเมนส์มาจนหมดก็หายเป็นปลิดทิ้ง
- PMS
- ตั้งครรภ์
- อ่อนไหวง่าย ทั้งความรู้สึกทางบวกและทางลบ เช่น หัวเราะง่ายแต่ก็เศร้าง่าย เรียกว่าเป็นได้ทั้งอารมณ์เชิงบวกและลบ แต่จะเป็นมากกว่าปกติค่ะ
- บางคนเป็นไม่นาน บางคนเป็นนานจนคลอดเลยทีเดียว
Pynpy’ Tips - หากเศร้าซึมนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์นะคะ - วิธีที่ช่วยได้ทั้งคนกำลังจะเป็นแม่และชาวเมนส์ทั่วไปคือพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทานอาหารให้สมดุลค่ะ

อยากอาหาร
- เพื่อนๆ คงรู้กันดีว่าเรื่องอาหารกรากินในช่วง pms นั้นเป็นเรื่องใหญ่ แต่กับคนกำลังจะเป็นแม่คนนั้น เรื่องนี้ก็ใหญ่ไม่แพ้กันค่ะ
- คีย์สำคัญของการแยก : รูปแบบของอาหาร
- PMS
- อยากอาหารมากกว่าปกติ >>ทานมากขึ้น>>น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
- อาหารที่อยากมักจะเป็นอาหารประเภทแป้ง ของหวาน หรืออาหารที่เค็มจัด
- ตั้งครรภ์
- อยากอาหารที่ต่างไปจากที่เคยทาน
- อยากอาหารแบบหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น ของดอง ผลไม้
- อยากทานสิ่งของแปลกๆ เช่น ดิน พวงมาลัย ตะปู เรียกว่า Pica Disorder เป็นอาการที่ควรพบแพทย์นะคะ เพราะเป็นอันตรายทั้งกับแม่ๆ และเด็กในท้องเลย
- PMS

อ่อนเพลียง่าย
- ช่วงใกล้เป็นเมนส์ทีไร หลายๆ คนน่าจะเหนื่อยง่ายเป็นพิเศษ บางคนนอนไม่หลับ บางคนก็หลับเพลิน ยิ่งถ้าอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยก็ยิ่งทำให้ภูมิตกและป่วยง่ายทีเดียว แต่อาการเหล่านี้คนเป็นแม่คนก็เป็นได้เหมือนกันค่ะ
- คีย์สำคัญของการแยก : ระยะเวลา
- PMS
- บางคนนอนไม่หลับ บางคนง่วงตลอดเวลา
- หายได้เองเมื่อประจำเดือนมา
- ตั้งครรภ์
- 3 เดือนแรก จะเริ่มเหนื่อยล้า แต่บางคนก็เพลียจนถึงกำหนดคลอด
- PMS

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเอ๊ะ มันก็ยังแยกยากอยู่ดีนี่นา แต่ Pynpy’ อยากแนะนำค่ะว่าของอย่างนี้ต้องพิจารณาหลายๆ อาการร่วมกัน เช่น
- ถ้าปกติไม่ใช่คนที่มี PMS รุนแรงแล้วมีอาการเหล่านี้ เพื่อนๆ ก็อาจจะลองตรวจการตั้งครรภ์ดูได้ค่ะ
- ถ้าใครที่มี PMS หนักอยู่แล้ว การสังเกตความแตกต่างเหล่านี้ก็จะช่วยได้มาก รวมถึงลองดูว่าสีของหัวนมเราเปลี่ยนไปมั้ย ผิวหนังดูคล้ำขึ้นหรือเปล่า หรือปัสสาวะบ่อยขึ้น และมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติบ้างมั้ย เพราะอาจเป็นสัญญาณได้ว่าเรากำลังจะมีเบบี๋ค่ะ
แต่ที่สำคัญที่สุด อาการที่ช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีมากๆ ก็คือประจำเดือนขาดนั่นเองค่ะ ซึ่งจะใช้ได้ผลกับเพื่อนๆ ที่มีเมนส์มาค่อนข้างตรง อย่างคุณไอซ์ พาดี้ เจ้าของช่องยูทูบ icepadie ก็ตัดสินใจตรวจการตั้งครรภ์ เพราะปกติแล้วเธอจะเมนส์มาก่อนแอพแทร็กเมนส์คาดการณ์ 1-2 วัน แต่ในเดือนนั้นเมนส์ของเธอมาเลตไป 7 วัน!
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าจะชัวร์สุดๆ ยังไง Pynpy’ ก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ แทร็กเมนส์ของตัวเองไว้เสมอ รวมถึงจดวันที่เรามีเซ็กส์เอาไว้ด้วยค่ะ เพื่อช่วยคาดการณ์อาการต่างๆ ได้

จะแค่ PMS หรือมีเบบี๋ ก็ให้กางเกงในอนามัย Pynpy’ ช่วยให้ทุกวันแฮปปี้ได้!
เกิดเป็นชาวเมนส์ แท้จริงมันแสนลำบาก บางทีปวดท้องมากๆ ยังแยกไม่ออกเลยว่านี่ปวดอึหรือปวดท้องเมนส์กันแน่ นับประสาอะไรกับการจะต้องมานั่งดูว่าตัวเองแค่เป็น PMS เฉยๆ หรือกำลังจะเป็นแม่คน บอกตรงๆ ว่ายากใช่ย่อยค่ะ
แต่ไม่ว่าเราจะมีอาการแบบไหน จะเป็นแค่คนมีเมนส์ หรือจะเป็นคนที่กำลังจะเป็นแม่ การมีตัวช่วยอย่างกางเกงในอนามัย Pynpy’ ก็ทำให้เราใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้นค่ะ เพราะอะไรน่ะหรือคะ
- สะดวก เพราะใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย แถมยังใส่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง จะใส่เพื่อซึมซับตกขาว เมนส์ ปัสสาวะเล็ด หรือเลือดล้างหน้าเด็กก็ได้ เหมาะกับชาวเมนส์ทั่วไป ว่าที่คุณแม่ และผู้สูงอายุเลยค่ะ
- ปลอดภัย เพราะใช้ผ้ามาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 แถมยังมีนวัตกรรมยับยั้งแบคทีเรีย เหมาะกับช่วงที่ร่างกายอาจจะภูมิตกจากการเป็นเมนส์หรือตั้งครรภ์ ลดผื่นแพ้ ผื่นคัน และอาการติดเชื้อ

- ใส่สบาย ไม่อึดอัด ไม่เหนอะหนะ เพราะพลังซึมซับดีเยี่ยมเทียบเท่าผ้าอนามัย 3 แผ่น เหมาะกับช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนแปลง ช่วยให้อารมณ์ที่ขุ่นมัวสดใสขึ้นได้
- มีมากถึง 11 ไซส์ เหมาะกับทุกคน ทุกวัย ไม่ต้องกังวลว่าถ้าอายุครรภ์เพิ่มขึ้นแล้วจะไม่มีใส่
- ซักก็ง่าย เพียงล้าง ซัก ตาก เหมือนเสื้อผ้าทั่วไป หมดแรงและเพลียแค่ไหนก็ไม่หวั่น

จะว่าที่คุณแม่ หรือแค่คนมีเมนส์ทั่วไป ก็ลองกดสั่งที่เว็บไซต์ Pynpy’ เพื่อทดลองความปังกันได้นะคะ หรือถ้าอยากทักมาชิตแชตกันก่อน ก็ทักมาหาที่ Facebook, Instagram, Twitter, Youtube, TikTok หรือ Line ค่ะ
วันนี้ Pynpy’ ขอลาไปก่อน วันหน้าเพื่อนซี้ชาวเมนส์คนนี้จะมีอะไรมาแบ่งปันอีกบ้าง อย่าลืมติดตามกันนะะะ บ๊ายบาย