fbpx

พาไปรู้จัก “แผ่นประจำเดือน Menstrual Disc” อีกหนึ่งไอเทมของชาวเมนส์บุรี

ตอนนี้ชาวเมนส์บุรียังมีเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับประจำเดือนกันยังไม่พอใช่ไหมล่า 55555 งั้นวันนี้มาเพิ่มคำศัพท์กันอีกหนึ่งคำกันค่ะ นั่นก็คือ… แผ่นประจำเดือน หรือ Menstrual Disc นั่นเอง!! ฟัง ๆ ดูก็รู้เลยว่าเป็นไอเทมสำหรับมนุษย์เมนส์แน่นอนใช่ม้า แล้วมันคืออะหยังฮู้ก่อ ตามไปเบิ่งโล้ดดด

แผ่นประจำเดือน-Menstrual-Disc

แผ่นประจำเดือน คืออีหยังสู

แผ่นประจำเดือน หรือ Menstrual Disc ผลิตภัณฑ์อนามัยสำหรับชาวเมนส์บุรีอีกหนึ่งตัวเลือกค่ะ มีความคล้ายถ้วยอนามัย แต่เจ้าแผ่นประจำเดือนเนี่ย หน้าตาจะเหมือนจานหรือชามอันจิ๋ว มีทั้งแบบใช้แล้วทิ้งและแบบใช้ซ้ำได้ให้เลือกกันตามสะดวก สอดใส่เข้าไปเหมือนผ้าอนามัยแบบสอดและถ้วยอนามัยค่ะ

แล้วเพื่อน ๆ รู้จักถ้วยอนามัยกันไหมเอ่ย? ถ้าไม่รู้จัก… สามารถกดอ่านตรงนี้ได้เลยน้าค้า แล้วตัวเลือกเยอะขนาดนี้… ใครเคยใช้แบบไหนกันมาบ้าง อันไหนใช้ง่าย อันไหนใช้ยาก มาเล่าให้ Pynpy’ ฟังได้ทุกช่องทางเลยน้า ทั้ง  FacebookTwitterInstagramYouTubeTikTok และ Line เลยจ้า 

วิธีใส่แผ่นประจำเดือน-Menstrual-Disc

จะถอด จะใส่ จะใช้ยังไงกับเจ้าแผ่นประจำเดือน

แม้ว่าแผ่นประจำเดือนจะใช้โดยการใส่เข้าไปทางช่องคลอดเหมือนผ้าอนามัยแบบสอดและถ้วยอนามัย แต่ว่าแผ่นประจำเดือนจะไม่ได้ใส่เข้าไปเพื่อให้คาอยู่ในช่องคลอดเหมือน 2 อันนั้นนะคะ เพื่อน ๆ จะต้องใส่น้องเข้าไปให้ลึกอีกหน่อยจนถึงฐานปากมดลูกเลยค่ะ เพื่อการเก็บเลือดประจำเดือนก่อนจะไหลไปที่ช่องคลอดนั่นเองจ้า ลึกขนาดนี้… ก็แอบใส่ยากอยู่น้าสำหรับการใช้งานครั้งแรก งั้นไปดูวิธีใส่กันเลยดีกว่า!

วิธีใส่แผ่นประจำเดือนใน 5 ขั้นตอน

  1. อันดับแรกที่ห้ามพลาดเลยคือ ล้างมือค่ะ!! เพราะมือจะต้องสัมผัสน้องจิ๊มิอันอ่อนโยนแน่นอน
  2. ตั้งท่าให้มั่น!! จะพาดขาบนชักโครก จะนั่งบนชักโครก จะยกขาข้างนึง หรือจะนั่งยอง ๆ ก็ได้ค่ะ
  3. บีบแผ่นประจำเดือนให้เล็กลง ต้องเล็กขนาดไหน ให้ นึกถึงขนาดของผ้าอนามัยแบบสอดก็ได้ค่ะ
  4. สอดใส่แผ่นประจำเดือนเข้าไปในช่องคลอดในแนวตั้ง เพื่อให้ครอบปากมดลูกได้ทั้งหมด
  5. ใช้นิ้วดันแผ่นประจำเดือนเข้าไปให้สุดเลยค่ะ เอาให้แน่ใจว่ามันอยู่ตำแหน่งหลังกระดูกหัวหน่าวแล้ว จะรู้สึกเหมือนชนกับกระดูกและขยับไม่ได้แล้ว
Pynpy’ Tips

เมื่อใส่แผ่นประจำเดือนเข้าไปแล้ว ไม่ควรมีอาการเจ็บหรือปวดนะคะ อาจจะแค่รู้สึกดันนิดหน่อย แต่จะไม่รู้สึกขัดหรือเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตน้า
แผ่นประจำเดือน Menstrual Disc

วิธีถอดแผ่นประจำเดือนใน 5 ขั้นตอน

  1. ล้างมือก่อนเหมือนเดิมจ้า!!
  2. นั่งบนชักโครก (ระวัง! อาจจะเลอะถ้าแผ่นประจำเดือนล้น)
  3. สอดนิ้วไปในช่องคลอดเพื่อเข้าไปเกี่ยวแผ่นประจำเดือนและดึงมันออกมาโล้ด
  4. ถ้าเพื่อนหาแผ่นประจำเดือนไม่เจอ ให้ออกแรงเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเหมือนเบ่งอุนจิอยู่ จะช่วยให้แผ่นประจำเดือนหลุดออกจากกระดูกหัวหน่าวได้ค่ะ
  5. ทิ้งเลือดประจำเดือนลงในชักโครก ถ้าเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง เพื่อน ๆ ควรห่อให้มิดชิดก่อนทิ้งลงถังขยะ หากเป็นแบบใช้ซ้ำได้ ก็นำไปทำความสะอาดอย่างเคร่งครัดน้าค้า
Pynpy’ Tips

แผ่นประจำเดือนแต่ละยี่ห้ออาจแนะนำการทำความสะอาด การใส่และการถอดแตกต่างกัน ควรทำตามคำแนะนำของยี่ห้อนั้น ๆ ดีกว่าน้าค้า
ห่อแผ่นประจำเดือนให้เรียบร้อย

ข้อดีที่ควรทราบ ข้อห้ามที่ควรรู้ เกี่ยวกับแผ่นประจำเดือน

ในเมื่อชาวเมนส์บุรีมีผลิตภัณฑ์อนามัยให้เลือกเยอะขนาดนี้ แต่ละอย่างก็มีก็จุดแข็งจุดอ่อนที่แตกต่างกันไปใช่ม๊า แล้วเจ้าแผ่นประจำเดือนจะเป็นยังไงกันนะ สงสัยล่ะซี่…

ข้อดีของแผ่นประจำเดือน

  1. มีแบบใช้ซ้ำได้หลังทำความสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะกับสายรักโลก
  2. ใส่ได้อย่างปลอดภัยนาน 8-12 ชั่วโมง เหมาะกับคนที่ไม่อยากเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ
  3. ไม่เกิดการดูดภายในช่องคลอดเหมือนถ้วยประจำเดือน เหมาะกับคนที่ใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
  4. รู้สึกสบายตัวกว่าถ้วยอนามัย เพราะมีขนาดเล็ก เหมาะกับสายทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา
  5. มีอายุการใช้งาน 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุ การดูแลรักษา และวิธีการเก็บรักษา
  6. ทำกิจกรรมได้เยอะในวันนั้นของเดือน ไม่ว่าจะว่ายน้ำ ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมฝ่าไฟแดงขณะใส่แผ่นประจำเดือนอยู่ แต่!! เพื่อน ๆ คงจะต้องใส่ใหม่และเช็กให้ชัวร์ว่ามันไม่เลื่อนหรืออยู่ผิดตำแหน่งอยู่ ก่อนจะเริ่มกิจกรรมนะ ไม่งั้นมิสิทธิเลอะแน่นอนเลยค่ะ
ข้อดีและข้อควรระวังแผ่นประจำเดือน

ข้อห้ามที่ควรระวังของแผ่นประจำเดือน

  1. การติดเชื้อแบคทีเรีย Toxic Shock Syndrome (TSS) อาจเกิดได้ยากแต่ก็ร้ายแรง ควรระวังอย่างจริงจังเลยน้าค้า
  2. ถ้าแผ่นประจำเดือนเริ่มเหนียว บางลง รูปทรงเปลี่ยน เป็นขุย หลุดลอก มีรอยถลอกหรือฉีกขาด แบบนี้ห้ามใช้นะคะ
  3. การเปลี่ยนแผ่นประจำเดือนห้องน้ำสาธารณะอาจจะไม่หรรษาเท่าไหร่
  4. การใส่และการถอดอาจยากกว่าผลิตภัณฑ์อนามัยแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะแบบที่ไม่มีสายหรือห่วงให้จับ
  5. มีไซซ์ให้เลือกน้อย
  6. เวลาเข้าห้องน้ำแล้วเบ่งทั้งถ่ายเบาและถ่ายหนัก อาจทำให้แผ่นประจำเดือนเอียงหรือตะแคงได้ จนทำให้เลือดประจำเดือนรั่วไหลออกมา
แผ่นประจำเดือน Menstrual Disc

ช่อง  Period Nirvana ได้พูดถึง Auto-Dumping ของแผ่นประจำเดือนว่า

Auto-Dumping ไม่ใช่การรั่วไหลจากแผ่นประจำเดือนค่ะ แต่การนั่งบนชักโครกเพื่อเบ่งชิ้งฉ่องหรืออุ๊ด อาจทำให้กล้ามเนื้อขยับจนแผ่นประจำเดือนเอียงและไหลออกมาพร้อมชิ้งฉ่องหรืออุ๊ดนั่นเองจ้า และอีกอย่าง ถึงแม้ว่าแผ่นประจำเดือนจะหน้าตาคล้ายฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) แค่ไหน ก็ห้ามเอามาใช้แทนกันเด็ดขาดเด้อค่ะเด้อ
pynpy

แผ่นประจำเดือน จะเหมือน Pynpy’ ได้ยังไง

อะแฮ่ม ๆ ๆ !!! แม้ว่าแผ่นประจำเดือนจะมีแบบใช้ซ้ำได้ มิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับประจำเดือนได้นาน 8-12 ชั่วโมงเหมือนกันกับ กางเกงในอนามัย Pynpy’ แต่ขอบอกเลยว่าเราพิเศษไปมากกว่านั้นอี๊กกกกก!! เสมือนเป็นลูกรักของพระเจ้า ใส่เป็นกางเกงในทั่วไปเลยค่ะ แต่สุดปังที่รองรับได้ทุกของเหลว มากกว่าประจำเดือนก็รับไหว ใส่ก็ง่าย ถอดก็ง่าย ทำความสะอาดก็ง่ายอีหลี

Pynpy'

ตัวเลือกน้อย ๆ เราไม่ชอบ เราก็เลยจัดมาแบบจุก ๆ กันไปเลยจ้า นี่เลย! กางเกงในอนามัย Pynpy’ ทั้งหมด 3 รุ่น ก็มีรุ่น Daily รุ่น Classic Cut และรุ่น Seamless High Waist แถมมีตั้ง 11 ไซซ์เชียวนะ ให้เลือกได้เยอะขนาดนี้… ใครรึจะสู้! เรื่องความปลอดภัยก็บ่ต้องย่านเด้อสู เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ มีเทคโนโลยี Anti-Bacteria มาตรฐาน OEKO-TEX จะเปลี่ยนนอกบ้านหรือต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะก็ไม่ต้องกลัวลำบากใดใดทั้งสิ้น แค่มีกระเป๋ากันน้ำ Pynpy’ ก็คือจบ

กระเป๋ากันน้ำ ต้าวม่วง สุดน่ารัก | Pynpy’
กระเป๋ากันน้ำ ต้าวม่วง สุดน่ารัก | Pynpy’

ใครที่ไม่จอยกับการสอดเข้าดึงออกแบบนี้ ก็ต้องสั่งซื้อแล้วล่ะค่ะ! แวะดูรีวิวจากผู้ใช้จริงได้เลยน้า! แล้วพบกันใหม่ที่นี่ที่เดิม สวัสดีค่า <3