fbpx

Hormone Health : สาระน่ารู้เกี่ยวกับฮอร์โมน “เอสโตรเจน” และ “โปรเจสเตอโรน”

Heyyy เพื่อนๆ ! เป็นยังไงกันบ้างคะ ช่วงนี้สุขภาพดีเฮลตี้ทุกวันกันรึเปล่า ? แล้วน้องสาวจุ๋มจิ๋มกับบ้านรังน้อยๆ ของน้องประจำเดือนของเพื่อนๆ แฮปปี้ดีใช่ไหมคะ ? คือไม่ใช่อะไรหรอก อยากจะ Grand Opening แบบเฮฮาหน่อย เพราะวันนี้ Pynpy’ มีเรื่องสายวิทย์สายชีวะมาเล่าสู่กันฟัง กลัวจะเครียดกันไปซะก่อนน่ะค่าา !

เพื่อนๆ พอจะเข้าใจใช่ไหมคะ ว่าการที่มนุษย์เมนส์อย่างเราๆ จะมีรอบเดือนนั้น เกิดจากกลไกต่างๆ ของฮอร์โมนที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น “เอสโตรเจน” และ “โปรเจสเตอโรน” ผสมผสานกันอย่างลงตัว ทำให้เกิดเลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกลอกหลุดออกมาทุกรอบเดือนนั่นเอง 

และถึงแม้ว่าผู้ที่มีประจำเดือนทุกคนจะมีฮอร์โมนเหล่านี้เหมือนกัน แต่ใดๆ ร่างกายทุกคนก็มีวิธีการรับมือ มีปฏิกิริยา และมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันทั้งสิ้น ทำให้เพื่อนๆ ทุกคนมีประสบการณ์การเป็นประจำเดือนที่แตกต่างกันออกไปไงคะ

เพราะฉะนั้น เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจกลไกของเจ้าฮอร์โมน “เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน” กันมากขึ้น เรามาติดตามอ่านสาระน่ารู้ของฮอร์โมนสองตัวนี้กันดีกว่านะคะ ลุยย!

ฮอร์โมน “เอสโตรเจน” กับ “โปรเจสเตอโรน” คืออะไรก๊อนน ?!

“เอสโตรเจน” (Estrogen Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากไข่ที่สุกอย่างเต็มที่ โดยระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงสุดช่วงก่อนตกไข่ 

“โปรเจสเตอโรน” (Progesterone Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้น เพื่อรองรับไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว

นี่แหนะ! ขอจั่วหัวด้วยคำตอบที่ว่าฮอร์โมนสองตัวนี้คืออะไรก่อนเลย เพื่อนๆ จะได้นึกตามทันเวลาที่เราอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮอร์โมนและ Process ของมันต่อจากนี้ 

โดยปกติแล้ว หลายคนจะเข้าใจว่าหน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยเรื่องการควบคุมระบบสืบพันธุ์ภายในของเพศหญิง ควบคุมลักษณะทางเพศภายนอก และยังส่งผลต่ออวัยวะภายในร่างกายแทบทุกระบบเลยก็ว่าได้ ทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ และระบบประสาทและสมอง

Did you know?

เอสโตรเจน ช่วยควบคุมการผลิตคอเลสเตอรอล (เพิ่มคอเลสเตอรอลที่ “ดี” (HDL) และลดคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” (LDL)) ทำให้โอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง และยังช่วยควบคุมความสมดุลของแคลมเซียมในร่างกาย ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่น แข็งแรง และลดโอกาสการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ด้วย และแน่นอนว่ามีผลต่อด้านอารมณ์ จิตใจและความจำด้วยเช่นกัน

และมักเข้าใจว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะคอยควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกายต่างๆ เช่นการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย ความหิว การนอนและความรู้สึกต่างๆ รวมถึงความต้องการทางเพศด้วยเช่นกัน จึงทำให้มีความเกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ไงคะ 

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเมื่อสักครู่ คือถูกต้องทุกสิ่งอย่าง ฮอร์โมนสองตัวนี้มีความสำคัญในระบบร่างกายและการมีประจำเดือนของชาวเราเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น เพื่อนๆ จะต้องแยกแยะให้ออกนะคะว่าแต่ละฮอร์โมนทำหน้าที่อะไร และมีความแตกต่างกันยังไง แต่ถ้ายังไม่รู้ ไม่เป็นไรค่ะ เราจะช่วยเพื่อนๆ เอง เลื่อนลงไปอ่านหัวข้อต่อไปได้เลยจ้าา!

ความแตกต่างระหว่างฮอร์โมน “เอสโตรเจน” และ “โปรเจสเตอโรน”

มาค่ะทุกโคนนน เรามาไขทุกความงงงวยให้กระจ่างกับความแตกต่างของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนกันดีกว่าค่ะ !

เอสโตรเจนโปรเจสเตอโรน
เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านการสืบพันธุ์ของเพศหญิงเป็นฮอร์โมนที่เตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
ผลิตจากกลุ่มเซลล์ในรังไข่ (Grafian Follicle) ผลิตจากคอร์ปัส ลูเทียม ซึ่งคือเนื้อเยื่อในรังไข่
หลั่งโดยรังไข่ก่อนการตกไข่ และผลิตโดยรกในระหว่างการตั้งครรภ์หลั่งโดยรังไข่หลังการตกไข่ และผลิตโดยรกในระหว่างการตั้งครรภ์
การหลั่งถูกควบคุมโดย ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Hormone (FSH)) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่และควบคุมการตกไข่ในรอบเดือนการหลั่งถูกควบคุมโดยลูทิไนซิงค์ฮอร์โมน (Luteinizing Hormone (LH)) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดกระบวนการตกไข่อย่างสมบูรณ์
เกี่ยวข้องกับการก่อตัวและการบำรุงรักษาลักษณะทางเพศทุติยภูมิเกี่ยวข้องกับการสร้างและบำรุงรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกและมดลูก
เกี่ยวข้องกับการขยายตัวของมดลูกและหน้าอกในระหว่างการตั้งครรภ์มีส่วนร่วมในการลดการหดตัวของมดลูก และกระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมน้ำนม

โอ้โห ! เป็นไงคะเพื่อนๆ สาระล้วนๆ ศัพท์เสิพอะไรก็ฟังดูหรูหราซับซ้อนไปหมด ไม่เป็นไรนะคะ //กอดๆ แค่เพื่อนๆ เข้าใจหน้าที่หลักๆ ของทั้ง 2 ฮอร์โมนนี้ ว่าเอสโตรเจนหลั่งก่อนตกไข่และมีความสำคัญต่อด้านการสืบพันธุ์ของเพศหญิง และโปรเจสเตอโรนหลั่งหลังการตกไข่ และเป็นตัวเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการมีเบบี๋ แค่นี้ ก็ Very Good แล้วจ้าา

เพราะฉะนั้น เรามาดูกันหน่อยดีกว่า ไอ้เจ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรนเนี่ย มันทำอะไรยังไงกันบ้างนะ ใน 1 รอบเดือน ?

ติดตามการผจญภัยของ 2 ฮอร์โมนตัวป่วนใน 1 รอบเดือน 

นอกจากการอธิบายด้วยคำพูดแล้ว ก็คงมีแต่รูปภาพหรือแผนภูมิที่จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจมันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ความเข้าใจทั้งหมดลงตัวและตรงกัน Pynpy’ ขออธิบายตามรูปแบบด้านล่างนี้ ให้เพื่อนๆ ได้ดูตามกันนะคะ 

ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 28 วันของรอบเดือนนั้น ถูกแบ่งออกเป็น ระยะเวลามีประจำเดือนประมาณ 5-7 วัน (โซนสีแดง) เป็นช่วงที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (เส้นสีม่วง) คงที่และฮอร์โมนเอสโตรเจน (เส้นสีส้ม) เริ่มสูงขึ้นเล็กน้อย และเมื่อหมดประจำเดือน เพื่อนๆ จะเห็นว่าระดับเอสโตรเจนสูงลิ่วก่อนถึงวันตกไข่ ในวันที่ 14 ระหว่างรอบเดือนนั่นเอง 

และหลังจากนั้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเริ่มสูงขึ้นในช่วงหลังตกไข่ หรือช่วงก่อนมีประจำเดือน ระหว่างวันที่ 21 ของรอบเดือน จนวนกลับมาในระดับที่สมดุลกันช่วงวันที่ 28 ของรอบเดือน หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนเช่นเคย 

นี่ไงคะเพื่อนๆ สิ่งที่เกิดขึ้นกับฮอร์โมนสุดซน 2 ตัว ที่ทำให้เพื่อนๆ มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่ายกายมากมายในแต่ละรอบเดือน ทั้งสิวเอย กลิ่นไม่พึงประสงค์เอย ความเครียด คัดตึงหน้าอก ต่างๆ ใดๆ เยอะแยะไปหมด

แต่เพื่อนๆ รู้ไหมคะ ว่ามีอะไรบ้างที่จะทำให้เพื่อนๆ หมดความกังวลใจกับเรื่องประจำเดือนที่อาจมาอย่างไม่ตั้งตัว หรือปัญหาตกขาวมาหลังช่วงตกไข่ที่จะมาแทรกอาการเหล่านี้เพิ่มขึ้นไปอีก มาค่ะเพื่อนๆ Pynpy’ ขอแนะนำตัวช่วยดีๆ ที่จะปลดล็อกความไม่สบายตัวในแต่ละเดือนของเพื่อนๆ ให้มีความฟรีสไตล์สบายใจมากขึ้นกว่าเดิมจะบอกค่ะ

เปลี่ยนฮอร์โมนไม่ได้ ก็ขอเปลี่ยนซัพพอร์ตตัวเก่งในวันเมนส์มาแทนแล้วกัน!

ทา ด้าา! Pynpy’ ขอแนะนำ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ตัวเก่ง ที่จะเป็นตัวช่วยดีๆ ไว้ “ใช้แทนผ้าอนามัย” ให้เพื่อนๆ รู้สึกสบายกายและมั่นใจในช่วงที่มีประจำเดือน

กางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นนวัตกรรมสิ่งทอจากเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษ ที่จะช่วยล็อกประจำเดือนไม่ให้ไหลย้อนกลับ หรือไหลซอกแซกไปไหนให้เปรอะเปื้อน ครอบคลุมการซึมซับของเหลวทุกชนิด ตั้งแต่ตกขาว ประจำเดือน น้ำคาวปลาหรือปัสสาวะเล็ด เพอร์เฟ็กต์แบบนี้ ขอยกนิ้วให้เลย!

จะใส่เที่ยวเล่นทั้งวันหรือจะใส่นอนตอนกลางคืน ก็ทำได้ตามใจ เพราะตัวช่วยตัวนี้ สามารถใส่ได้ยาวถึง 8-12 ชั่วโมง กักเก็บและดูดซึมของเหลวให้รู้สึกแห้งสบายระหว่างวัน แถมยังสวมใส่สบาย ไม่รัดไม่แน่นทำให้น้องจิ๊มิหายใจไม่ออกอีกด้วย 

บอกเลยว่าผ่านการรับรองมาตรฐาน OEKO-TEX มาอย่างดี เข้ากับทรวดทรงองเอวผู้สวมใส่ได้ทุกไซส์ มีขนาดให้เลือกถึง 11 ไซส์ (ตั้งแต่ 3XS – 5XL) ใส่ได้ตั้งแต่น้องๆ ที่มีประจำเดือนครั้งแรก คุณแม่หลังคลอด ไปจนถึงวัยเก๋าสุดฮิป 

ที่สำคัญสุดๆ เพื่อนสามารถซักใหม่ใส่ซ้ำได้ยาวๆ นานถึง 2 ปี เพียงล้างด้วยน้ำสะอาด ถูเบาๆ ด้วยน้ำยาซักผ้า ล้างน้ำแล้วบิดตากให้แห้ง แค่นี้ก็พร้อมรับมือกับวันใหม่กับกางเกงในอนามัย Pynpy’ ตัวเดิมแล้วจ้า

ทีนี้เพื่อนๆ ก็หมดห่วงเรื่องปฏิกิริยาของเจ้าฮอร์โมน 2 ตัวนี้ ที่จะทำให้น้องเมนส์ไหลจนบางทีก็ไม่ไหวจะเคลียร์ได้แล้วน้า เพราะฉะนั้นรีบไป กดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ กันได้แล้วจ้าาา

เอาจริงๆ ถ้าเพื่อนๆ มีประจำเดือนที่มาปกติ ไม่มีอาการแทรกซ้อนอะไรที่น่ากังวลใจจนต้องไปพบสูตินารีแพทย์ เพื่อนๆ แทบไม่ต้องวอรี่กับเจ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรนนี้เลยนะคะ เพราะยังไงก็ร่างกายของเรา ทำงานตามกลไกธรรมชาติของมนุษย์เมนส์ทุกคน ปกติสุดๆ ค่ะ!

We are all human. It’s normal! Be confident. Be you. – Pynpy’ จบการรายงานค่ะ // บ๊ายบายจุ๊บๆ !

PS. อยากติดตามสาระใหม่ๆ อัพเดทเกล็ดความรู้ หรืออ่าน รีวิวจากผู้ใช้จริง อย่าลืมติดตาม Social Media ต่างๆ ของ Pynpy’ ตามด้านล่างนี้ด้วยนะคะ ไปจริงๆ ละ บั้ยย!

Pynpy’ Website / Facebook / Instagram / Twitter / Youtube / Line Official