fbpx

เช็คด่วน! ความจริงของอาการปัสสาวะเล็ดที่เราอาจไม่เคยรู้!

เฮลโหลลล~ มีใครรู้จักกับ “ภาวะปัสสาวะเล็ด” กันบ้างมั้ยคะ? เมื่อเร็วๆ นี้คนใกล้ตัวของ Pynpy’ ต้องเผชิญกับปัญหานี้มาหมาดๆ Pynpy’ เลยได้มีโอกาสหาความรู้และทำรู้จักกับภาวะนี้มาเลยค่ะ วันนี้ Pynpy’ เลยจะมาเม้าท์มอยและแบ่งปันประเด็น “ปัสสาวะเล็ด” ที่เป็นประเด็นที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันมากนัก โดยวันนี้ Pynpy’ เลยจะมาเล่าเกี่ยวกับ “ความจริงของอาการปัสสาวะเล็ด” กันค่ะ!

หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าอาการปัสสาวะเล็ดมันคืออะไร หรือเกิดขึ้นแค่กับคนที่มีอายุ 40+ เท่านั้นจริงเหรอ? Pynpy’ ต้องขอบอกเลยค่ะว่าอาการปัสสาวะเล็ดนั้นยังมี Facts ที่เราอาจไม่เคยรู้เยอะมากกก (ก ไก่สิบตัว) เพราะฉะนั้น ถ้าพร้อมแล้ว เราไปเริ่มทำความรู้จักกับเจ้าอาการนี้กันเลยดีมั้ยคะ?

อาการปัสสาวะเล็ดคืออะไร? เกิดขึ้นได้ไงน้า? | Pynpy'
อาการปัสสาวะเล็ดคืออะไร? เกิดขึ้นได้ไงน้า? | Pynpy'

อาการปัสสาวะเล็ดคืออะไร?

ในหัวข้อนี้ เรามา Get to know อาการปัสสาวะเล็ดกันก่อนเลยค่ะ อาการปัสสาวะเล็ดนั้นก็คืออาการที่เราไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะของเราได้นั่นเองค่ะ ทำให้หลายคนอาจจะรู้สึกเหมือนปวดปัสสาวะมาก ปวดบ่อย หรือบางทีก็อาจมีปัสสาวะเล็ดออกมาเวลาไอ จาม ออกกำลังกาย ยกของหนัก หัวเราะ หรือแม้แต่ตอนที่เดินอยู่ จนบางทีก็อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาจนซึมเปื้อนกางเกงในได้นั่นเองค่ะ

ปัสสาวะเล็ด

ซึ่งถึงแม้ว่าสาเหตุหลักของการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดนั้นจะมาจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนตัวจนทำให้อวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานไปเบียดกับท่อและกระเพาะปัสสาวะ และสาเหตุนี้ก็มักจะพบได้ในผู้หญิงที่มีอายุ 40+ ขึ้นไปหรือผู้หญิงวัยทอง แต่อาการปัสสาวะเล็ดนั้นก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกันค่ะ โดยสาเหตุ ‘อื่นๆ’ ที่ว่านั้นคืออะไร? เราไปดูกันเล้ย!

ต้นตอของอาการปัสสาวะเล็ดอาจมีได้หลายอย่าง เราตรงกับข้อไหนกันนะ!?

ต่อมาเรามาทำ Check List ติ๊กถูกว่าต้นตอของอาการปัสสาวะเล็ดข้อไหนที่ตรงกันกับตัวเองกันดีกว่าค่ะ! ถือว่าเป็นการสำรวจตัวเองคร่าวๆ ไปพร้อมๆ กันนะคะ ☺️

1. เคยตั้งครรภ์และคลอดบุตรมาก่อน

ต้นตอของอาการปัสสาวะเล็ดอย่างแรกสุดเลยก็คือ “เคยตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตร” มาก่อนนั่นเองค่ะ เพราะคุณแม่มือใหม่หลายคนต้องเผชิญกับอาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอดลูก สาเหตุนั่นก็เป็นเพราะว่าในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ จนกระทั่งหลังคลอดที่อุ้งเชิงกรานที่เป็นบริเวณที่รองรับมดลูกและกระเพาะปัสสาวะเอาไว้เกิดการหย่อนยานจากการคลอดลูก ทำให้ในบางกรณี คุณแม่หลายคนก็ต้องเจอกับอาการปัสสาวะเล็ดตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์เลยล่ะค่ะ

pregnant woman

หลังจากที่ฉันคลอดลูกคนแรก ฉันก็เริ่มเผชิญกับอาการปัสสาวะเล็ด ไม่ว่าจะเป็นตอนไอ จาม กระโดด ปัสสาวะฉันก็เล็ดออกมาอยู่ตลอด แม้แต่ในตอนที่ฉันผ่าตัดสำเร็จ ฉันก็ยังมีอาการปัสสาวะเล็ดอยู่จนถึงทุกวันนี้

Jessica Valant Pilates. YouTuber, Physical Therapist and Pilates Teacher.

และนี่คือรีวิวจากประสบการณ์ตรงของคุณ Jessica Valant Pilates ที่ Pynpy’ เอามาฝากทุกคน แต่อาการปัสสาวะเล็ดที่มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตรนั้นก็ยังไม่ใช่เพียงต้นตอเดียวที่ก่อให้เกิดปัญหาปัสสาวะเล็ดแต่อย่างใดค่ะ ว่าแล้วเราก็ไปลุยกันต่อเลยดีกว่า!

2. มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์

เพราะผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์จะมีไขมันส่วนเกินเข้าไปกดทับบริเวณท้องน้อย และเพิ่มแรงกดทับให้กับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวและอาจทำให้เกิดปัญหาปัสสาวะเล็ดได้นั่นเองค่ะ

Woman holding her belly

3. อายุที่มากขึ้น

ถึงแม้ว่าอาการปัสสาวะเล็ดจะไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นแต่กับคนที่มีอายุ 40+ ขึ้นไป คนที่กำลังเข้าวัยทองหรือผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่าอายุที่มากขึ้นนั้นก็มีส่วนที่ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่รองรับกระเพาะปัสสาวะเกิดความเปลี่ยนแปลง รวมถึงกระเพาะปัสสาวะสามารถบรรจุปัสสาวะได้ลดลงและเกิดเป็นอาการปัสสาวะเล็ดในคนคนนั้นได้ค่ะ

Asian elderly couple dancing together while listen to music in living room

และเมื่ออายุมากขึ้น ผู้หญิงหลายคนก็เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะแข็งแรงได้น้อยลง และเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ทำให้เนื้อเยื่อของกระเพาะปัสสาวะเสื่อมสภาพและควบคุมการปัสสาวะไม่ได้นั่นเองค่ะ

และทั้ง 3 ข้อนี้ก็เป็นต้นตอของการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดค่ะ ไหน ใคร Check List ได้ตรงกับข้อไหนกันบ้างมั้ยเอ่ยย? หากใครที่กังวลเกี่ยวกับอาการปัสสาวะเล็ดหรือกลัวว่าตัวเองจะต้องเผชิญกับอาการนี้ในอนาคตหรือเปล่า Pynpy’ ก็ขอแนะนำว่าให้ทุกคนลองไปตรวจสุขภาพหรือขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกันดูนะคะ เรื่องแบบนี้กันไว้ดีกว่าแก้ 100% ค่ะ!

Facts ของอาการปัสสาวะเล็ด!

หลังจากที่ได้รู้ถึงต้นตอที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดกันไปแล้ว ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับ Facts ต่างๆ ของอาการปัสสาวะเล็ดกันดีกว่าค่ะ เพราะ Pynpy’ เชื่อว่าหลายๆ คนจะต้องยังมีความรู้หรือความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับอาการนี้กันอยู่แน่นอน เรามาดูกันดีกว่าอะไรบ้างที่เป็น “ความจริง”!

ปัสสาวะบ่อย
  • อาการปัสสาวะเล็ดสามารถเกิดได้กับทุกคน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่เพศหรือวัย
  • อาการท้องผูกทำให้อาการปัสสาวะเล็ดแย่ลง เพราะมีแนวโน้มที่อาจติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • การดื่มน้ำหรือมากเกินไปอาจทำให้อาการปัสสาวะแย่ลงได้ ควรดื่มน้ำในปริมาณที่พอดี หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • การออกกำลังกายช่วยให้สามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่เน้นช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง
  • อาการปัสสาวะเล็ดไม่ใช่อาการป่วยถาวรและสามารถรักษาให้หายได้

Pynpy’ บอกเลยนะคะว่านี่ยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของความจริงทั้งหมดเกี่ยวกับอาการปัสสาวะเล็ดเท่านั้น ยังมีความจริงอีกหลายข้อที่ Pynpy’ ไม่ได้เอามาฝากกันในวันนี้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ Pynpy’ เอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้นั่นก็คือความจริงที่ว่า “อาการปัสสาวะเล็ดนั้นสามารถรักษาให้หายได้” นั่นเองค่ะ! แถม Pynpy’ ยังมีวิธีรักษาแบบง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ด้วยตัวเองมาฝากกันด้วยนะคะ

อาการปัสสาวะเล็ดสามารถรักษาได้มั้ย?

อะแฮ่ม~ Pynpy’ ขออนุญาตยกคำตอบจากหัวข้อที่แล้วมาแล้วกันนะคะ คำตอบก็คือ ได้ค่ะ! อาการปัสสาวะเล็ดนั้นสามารถรักษาให้หายได้ แต่จะมีวิธีไหนกันบ้าง เราไปดูกันเล้ย~

หัดปัสสาวะให้เป็นนิสัย

ก่อนอื่นเลยคือการฝึกปัสสาวะให้เป็นนิสัยและเป็นเวลาค่ะ พยายามไม่ปัสสาวะบ่อยจนเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักจะปัสสาวะทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละประมาณ 4-8 ครั้ง หากสังเกตได้ว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ให้พยายามฝึกการปัสสาวะของตัวเองดูนะคะ แต่หากรู้สึกอยากปัสสาวะก็ไม่ควรกลั้นเอาไว้ค่ะ

ปัสสาวะในห้องน้ำ

บริหารบริเวณอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง

การบริเวณบริเวณอุ้งเชิงกรานนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ เลยค่ะ เพียงแค่ขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องคลอดให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ เช่นอาจเริ่มจากการขมิบเป็นเวลา 5 วินาที หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเวลามากขึ้น การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะสามารถช่วยให้อาการปัสสาวะเล็ดค่อยๆ ลดลงได้ค่ะ

exercises to reduce urine incontinence for elderly

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

อย่างน้อยวันละ 8 แก้วค่ะ เพราะหลายๆ คน (รวมถึง Pynpy’ ด้วย) ยังคงดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน และการดื่มน้ำน้อยก็ไม่ได้ช่วยให้อาการปัสสาวะเล็ดดีขึ้นแต่อย่างใดนะคะ เพราะการดื่มน้ำน้อยอาจทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นและเกิดความระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งการระคายเคืองยังอาจช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้ด้วยค่ะ

Woman drinking water

สวมใส่ Item ที่สามารถรองรับปัสสาวะได้

ถึงแม้ว่าหัวข้อนี้อาจจะไม่ใช่การรักษาอาการปัสสาวะเล็ดโดยตรง แต่เราก็ต้องยอมรับนะคะว่าการที่ปัสสาวะเล็ดทั้งวันจนรู้สึกทั้งไม่สบายตัวและไม่สบายใจเนี่ยก็ทำให้สุขภาพจิตเราแย่ลงไม่น้อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการเลือกใส่ Item ที่สามารถรองรับปัสสาวะที่เล็ดอยู่ตลอดได้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกสบายตัวและสบายใจขึ้นนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัยแบบแปะหรือสอด ถ้วยอนามัย หรือผ้าอ้อมผู้ใหญ่ก็ได้ทั้งนั้นค่ะ

Woman hygiene products

แต่ๆๆ หากใครที่รู้สึกว่า Item พวกนี้ก็ทำให้ฉันไม่สบายตัวเหมือนกันนั่นแหละ! Pynpy’ ก็มีอีกหนึ่ง Item มาแนะนำค่ะ รับรองว่า Item นี้จะต้องถูกใจใครหลายๆ คนอย่างแน่นอนน!~

หมดห่วงเรื่องปัสสาวะเล็ด เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ เอาอยู่ทุกสถานการณ์!

ใช่แล้วค่ะ! Item ที่ Pynpy’ จะแนะนำให้กับทุกๆ คนในวันนี้ก็คือกางเกงในอนามัย Pynpy’ นั่นเองง~ เพราะแค่สวมใส่กางเกงในอนามัย Pynpy’ นั้นก็เทียบเท่ากับการใช้ผ้าอนามัย 2 แผ่นแล้วค่ะ แถมไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์อนามัยอื่นๆ ร่วมด้วยแต่ก็เอาอยู่ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าปัสสาวะจะเล็ดมาก เล็ดน้อยหรือเล็ดถี่แค่ไหนก็หมดห่วงไปได้เลยค่ะ

pynpy'

อีกทั้งกางเกงในอนามัย Pynpy’ เขายังซึมซับและกักเก็บของเหลวได้ดีและรวดเร็ว ให้ความรู้สึกแห้งสบายขณะสวมใส่ตลอดทั้งวัน ใส่ได้นานถึง 12 ชั่วโมง แถมเขายังมีถึง 11 ไซส์ให้ทุกคนได้เลือกช้อปกันตามแต่ใจต้องการ หรือจะเลือกเป็นรุ่นที่เหมาะกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่น Classic Cut, Seamless High Waist หรือ Daily ก็สามารถเลือกได้หมดเลยค่ะ

กางเกงในอนามัย Pynpy'

ถึงแม้ว่าอาการปัสสาวะเล็ดจะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่เราไม่สามารถรับมือได้ โดยเฉพาะเมื่อเรามีกางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นผู้ช่วยคอยรับมือทุกสถานการณ์ แล้วอย่าลืมไปกดสั่งซื้อ และกดติดตาม Pynpy’ ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Line, YouTube, Twitter, Instagram, TikTok และ Facebook กันนะคะ 😀