fbpx

“การให้นมลูกน้อย” กับ “ประจำเดือน” สัมพันธ์กันยังไงนะ ?

ฮันแน่ !! คุณแม่มือใหม่หลายคนที่กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวคลอด หรือกำลังอยู่ในระยะหลังคลอด ก็คงต้องเคยอ่านเจอแล้วเอ้ะ !? กับข้อมูลที่ว่า “การให้นมบุตรกับประจำเดือนสัมพันธ์กัน” มาบ้างแล้วใช่ไหมคะ 

line drawing of mother holding baby breastfeeding

Pynpy’ รู้มาว่าแม่จ๋าหลายคนคิดว่า ถ้ายังให้นมลูกอยู่ ยังไง๊ยังไง เมนส์ก็ยังไม่มาหรอก หรือไม่ก็เพราะยังไม่เป็นเมนส์ไง ถึงยังมีน้ำนมให้ลูกน้อยทานอยู่… คือจะว่าใช่ไหม ก็ใช่นะคะ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเคสน่ะสิคะ เพราะแม่ๆ สามารถ “เป็นประจำเดือนและให้นมลูกน้อยพร้อมๆ กันได้” ค่าาา

ว่าแต่ ทำไมน้าาา ประจำเดือนกับการให้นมเบบี๋ถึงเกี่ยวข้องกัน… มาค่ะ เกี่ยวอะไรยังไง Pynpy’ จะช่วยไขข้อสงสัยให้เองค่ะ 

“ประจำเดือนกับการให้นมลูกน้อย” เกี่ยวกันยังไงน้าาา…

Pynpy’ ขอตะโกนดังๆ ว่าเพราะ “ ฮอร์โมนจ้าาา !! “

ในร่างกายคุณแม่มือใหม่เนี่ย จะมีฮอร์โมนตัวนึงชื่อ “โปรแลคติน” ที่ช่วยผลิตน้ำนม โดยการกดฮอร์โมนเพศเช่นฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไม่ให้มีการตกไข่ ซึ่งทำให้ช่วงที่ให้นม แม่ๆ ถึงไม่มีประจำเดือนไงคะ 

mom breastfeeding baby on couch

แต่สำหรับแม่ๆ บางคนที่ไม่ได้ให้นมลูกด้วยตัวเอง เช่นการให้เจ้าตัวน้อยทานนมผง ก็อาจจะทำให้แม่ๆ กลับมามีประจำเดือนได้ไวกว่าแม่ที่ให้นมแม่ล้วนค่ะ ภายใน 3 เดือนหลังคลอดเลยก็มีนะคะ (ไม่ใช่ทุกคนน้าาา เพราะยังไงร่างกายคนเราก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกันค่ะ)

แล้วถ้าให้นมลูกอยู่ แต่เมนส์มา ต้องทำไงล่ะทีนี้ ?

มาที่คำถามสุดฮิตกันแล้วสินะ… เชื่อว่าแม่ๆ หลายคนก็คงจะสงสัยแล้วว่า เอ้า! แล้วงี้ถ้าประจำเดือนมา ก็เท่ากับว่าจะไม่มีน้ำนมผลิตให้เบบี๋ตัวน้อยทานแล้วน่ะสิ ! เดี๋ยวก่อนค่าคุณแม่ มันไม่ได้ปุบปับปิดสวิตช์ได้ง่ายๆ แบบนั้นน่ะสิคะ เพราะแม่ๆ ที่มีประจำเดือนก็ยังสามารถให้นมลูกน้อยได้ค่ะ ดีต่อลูก และปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายใดๆ แน่นอนค่าา 

baby breastfeeding

เอ้ะ !? แต่เดี๋ยวนะ แต่เราก็ยังไม่รู้นี่นาว่าเจ้าประจำเดือนตัวแสบจะกลับมาตอนไหน เพราะในระยะหลังคลอด แม่ๆ ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำคาวปลาอยู่ และถึงแม้อาจจะไม่มีน้ำคาวปลาแล้ว หรือจะเลยมา 4-6 สัปดาห์หลังคลอดแล้วก็เถอะ แต่จะให้มาสังเกตว่าท้องป่องหน้าอกบวมก่อนเมนส์มาเหมือนปกติ มันก็อาจจะยากไปหน่อย จริงไหมคะ ? 

งี้ Pynpy’ ว่าก็ต้องมีตัวช่วยเสริมที่จะช่วยรองรับประจำเดือนที่มาแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็ยังสวมใส่สบาย ไม่อึดอัดหุ่นหลังคลอดของแม่ๆ แถมยังช่วยป้องกันการซึมเปื้อนหรือของเหลวใดๆ ให้คลายกังวลอย่างกางเกงในอนามัย Pynpy’ สักหน่อยแล้วแหละค่ะ 

holding pynpy' panties in the air

ยิ่งด้วยความที่แม่ๆ บางคนอาจจะยังมีปัญหาน้ำคาวปลา บ้างก็มีอาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอด หรือจะมีประจำเดือนแบบปุบปับฉับไว นวัตกรรมกางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเราก็พร้อมที่จะช่วย “ซึมซับและกักเก็บของเหลวให้ไม่ไหลย้อนกลับ” ทำให้ไม่รู้สึกเหนอะหนะหรืออับชื้นน้องจุ๋มจิ๋ม ไม่หนาเตอะเหมือนผ้าอนามัยหลังคลอดแน่นอนค่ะ

pouring water onto pynpy' panties and using cotton pad to show absorption feature

และขอบอกเลยว่ากางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นนวัตกรรมสิ่งทอที่ผลิตจากเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษ และเทคโนโลยี Anti-bateria ที่จะมาช่วยให้ไม่มีปัญหาหมักหมม ระบายอากาศได้ดีแบบฟรีโฟลว์ไปเลยค่ะ ที่สำคัญ ใส่สบายสุดๆ ขอยืนยัน! เพราะกางเกงในอนามัย Pynpy’ มีให้เลือกถึง 11 ไซส์ (ตั้งแต่ 3XS – 5XL) แม่จ๋าจะทรวดทรงอะไร หุ่นหลังคลอดยังไม่เข้าที่ยังไงก็ใส่ได้สบายๆ ไม่รัดแน่น ไม่ฟิตเปี๊ยะ แต่ใส่และกระชับมั่นใจ วิ่งไปอุ้มลูกน้อยที่งอแงหิวนมได้แบบตัวปลิวเลยค่าา ~ 

hand showing pynpy' panties material

เอาล่ะ… และในเมื่อพร้อมรับมือกับประจำเดือนช่วงหลังคลอดกันแล้ว แม่ๆ จะทำยังไงกับสถานการณ์ของการให้นมกันล่ะทีนี้ ? มาค่ะ Pynpy’ จะอธิบายให้เพิ่มเติม

ประจำเดือนมาแล้วทีนี้ การให้นมเบบี๋จะเป็นปัญหาไหมน้า ?

ด้วยความที่ฮอร์โมนแม่ๆ จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่เข้าใกล้ระยะเวลาเมนส์มา มันก็อาจจะทำให้น้ำนมของคุณแม่ และแพทเทิร์นการทานนมของเบบี๋ตัวน้อยงงๆ อยู่สักสองสามวัน ยิ่งถ้าคุณแม่คนไหนที่ให้นมแม่ล้วน หรือเป็นคุณแม่สายสต็อก อาจจะรู้สึกหรือสังเกตได้ว่า ปริมาณน้ำนมที่ผลิตมาต่อรอบนั้น จะลดลงอย่างชัดเจน อาจจะสังเกตได้จากปริมาณน้ำนมที่ปกติเคยปั๊มได้ 8-10 ออนซ์ต่อรอบ ลดเหลือแค่ 6-7 ออนซ์ หรือถ้าให้น้องจุ๊บๆ เต้า ก็จะเห็นอาการงอแงงุ่นง่านของเบบี๋เพราะน้ำนมไหลไม่ทันใจนั่นเองค่ะ 

mommy laying down breastfeeding
Did you know?

นอกจากปริมาณน้ำนมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่ประจำเดือนของคุณแม่มา คุณแม่อาจจะมีอาการเซนซิทีฟที่หัวนมกว่าปกติด้วยนะคะ...
อ้ออ ! ใช่สิ ตอนประจำเดือนมา รสชาติของหน่มน๊มก็จะเปลี่ยนด้วยนะ แม่ๆ ลองชิมสิ! 

และในช่วงตกไข่ ก่อนที่ประจำเดือนจะมา แน่นอนค่ะว่าระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนของแม่ๆ จะมีเอฟเฟ็กต์กับเต้านมและน้ำนมของแม่ๆ ถ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น จะทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินต่ำลง ทำให้หน้าอกของแม่ๆ ดูอิ่มฟูและนุ่มนิ่มขึ้น แต่ก็สามารถกักเก็บน้ำนมได้ในปริมาณที่น้อย เพราะฮอรโมนเพศทั้งสองตัว จะทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนโปรแลคติน ฮอร์โมนผลิตน้ำนมของเรานั่นเองค่ะ (อ้างอิง: พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและ Influencer: แม่โบวี่แฮปปี้เวิล์ด (Facebook)/Youtube: Nurse Kids)

reference: พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและ Influencer: แม่โบวี่แฮปปี้เวิล์ด (Facebook)/Youtube: Nurse Kids
reference: พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและ Influencer: แม่โบวี่แฮปปี้เวิล์ด (Facebook)/Youtube: Nurse Kids
reference: พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและ Influencer: แม่โบวี่แฮปปี้เวิล์ด (Facebook)/Youtube: Nurse Kids
Pynpy' Tips

เมื่อคุณแม่เริ่มกลับมามีรอบเดือนปกติ หมายความว่าคุณแม่มีโอกาสที่จะท้องได้อีกแล้วนะคะ ถ้าคุณแม่ยังไม่พร้อมที่จะมีเบบี๋ทันทีหลังจากคนแรก Pynpy' แนะนำให้คุณแม่ลองปรึกษากับคุณหมอเรื่องการคุมกำเนิดชั่วคราวก่อนก็ได้นะคะ 

แต่ Pynpy’ บอกเลยนะว่า ปริมาณน้ำนมที่ลดลงในช่วงเป็นประจำเดือนเนี่ย จะเป็นแค่ “ช่วงที่เป็นประจำเดือนเท่านั้น” แหละค่ะ ถ้าคุณแม่คนไหน เริ่มเข้าใจกลไกการผลิตน้ำนมของคุณแม่ในช่วงที่เป็นประจำเดือนได้แล้ว คุณแม่ก็สามารถปรับรอบการปั๊มหรือใช้เทคนิค Power Pump เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมมาเยอะในช่วงที่เป็นประจำเดือนด้วยก็ได้ค่ะ 

pumped milk bottle with mom and baby
Pynpy' Tips

การทำ Power Pump (PP) เป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนม โดยการเลียนแบบการดูดของลูกน้อย โดยที่แม่ๆ ควรใช้เครื่องปั๊มนมเป็นอาวุธคู่กายในการผลิตน้ำนมสต็อกนี้ และ Pynpy’ ขอแนะนำให้ทำ PP ช่วงเวลา 02.00 - 06.00 น. นะคะ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนโปรแลคตินหลั่งสูง จะช่วยให้เพิ่มน้ำนมได้เร็วขึ้นค่ะ

เห็นไหมคะแม่จ๋า ประจำเดือนกับการให้นมเจ้าก้อน ไม่ได้มีปัญหาใดๆ กันเลย ให้ได้สบายๆ แค่อาจจะต้องปรับเล็กปรับน้อย ให้ทั้งคุณแม่และเด็กน้อย Win-Win กันให้ได้มากที่สุดเท่านั้นเองค่ะ เพราะยังไงในระยะยาว คุณแม่ก็คงต้องมีประจำเดือนไปเรื่อยๆ และเบบี๋ก็คงโตขึ้น ยังต้องมีการเรียนรู้และปรับตัวกันอีกเยอะค่ะ

Pynpy’ ขอแปะมือให้กำลังใจแม่จ๋ามือใหม่ทุกคนนะค้าาา ~

คุณแม่คะ… การให้นมลูกน้อยอาจมีผลกับประจำเดือนของคุณ เช่นเดียวกันกับที่ประจำเดือนอาจมีผลต่อการให้นม การผลิตน้ำนม และเบบี๋ตัวน้อยของคุณแม่ แต่ Pynpy’ ขอย้ำอีกทีนะคะ ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อคุณแม่เริ่มมีประจำเดือนแล้ว คุณแม่อาจจะอยากลองปรับวิธีการกินของลูกน้อยให้เข้ากับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น อาจจะปรับรอบการทานนม หรือถ้าประจำเดือนของแม่ๆ มาหลังคลอด 6 เดือนขึ้นไปแล้ว แม่จ๋าก็อาจจะเริ่มปรับให้ให้ลูกทานอาหารทานข้าวแทนการทานนมสักมื้อแล้วก็ได้นะคะ

mom laying down breastfeeding baby

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความตั้งใจของคุณแม่และเบบี๋แหละค่ะ เพราะถึงแม้ใครหลายๆ คนอาจจะบอกว่า ยิ่งให้ลูกทานนมแม่ได้นานยิ่งดี แต่ก็ไม่ได้หมายความทุกคนจะต้องทำ ขนาดมนุษย์เมนส์อย่างเรา ประสบการณ์ประจำเดือนยังไม่เหมือนกันเลย แล้วจะให้มา Adapt-Apply วิธีการเลี้ยงลูกให้เหมือนกัน ก็คงไม่ใช่เวย์ จริงไหมคะ ?

เอาเป็นว่า Pynpy’ ขอให้คุณแม่สุขภาพแข็งแรง ประจำเดือนมาเมื่อไหร่ ก็มีผลิตภัณฑ์รองรับประจำเดือนดีๆ อย่างกางเกงในอนามัย Pynpy’ เป็นตัวช่วยที่ดีได้ และก็ขอให้เจ้าเบบี๋ตัวน้อยของคุณแม่ กินนมให้จุใจ แข็งแรงและน่ารักน่าชังสุดๆ ไปเล้ยย !

pynpy' panties and box with thank you note

ป.ล. ถ้าแม่จ๋าอยากสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกางเกงในอนามัย Pynpy’ ก็ทัก Line ของ Pynpy’ มาน้าาา หรือจะทัก Facebook, Instagram, Youtube หรือ Twitter มาก็ได้ค่ะ Pynpy’ พร้อมตอบ! หรืออยากจะสั่งซื้อเลยก็ ไปจ้ะ! กดสั่งซื้อกางเกงในอนามัย Pynpy’ ได้ที่นี่เลยจ้าาา ❤️