fbpx

ส่อง 8 อาการหลังคลอดที่คุณแม่มือใหม่ต้องเตรียมรับมือ

วันแรกชิวๆ แต่วันที่สองลุกขึ้นจากเตียงครั้งแรกก็รู้สึกเสียวๆ ตึงๆ นิดหน่อย แล้วก็มีน้ำคาวปลาออกตั้งแต่วันแรกค่อนข้างเยอะ 

– คุณแม่เจ้าของช่อง โตไปด้วยกัน เล่าเหตุการณ์ระยะหลังผ่าคลอด
อาการหลังคลอด

คุณแม่มือใหม่หลายคนน่าจะกังวลสารพัดสิ่งเลยใช่มั้ยล่ะคะ นอกจากความกังวลที่เราสร้างขึ้นเองแล้ว ภาวะหลังคลอดซึ่งเกิดขึ้นหลังจากแม่ๆ คลอดเบบี๋ออกมาก็ยิ่งทำให้หลายคนใจตุ๊มๆ ต่อมๆ ไม่น้อย เพราะช่วงนี้เองที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนจะลดลงจนทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจของแม่ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงจนหลายคนรับมือไม่ทัน

Pynpy’ เลยอยากพาว่าที่คุณแม่และคุณพ่อไปทำความรู้จักภาวะหลังคลอดที่ว่านี้ เพื่อเตรียมใจ เตรียมตัว และเตรียมอุปกรณ์รับมือให้พร้อมค่ะ

เตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่ และปัญหากวนใจที่ต้องเจอ | Pynpy'
เตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่ และปัญหากวนใจที่ต้องเจอ | Pynpy’

เจ็บแผล

  • วันแรกหลังเบบี๋ลืมตาดูโลกทั้งแม่ๆ ที่ผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติจะมีอาการเจ็บปวดฝีเย็บได้เช่นเดียวกันค่ะ
  • แม่ๆ ที่คลอดธรรมชาติจะปวดประมาณ 3-4 วัน บ้างก็เป็นอาทิตย์ ส่วนแม่ๆ ที่ผ่าคลอด แผลจะแห้งและปิดสนิทช้ากว่าถึง 30-45 วันเลยทีเดียว 
Pynpy’ Tips  
แม่คนไหนเจ็บปวดจนเป็นไข้ หรือไม่สามารถนั่งได้ ควรเข้าพบคุณหมอโดยเร็วที่สุดค่ะ

เต้านมอักเสบ

  • น้ำนมโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองของแม่นั้นสำคัญต่อภูมิคุ้มกันของลูกมากๆ หน้าที่แรกและหน้าที่สำคัญของแม่ๆ จึงคือการให้นมและปั๊มนมวนไป จนอาจทำให้เกิดภาวะเต้านมอักเสบขึ้นได้ค่ะ
  • อาการนี้มักจะพบช่วง 3-4 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่มักจะเป็นแค่ข้างเดียว
  • อาการคือเต้านมจะแดง แข็ง และปวดบวม และอาจมีไข้ บางรายก็มีฝี เนื่องจากติดเชื้อที่มาจากจมูกและคอของลูกนั่นเองค่ะ
Did you know? 
ถึงจะมีอาการเล็กน้อย แม่ๆ ก็ไม่ควรมองข้ามนะคะ ควรจะเข้าพบคุณหมอเพื่อหาทางรักษา ก่อนที่จะอักเสบจนเป็นฝี
อาการหลังคลอดเจ็บแผล

ผมร่วง

  • แม่ๆ มักจะผมร่วงหลังคลอดจากการที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงค่ะ 
  • แต่ไม่ต้องห่วงนะคะ เพราะเราจะเป็นไม่นานเกิน 120 วันค่ะ! เพราะเมื่อฮอร์โมนกลับมาสมดุล ผมก็จะร่วงน้อยลงและเข้าสู่ภาวะปกติค่ะ
Pynpy’ Tips 
แนะนำให้แม่ๆ ทานอาการที่มีธาตุเหล็ก เช่น ไข่แดง ผักคะน้า ผักโขม ประกอบกับการนวดศรีษะเบาๆ เพื่อช่วยให้เส้นผมกลับมาแข็งแรงค่ะ

ผิวหนังแห้ง มีผื่นคัน

  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงช่วงหลังคลอดนั้นมีผลต่อภูมิคุ้มกันเช่นกันค่ะ ทำให้ร่างกายของเราเซนซิทีฟและระคายเคืองง่ายกว่าเดิม
  • ยิ่งผิวหนังของเราเป็นปวัยวะนอกสุดที่ต้องโดนสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา ก็อาจจะเกิดอาการแห้ง ระคายเคือง และมีผื่นได้
Pynpy’ Tips 
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุณหภูมิสูง ดื่มน้ำเปล่าวันละ 2 ลิตร และดื่มน้ำผลไม้เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้เร็ววัน
อาการหลังคลอดผมร่วง

ท้องผูก

  • ใกล้เป็นเมนส์ หลายๆ คนมักจะท้องเสียและปวดท้องหนักมาก แต่ 1 สัปดาห์หลังคลอด แม่ๆ มักมีอาการท้องผูกหรือบางคนก็ถึงขั้นมีริดสีดวงทวารค่ะ ฮือ
  • วิธีการที่คุณหมอมักจะแนะนำจึงคือการทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำมากๆ ค่ะ แต่สิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาด คือการทานยาถ่ายเองนะคะ เพราะอาจส่งผลเสียต่อเบบี๋ที่ยังต้องกินน้ำนมแม่อยู่ ทางที่ดีควรพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำค่า

เมนส์ไม่มา!!!

  • สำหรับชาวเมนส์ การที่เมนส์มาผิดปกตินั้นถือเป็นเรื่องน่ากังวลไม่น้อย แต่ขอบอกเลยค่ะว่าสำหรับแม่มือใหม่ เรื่องนี้นั้นปกติ!
  • เพราะปกติหลังคลอด การตกไข่และเมนส์ของแม่ๆ จะเลื่อนออกไปอยู่แล้วเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติค่ะ บางคนก็ 1 ปีเลยนะคะกว่าเมนส์จะกลับมา
Did you know? 
แต่ถ้าแม่ๆ คนไหนไม่ได้ให้นมเบบี๋จากเต้า เมนส์ของเราจะกลับมาภายใน 6 สัปดาห์ค่ะ
อาการหลังคลอดท้องผูก

ซึมเศร้า 

  • รู้มั้ยคะว่ากว่า 10% ของแม่ๆ นั้นมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด บางคนเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่อาการจะชัดตอนหลังคลอด 2-3 เดือนค่ะ
  • อาการซึมเศร้าหลังคลอดได้แก่
    • เศร้าหรือร้องไห้
    • ไม่สนใจที่จะเลี้ยงลูก
    • รู้สึกผิดที่มีลูก หรือรู้สึกผิดที่ไม่สามารถดูแลลูกได้
  • อ่อนเพลียงตลอดเวลา
  • เบื่ออาหาร
  • คิดฆ่าตัวตายหรือฆ่าลูก 

แต่ แต่ แต่ แม่ๆ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะโดยปกติแล้ว ถ้าไม่ได้เป็นถึงขั้นรุนแรง อาการซึมเศร้าจะค่อยๆ ดีขึ้นภาย 6 สัปดาห์ และหากมีการตกไข่ ก็จะหายขาดค่ะ

น้ำคาวปลาทะลัก ฉี่เล็ดไม่หยุด!

  • หลังคลอดเนี่ย แม่ๆ จะมีน้ำคาวปลาขับออกมาจากร่างกายเยอะในช่วงสัปดาห์แรกค่ะ
  • นอกจากนั้น ก็จะปวดฉี่บ่อยมากๆ เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะที่ขยายออกยังไม่กลับมาในรูปทรงปกติค่ะ
Pynpy' Tips
แม่ๆ ต้องพกผ้าอนามัยเอาไว้ในกระเป๋าเตรียมคลอดด้วยนะคะ เพราะเจ้า 2 อาการนี้มาแน่นอน และจะมาตั้งแต่วันแรกๆ หลังคลอดเลยด้วยค่ะ แต่เพราะผ้าอนามัยนั้นเต็มไปด้วยสารพิษและทำให้เกิดการอับชื้นได้ง่าย จนอาจทำให้ร่างกายที่อ่อนแออยู่แล้วเซนซิทีฟกับสิ่งต่างๆ กว่าเดิม การหากางเกงในอนามัยที่สามารถซึมซับของเหลวได้แทนผ้าอนามัยเนี่ยก็จะช่วยให้แม่ๆ สบายและสะดวกขึ้นเยอะเลยค่ะ
อาการหลังคลอดซึมเศร้า

ว่าแต่เจ้าตัวช่วยอย่างกางเกงในอนามัยนั้นดียังไงและใช้ยังไง เดี๋ยว Pynpy’ จะเล่าให้ฟังค่าาาาา

ให้ชีวิตของแม่มือใหม่ง่ายขึ้นด้วยกางเกงในอนามัย Pynpy’  

คุณแม่เจ้าของช่องโตไปด้วยกันเล่าว่าอาการที่ว่าไม่ได้หนักหนาเท่ากับการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองหลังกลับจากโรงพยาบาลเลยค่ะ เพราะฉะนั้น การหาอุปกรณ์ช่วยเหลือให้แม่ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ทั้งพ่อ ทั้งแม่ก็จะไม่ประหม่าและเครียดตามเสียงร้องเบบี๋มากเกินไปนะคะ

ซึ่งกางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเราเนี่ย เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์เมนส์และมนุษย์แม่อย่างแท้จริงเลยค่ะ

  • ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย 2-3 แผ่น และใส่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง เรียกว่าจะน้ำคาวปลา ตกขาว ปัสสาวะเล็ดแค่ไหน ก็ไม่หวั่นนนน
  • และเมื่อร่างกายเข้าที่เข้าทางแล้ว จะเอามาใส่แทนผ้าอนามัยซับเมนส์ก็ได้ ประหยัดและครบจบในตัวเดียวเลยค่ะ
  • สะดวกสบาย ไม่ก่อให้เกิดผื่นแพ้ เพราะใช้ผ้ามาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 และมีนวัตกรรมยับยั้งแบคทีเรีย ดีกับร่างกายในทุกๆ ช่วง ยิ่งกับช่วงหลังคลอดที่ร่างกายอ่อนแอก็ยิ่งเหมาะเข้าไปใหญ่ค่ะ
  • ช่วยให้การเลี้ยงลูกไม่เหนื่อยเกินไป ร่างกายแข็งแรง จิตใจแข็งแกร่ง เพราะไม่ต้องเหนื่อยกับการเปลี่ยนผ้าอนามัย ไม่หงุดหงิดกับความอับชื้น สามารถโฟกัสกับการเลี้ยงลูกน้อยได้เต็มๆ
  • มีให้เลือก 11 ไซส์ เหมาะกับทุกช่วงตั้งแต่ตั้งครรภ์จนหลังคลอดไปเล้ย
  • เพียงล้าง ซัก ตาก เหมือนเสื้อผ้าทั่วไป ไม่ต้องกังวลว่าต้องสละเวลาปั๊มนมมาทำความสะอาด
pynpy อาการหลังคลอดของคุณแม่มือใหม่

เอาล่ะค่ะ ไหนใครใกล้จะเป็นคุณพ่อคุณแม่ป้ายแดงกันบ้าง ต้องรีบกดสั่งที่เว็บไซต์ Pynpy’ ไว้เตรียมกระเป๋าคลอดกันได้นะคะ หรือถ้าอยากทักมาชิตแชตกันก่อน ก็ทักมาหาที่ FacebookInstagramTwitterYoutubeTikTok หรือ Line ค่ะ ส่วนป้าๆ น้าๆ ที่อยากรับขวัญหลานก็มาซื้อ Gift Card ให้แม่ๆ ได้น้าาา

เอาล่ะค่ะ อาการหลังคลอดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดหรอกน้า แค่เราเตรียมตัวให้พร้อมและทำใจโล่งๆ เข้าไว้ค่ะ Pynpy’ เอาใจช่วยน้า

ส่อง 8 อาการหลังคลอดที่คุณแม่มือใหม่ต้องเตรียมรับมือ | Pynpy'
ส่อง 8 อาการหลังคลอดที่คุณแม่มือใหม่ต้องเตรียมรับมือ | Pynpy’