fbpx

รู้จัก PCOD และ PCOS AKA ของ ‘โรคถุงน้ำในรังไข่’ แตกต่างกันแค่ไหนทำไมถึงเรียกไม่เหมือนกัน?

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันมั้ยคะ? ว่า PCOS กับ PCOD มันต่างกันยังไง…ใช่โรคเดียวกันมั้ย แล้วมันมีอะไรบ้างนะที่สองโรคนี้มีเหมือนกัน หรือ ต่างกัน? 🤔💜

PCOD และ PCOS

มาค่ะ เดี๋ยววันนี้ Pynpy’ จะพาเพื่อนๆ ทุกคนไปไขข้อสงสัยและหาคำตอบกันดูว่ามุนินมุตา เอ้ย! กาซะลอง ซ้องปีบเห้ย! ผักบุ้ง กุ้งนาง แฮร่! PCOD & PCOS อะฮี้ย! ถูกแล้วววววว!!! อะๆๆๆ ไปดูกันซิว่าความต่างของทั้งคู่มันอยู่ที่ตรงไหน ทำยังไงเราถึงจะแยกใข่(ไม่ตก)แฝดสองใบนี้ออกจากกันได้ ไปดู!🥚✋🏻🥚

PCOS vs PCOD เธอคนนั้นคือฉันอีกคนรึเปล่า?

รู้หมือไร่? ‘โรคถุงน้ำในรังไข่’ ถูกพบครั้งแรกในปี 1930 โดยสูตินารีแพทย์ชาวเยอรมัน 2 ท่าน ที่มีชื่อว่า  Stein และ Leventhal โดยผู้ป่วยจะเป็นสตรีที่มีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อ้วน มีขนดก และ มีความผิดปกติของรังไข่ ซึ่งแทนที่จะมีถุงไข่เพียง 1 ถุงและโตขึ้นเรื่อยๆเพื่อให้ไข่ได้ตกในแต่ละเดือน กลับพบว่าในรังไข่แต่ละข้างนั้นมีถุงน้ำเล็กๆอัดแน่นอยู่เต็มไปหมด นั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า Polycystic (poly = มาก, cyst = ถุง) ค่ะ

PCOS vs PCOD

แน่นอนว่าทั้ง PCOS และ PCOD ต่างก็ขึ้นต้นด้วยคำว่า Polycystic ซึ่งมีความหมายว่า ‘มีจำนวนถุงมากในรังไข่’ ทั้งคู่ แต่ถึงแม้จะมีชื่อที่คล้ายคลึงกัน มีถุงน้ำในรังไข่เหมือนกัน แต่ความแตกต่างของทั้งคู่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างค่ะ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น Pynpy’ แยกมาให้แล้ว!

PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome)

PCOD และ PCOS
  • เป็นโรคทางพันธุกรรม(ยีน) และ มีภาวะดื้ออินซูลิน
  • เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน และ ระบบไร้ท่อส่งผลให้ฮอร์โมนเพศ และ อินซูลินเสียสมดุล
  • เกิดเป็นถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (มีได้มากถึง 10 ใบ+)
  • จำนวนถุงน้ำมีมากกว่า PCOD
  • ระดับฮอร์โมนเพศชายจะสูงกว่า PCOD
  • มีบุตรยากกว่า โอกาสรักษาหายยากกว่า PCOD
  • เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่า PCOD เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันพอกตับ และอื่นๆ
  • พบเจอได้บ่อยกว่า PCOD
  • พบเจอได้ทั้งคนที่มีน้ำหนักตัวน้อย และ น้ำหนักตัวเยอะ
  • พบในผู้หญิง 2.5% จากทั่วโลกแต่มีความรุนแรงมากกว่า PCOD

PCOD (Polycystic Ovarian Disorder)

PCOD และ PCOS
  • เกิดจากความเครียด และ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงทำให้รังไข่หลั่งฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป
  • รังไข่มีขนาดใหญ่ขึ้นและกลายเป็น ‘ซีสต์’ หรือ ถุงน้ำหลายใบในรังไข่ในระหว่างการตกไข่
  • จำนวนถุงน้ำไม่เยอะเท่า PCOS
  • โอกาสรักษาหายมีสูงกว่า PCOS
  • ไม่ได้ส่งผลต่อการมีบุตรเท่า PCOS
  • มักเจอในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือ คนที่เป็นโรคอ้วน
  • พบบ่อยในผู้หญิงทั่วโลกมากถึง 10% แต่ไม่รุนแรงเท่าภาวะ PCOS

แม้ว่า PCOS และ PCOD จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ล้วนเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่ของความผิดปกติเหล่านี้ 80% มักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด รวมไปถึงอาหารที่เราทานค่ะ

PCOS และ PCOD นั้นมีผลเสียกับผู้หญิงมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะกับ PCOS ที่ถือเป็นภาวะร้ายแรงในสตรีที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ค่ะ มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งบุตร ตกเลือด หรือ การคลอดก่อนกำหนด นี่ยังไม่รวมโรคแทรกซ้อนอย่าง โรคหัวใจ โรคทางสมอง โรคมะเร็งมดลูก,เต้านม หรือ โรคเบาหวานนะคะ บอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ส่วนเจ้า PCOD แม้จะไม่ร้ายแรงเท่า PCOS แต่ก็ต้องคอยปวดหัวกับสิว ขน และ เส้นผมบนหัวที่เหลือน้อยลงทุกที อ่านมาถึงตรงนี Pynpy’ เชื่อว่าไม่มีใครอยากเป็นหรอกค่าาาา ไม่ว่าจะ PCOS หรือ PCOD ขอเซย์โนทั้งคู่…หนูว่าเราอย่าเจอกันเลย~👋🏼👋🏼👋🏼

จะรู้ได้ไงว่าเราเป็น PCOS หรือ PCOD เอาเกณฑ์อะไรมาวัด!

อะแม่! แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้ไงว่าตัวเองเข้าข่ายเป็น PCOS หรือ PCOD อะ? อาการมันเป็นยังไงไหนเล่าสิ้!

PCOS 

  • ขนดก มีหนวด และ เป็นสิว 
  • ผิวหมองคล้ำบริเวณที่มีรอยพับ เช่น รักแร้ หรือ ขาหนีบ
  • ผมร่วงจนหัวเกือบล้าน
  • ประจำเดือนขาดหรือมาไม่ปกติ
  • มีเลือดออกมากเมื่อเป็นประจำเดือน
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือ อ้วนง่าย
  • มีอาการปวดหัว ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
PCOS และ PCOD

PCOD

  • ขนดกตามหน้า และ ลำตัว 
  • มีสิว
  • ผิวหมองคล้ำบริเวณที่มีรอยพับ เช่น รักแร้ หรือ ขาหนีบ
  • ผมบางแต่ไม่ถึงกับหัวล้าน
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • มีเลือดออกมากเมื่อเป็นประจำเดือน

เป็นยังไงกันบ้างคะ? นี่แหละๆ ๆ ๆ ที่เค้าเรียกว่า ‘แตกต่างเหมือนกัน’ หรือ ‘คนละเรื่องเดียวกัน’ เพราะมันคล้ายคลึงกันมากกกกกก แต่ถ้าสังเกตตัวเองดีๆ มันก็มีข้อแตกต่างระหว่าง PCOS กับ PCOD อยู่ค่ะ แต่ไม่ว่าจะเพื่อนๆ จะเข้าข่ายเป็นภาวะไหน Pynpy’ ก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ ไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ ชัวร์กว่า!

PCOS และ PCOD

ปัจจุบันการหาหมอมันไม่น่ากลัวเหมือนเมื่อก่อนแล้วค่ะ ถ้ายังลังเลว่าเอ๊ะชั้นเป็น PCOS หรือ PCOD กันแน่ ทำไมอันนั้นก็เป็น อันนี้ก็โดน…เข้าไปเจอคุณหมอเลยค่าาาา ตรวจเลือด เอ็กซเรย์ ประเมินอาการคร่าวๆ เดี๋ยวเดียวก็รู้เลยว่าเป็นอะไร การรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยาก มีตั้งแต่การใช้ยาคุมกำเนิดทั้งแบบเม็ด และ แบบฉีด เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนควบคุมรอบเดือน และ ลดปัญหาเรื่องสิวกับเส้นผมที่หลุดร่วง แต่ในกรณีที่รุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบปกติก็อาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อนำถุงน้ำออกค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับอาการของเพื่อนๆ และ ดุลพินิจของคุณหมอน้า อย่าเพิ่งกลัว ไปตรวจก่อนค่อยลุ้นกันทีหลัง!

PCOS และ PCOD

แต่ถ้าไม่อยากไปจบที่โรงพยาบาล Pynpy’ มีทริคดีๆ ในการดูแลตัวเองไม่ให้เสี่ยงเป็น PCOS และ PCOD มานำเหนอค่ะ อยากรู้ว่าทำยังไงก็เลื่อนลงไปอ่านต่อกันได้เล้ยยยยย~💜👇🏼

How to How Jai ดูแลตัวเองยังไงให้(ถุง)น้ำลดแล้วตอ(ความสุข)ผุดขึ้นมาแทน!

ถ้าการหาหมอคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ…นี่ค่ะ! การป้องกันและการดูแลตัวเองให้ดีนี่แหละคือการดับไฟตั้งแต่ต้นลมที่แท้ทรู!

ที่แน่ๆ เลยคือต้อง ‘ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์’ เริ่มที่รักตัวเองก่อน การกินดี เลือกทานแต่ของที่มีประโยชน์จะช่วยควบคุมระดับอินซูลินและรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ค่ะ แนะนำให้เพื่อนๆ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่เลี่ยงแป้งและอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใสเพราะความเครียดเป็นตัวการทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป และ ควบคุมได้เมื่อได้รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ค่ะ

พญ.อสมา วาณิชตันติกุล สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาล MedPark
PCOS และ PCOD

แม้ว่าภาวะ PCOS และ PCOD จะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่การรักษาสุขภาพที่ดีด้วยการรับประทานอาหารที่สมดุล ออกกำลังกายเป็นประจำ และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคถุงน้ำในรังไข่เจ้าปัญหานี้ได้ดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย และ ใช้ชีวิตแบบไม่รักตัวเองไปวันๆ นะคะ ☝🏻🙅🏻‍♀️

หัวใจหลักคือ Lifestyle modification คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อต้านทานโรคค่ะ เราต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของเราก่อน ลดความเครียด ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก ลดของหวาน ปรับ mindset ก็ช่วยได้ค่ะ ดูแลจากภายในสู่ภายนอกมันเวิร์คจริงๆ

คุณหมอศิริน เพื่อนสนิทคุณหมอฟรัง นรีกุล ในรายการยูทูป ‘จริงเหรอหมอฟรัง’ EP.2
PCOS และ PCOD

นี่แหละๆ ๆ ๆ อดทนจนกว่าจะแลนด์มันเป็นแบบนี้! มีวินัยในการดูแลตัวเอง อดทนในวันนี้เพื่อสุขภาพที่ดีในวันหน้ายิ่งถ้าใครอยากเป็นคุณแม่ด้วยแล้วยิ่งต้องดูแลตัวเองให้ดี เตรียมความพร้อมในวันนี้สู่การมีเบบี๊ในวันหน้า แต่ๆ ๆ ๆถึงแม้ว่าการมีสุขภาพที่ดีและมีลูกน้อยจะต้องใช้เวลา…แต่เพื่อนๆรู้มั้ยคะว่าสุขอนามัยที่ดีเราสามารถมีได้ตอนนี้ วันนี้เดี๋ยวนี้ เลยโดยที่ไม่ต้องใช้เวลานานเลยค่าาาาาา แค่กดสั่ง กางเกงในอนามัย Pynpy’ มาใส่ สุขอนามัยดีๆ ก็เสกได้ในพริบตา แค่จิ้มลิ้งค์ กดใส่ตะกร้า และ นั่งรออยู่บ้านสบายๆได้เลยยยยยยยยย!🩲🛒

ถึงจะมีถุงน้ำอยู่หลายใบ…แต่เรื่องสุขอนามัยยังไงก็แฮปปี้เพราะหนูมี Pynpy’ คอยอยู่ข้างๆค่าาาา

วันนี้ Pynpy’ ขอนำเหนอ กางเกงในอนามัย Pynpy’ ผลิตภัณฑ์อนามัยนวัตกรรมใหม่ที่ใช้แทนผ้าอนามัยได้เลย!

Pynpy'

ยืนหนึ่งเรื่องการซึมซับของเหลว จะปัสสาวะเล็ด น้ำคาวปลาคุณแม่หลังคลอด ตกขาว หรือ มนุษย์เมนส์ที่ประจำเดือนมาน้อย มามาก มาแบบกระปริดกระปรอย Pynpy’ ก็เอาอยู่ทุกสถานการณ์ ดูดซึมหมดทุกหยดไม่มีเล็ดหรือซึมเปื้อนให้เลอะกางเกงแน่นอน! 

Pynpy’ ใส่สบายแบบตะโกน! เจ้าแรกเจ้าเดียวในไทยกับมาตรฐาน OEKO-TEX เทคโนโลยีใหม่สุดกรีนผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ทำให้เนื้อผ้านุ่มมมมสบายไม่มีตะเข็บกวนใจ ใส่ง่าย ใส่ได้ทุกวัน อ่อนโยนต่อผิว ใครผิวบอบบางแพ้ง่ายบอกเลยว่าต้องเลิฟฟฟฟ~

pynpy'

หมดปัญหาเรื่องกลิ่นอับ และ แบคทีเรียสะสม Pynpy’ มีนวัตกรรม Anti-bacteria ที่ช่วยลดกลิ่นและป้องกันแบคทีเรียได้ดีแม้จะใส่ยาวนานแบบต่อเนื่อง 8-12 ชั่วโมงก็ตาม! แถม Pynpy’ ยังสามารถซัก และ นำกลับมาใช้ซ้ำได้ง่ายๆพร้อมด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 2 ปี โอ้ยยยยคุณพี่ ถ้าเป็นแฟนก็คือติ๊กถูกทุกข้อละปะ!

Pynpy'

Pynpy’ มีให้เลือกหลายรุ่น หลายไซส์ จัดเต็มตั้งแต่ 3XS – 5XL ตามความต้องการของเจ้าของ Body เลยค่ะ My body My choice เข้าได้กับทุกสรีระของผู้หญิง มั่นใจได้ทุกท่วงท่า ทุกกิจกรรม ตั้งแต่ตื่นยันนอน สาวกแน่น รีวิวเพียบ สั่งซื้อง่ายทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ เกิดมาเพื่อทุกคนขนาดนี้มันไม่มีไม่ได้ละปะ PCOS หลบซ้าย PCOD หลบขวาเพราะ Pynpy’ จะเดินกลางค่าาาาาาา ตัวแม่มาล้า~

Pynpy’ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆเข้าใจ PCOS และ PCOD รวมถึงเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้นนะคะ ถ้าไม่อยากเจ็บป่วยก็จงรักตัวเองให้มากๆ กินแต่อาหารที่ดี ออกกำลังกายบ้าง และ อย่าลืมยิ้มให้เยอะๆ ถ้าอยากกลับมาเจอกันอีกบ่อยๆ ก็อย่าลืมกดติดตามเราไว้ด้วยน้า ไม่ว่าจะ  Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, TikTok และ Line #ทีมPynpy’ ยินดีต้อนรับทุกคนแบบ 24/7 เลยค่ะ แล้วมาเจอกันใหม่น้า✋🏻💜